คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 83 และผลของการโอนที่ดินระหว่างอายัดต่อผู้สุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมของคนต่างด้าวและสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการโอนที่ดิน
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6670/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1) โดยการสละการยึดถือครอบครอง สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงแบบแจ้งการครอบครองที่ดินหรือ ส.ค.1 การให้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงมิอาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการให้ในลักษณะนี้สมบูรณ์โดยการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ของ ห. ตามนิติกรรมการให้ในบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ล.2 เป็นเรื่องที่ ห.ผู้ให้แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทที่ ห.ยึดถือครอบครองอยู่เดิมให้แก่จำเลยที่ 1 การครอบครองของ ห.ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรกจำเลยที่ 1 จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามบันทึกถ้อยคำดังกล่าวกรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 9 แต่อย่างใด การสละการยึดถือครอบครองในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การให้ที่ดินพิพาทของห. แก่จำเลยที่ 1 จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริต, การไม่คัดค้านในชั้นศาล, และประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาล
ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดโอนที่ดิน-ค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา12 นาฬิกาเศษ เป็นการพ้นเวลานัดโจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอม และการเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิจารณาชี้ขาดได้เลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษเป็นการพ้นเวลานัด โจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด เพราะให้ทนายโจทก์ไปยังสำนักงานที่ดินก่อน และตัวโจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ แม้ไม่ชัดแจ้งก็มีผล ทำให้ผู้รับโอนไม่มีกรรมสิทธิ์
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ.และโจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการหรือการที่ธนาคารอ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย (เบี้ยปรับ) นอกเหนือจากการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับสามีฝ่ายหนึ่งและโจทก์กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและได้บรรยายถึงรายละเอียดของที่ดินแปลงที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แล้วบรรยายต่อไปว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์และได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเมื่อจำเลยผิดสัญญาไว้ด้วย และตอนท้ายก็มีคำขอบังคับ คำฟ้องที่โจทก์บรรยายมาจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในกี่วันและไม่ได้บรรยายถึงสาระสำคัญของสัญญาให้ครบถ้วนนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะมิได้สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
สัญญาประนีประนอมยอมความให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับด้วย อันเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากลูกหนี้ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต
ส. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่60 ปี ก่อนเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่า ส.เข้าครอบครองที่พิพาทได้อย่างไรพฤติการณ์ที่ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทสืบต่อกันมานานถึง60 ปี โดยไม่ปรากฎว่า ส. และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทแทนผู้อื่น แสดงให้เห็นว่า ส. และจำเลยร่วมกันยึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาก่อนมีการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แม้ ส.และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการที่ อ. ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 ซึ่งรวมที่พิพาทไว้ด้วย และมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนมรดกที่ดินโฉนดดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะการยึดถือที่พิพาทของ ส. และจำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหลังจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แล้ว ส.และจำเลยที่ 2ยังคงครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เมื่อ ส. ตาม จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงเป็นผู้สืบสิทธิของส. แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตลอดมา กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
of 33