คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการขอรับชำระหนี้ซ้ำในคดีล้มละลาย การโอนสิทธิทำให้เจ้าหนี้เดิมหมดสิทธิ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยอมรับเงินจำนวน 20,000 บาทที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด จ่ายทดรองให้ไป แล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำกัด เพื่อให้ธนาคารฯเป็นผู้ขอรับเงินส่วนเฉลี่ยที่จะได้รับทั้งหมดจากผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จะโต้เถียงอ้างว่าตนมีสิทธิตามตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระฝืนข้อสัญญาที่ทำให้ไว้หาได้ไม่ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้มาขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้รับโอนสิทธิเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องแต่เพียงผู้เดียว
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยอมรับเงินจำนวน 20,000 บาทที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด จ่ายทดรองให้ไป แล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำกัด เพื่อให้ธนาคารฯเป็นผู้ขอรับเงินส่วนเฉลี่ยที่จะได้รับทั้งหมดจากผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จะโต้เถียงอ้างว่าตนมีสิทธิตามตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระฝืนข้อสัญญาที่ทำให้ไว้หาได้ไม่ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้มาขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบธรรม ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ แม้หนี้สินน้อยกว่าสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการถอนอายัดเงิน
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนเมื่อลูกหนี้ยินยอม แม้ยังไม่มีการก่อสร้าง
แม้ขณะจำเลยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยยังไม่ได้ทำการก่อสร้างก็ตามแต่จำเลยกับผู้ว่าจ้างก็ได้ทำสัญญาจ้างเหมากันแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยเป็นงวดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องโดยบอกกล่าวให้ผู้ว่าจ้างผู้เป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องทราบ และผู้ว่าจ้างยินยอมแล้วสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาจึงตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยทันที โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดเงินจำนวนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขาย และผลของการแปลงหนี้ใหม่ที่ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทกำหนดให้ผู้จะซื้อทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเป็นเงิน 4,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แล้วผู้จะซื้อต้องลงทุนปลูกตึกแถวอาคารพาณิชย์บนที่ดินที่จะซื้อเพื่อตัดขายทั้งที่ดินและตึกแถว เมื่อขายได้แล้วจึงจะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งระบุด้วยว่าผู้จะซื้อต้องชำระหนี้ที่ผู้จะขายเป็นหนี้บุคคลภายนอกอยู่อีกจำนวนหนึ่ง สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันยิ่งกว่าสัญญาจะซื้อจะขายกันธรรมดา ฐานะของผู้จะซื้อและผู้จะขายเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทวันเดียว ผู้จะซื้อก็ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบุคคลภายนอก ตกลงกันให้บุคคลภายนอกชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่ผู้จะซื้อ(กำหนดราคาไว้สูงกว่าที่ผู้จะซื้อตกลงไว้กับผู้จะขาย) บุคคลภายนอกยอมรับว่าสัญญาที่ทำกับผู้จะซื้อเป็นการซื้อขายสิทธิกันสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้จะซื้อจึงไม่ใช่การซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยตรง มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 เพราะผู้จะซื้อเป็นลูกหนี้ผู้จะขายอยู่ แต่จะโอนสิทธิเรียกร้องของตนให้บุคคลอื่นต่อไปโดยใช้วิธีการโอนแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ กรณีนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือผู้จะขายกับลูกหนี้คนใหม่คือบุคคลภายนอกเมื่อบุคคลภายนอกกับผู้จะขายไม่ได้ทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิด บุคคลภายนอกไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขาย บุคคลภายนอกจะฟ้องบังคับให้ผู้จะขายส่งมอบที่ดินให้ผู้จะขายเพื่อปลูกสร้างอาคารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขายต้องทำสัญญาใหม่เพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น ฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิ์เรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่ เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวน และมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิ์ให้โจทก์ กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเอง หาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ผลกระทบต่อลูกหนี้ที่ไม่ได้รับแจ้งหรือยินยอม
โอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่บอกกล่าวลูกหนี้หรือลูกหนี้มิได้ยินยอมด้วย มิใช่ว่าการโอนนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นแต่ยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้มิได้เท่านั้น
จำเลยให้การว่าโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องมาหรือไม่จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือโอนหนี้ไม่ถูกต้องเพราะกรรมการลงชื่อไม่ครบตามข้อบังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ครอบครองโดยมิชอบ และการโอนสิทธิเรียกร้องส่งผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เครื่องปรับอากาศได้ถูกนำไปติดตั้งใช้ประโยชน์ในบ้านเช่าโดยผู้เช่านำไปติดตั้งไว้ เมื่อผู้เช่าย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยไม่ได้ขนย้ายเอาเครื่องปรับอากาศนั้นไปด้วย เครื่องปรับอากาศนั้นย่อมตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมจะเรียกร้องเอาคืนจากเจ้าของบ้านหลังนั้นได้ เมื่อเจ้าของบ้านตายบ้านเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมใช้สิทธิเรียกเอาคืนจากจำเลยได้ การที่ทายาทของผู้ตายได้ตกลงตั้งสำนักงานจัดผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกขึ้นเพื่อประโยชน์ในระหว่างทายาทด้วยกันเอง หามีผลลบล้างหน้าที่ของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์นั้นไม่
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรงหาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจรับเงินแทนกับการโอนสิทธิเรียกร้อง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในสัญญา
บันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างทำขึ้นเป็นหนังสือ แม้จะมีข้อความว่าผู้รับจ้างได้ตกลงยินยอมและมอบให้ธนาคาร... แต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินเกี่ยวกับค่าจ้างเหมาทั้งสิ้น และผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ธนาคาร... โดยธนาคารผู้รับมอบลงชื่อไว้ร่วมกับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในบันทึกเป็นหนังสือนี้ก็ตาม เมื่อเจตนาของคู่กรณีที่ประพฤติปฏิบัติต่อกันมาเห็นได้ว่า เป็นการชำระเงินโดยผ่านธนาคารเพื่อที่ธนาคารเอาไปหักกับหนี้สินที่ผู้รับจ้างมีอยู่ต่อธนาคารก่อน ส่วนที่เหลือยังเป็นของจำเลยอยู่เช่นนี้ ก็แปลไม่ได้ว่าบันทึกนี้เป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง คงเป็นเพียงหนังสือมอบให้รับเงินแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
of 21