พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังขาดนัด และการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่า การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ ไม่มีเหตุควรอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งตามมาตรา 199 ซึ่งเป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีด้วยการขอเลื่อนนัดหลายครั้ง ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อน และดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้
จำเลยพยายามที่จะให้คดีดำเนินไปอย่างล่าช้า กล่าวคือในเบื้องต้นจำเลยทำเป็นฟ้องแย้งแล้วปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไป โดยไม่นำเจ้าพนักงานไปส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้ง วันชี้สองสถานฝ่ายจำเลยไม่มาศาล วันสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงว่าปวดฟันขอเลื่อน ศาลอนุญาตและได้กำชับว่าหากมีกรณีขอเลื่อนไปอีกศาลจะไม่อนุญาตถ้าไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นสมควร นัดที่ 2 โจทก์ขอเลื่อน นัดที่ 3 จำเลยขอเลื่อนโดยอ้างเหตุป่วยปวดฟัน ศาลอนุญาตให้เลื่อน และสั่งว่าจะอนุญาตให้จำเลยขอเลื่อนไปครั้งนี้ครั้งเดียว ในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนไปอีกไม่ว่ากรณีใด นัดที่ 4 จำเลยขอเลื่อนอีก อ้างเหตุปวดฟัน โจทก์คัดค้าน ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน ตามพฤติการณ์ที่ฝ่ายจำเลยดำเนินคดีตลอดมาดังกล่าวนี้ เป็นการประวิงคดีศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่หลังขาดนัด เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเพราะพ้นกำหนด 8 วัน แม้จะเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 ข้อ (3) แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยกลับใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นในครั้งหลังนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การหรือคำสั่งอันเกี่ยวกับคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทันทีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสืบพยานร่วมแล้วขอถอนคำท้า: ศาลไม่อนุญาตชอบแล้ว
ปัญหาว่า คู่ความตกลงท้ากันสืบพยานคนกลางไว้แล้ว ฝ่ายหนึ่งขอถอนคำท้าขอดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คู่ความตกลงสืบพยานร่วมคนเดียว หากพยานร่วมให้การเจือสนฝ่ายใด ก็ให้ศาลวินิจฉัยไปตามรูปคดี โดยคู่ความสละสิทธิไม่สืบพยานอื่นต่อไป ต่อมาโจทก์ขอถอนคำท้าอ้างว่าโจทก์ไม่มั่นใจว่าพยานร่วมจะให้การตรงไปตรงมา ศาลไม่อนุญาต และสืบพยานร่วมไปแล้ว พิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ขอให้ศาลพิจารณาใหม่ ศาลไม่เห็นสมควรให้พิจารณาใหม่ได้
คู่ความตกลงสืบพยานร่วมคนเดียว หากพยานร่วมให้การเจือสนฝ่ายใด ก็ให้ศาลวินิจฉัยไปตามรูปคดี โดยคู่ความสละสิทธิไม่สืบพยานอื่นต่อไป ต่อมาโจทก์ขอถอนคำท้าอ้างว่าโจทก์ไม่มั่นใจว่าพยานร่วมจะให้การตรงไปตรงมา ศาลไม่อนุญาต และสืบพยานร่วมไปแล้ว พิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ขอให้ศาลพิจารณาใหม่ ศาลไม่เห็นสมควรให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนต่างด้าว: การไม่อนุญาตตามกฎหมายทำให้การจดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้ครอบครองนาน
ตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ. 2486 นั้น คนต่างด้าวจะมีที่ดินได้ต้องได้รับอนุญาตก่อน ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนำสืบไม่ได้ว่าได้รับอนุญาตให้มีที่ดินได้ตามกฎหมายแล้ว แม้ตนจะได้จดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม และได้ครอบครองที่ดินมากว่า 10 ปีแล้ว ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393-395/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำท้าทายพยานผู้เชี่ยวชาญ: ศาลไม่อนุญาตหากจำเลยไม่ยินยอม
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิสูจน์ลายเซ็นในเอกสาร ถ้าผู้เชี่ยวชาญว่าอย่างไร ข้ออื่นๆ เป็นอันไม่โต้เถียงกันนั้นเมื่อผู้เชี่ยวชาญส่งผลการพิสูจน์มาแล้วอันตรงกับข้อท้า โจทก์จะมาขอถอนคำท้าโดยกล่าวอ้างลอยๆ ซึ่งจำเลยมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ ศาลย่อมไม่อนุญาตให้ถอนคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้สืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา
ในคดีอาญา เมื่อโจทก์สืบพยานหมดแล้วอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอพิสูจน์พยานจำเลยที่เบิกความไปแล้วโดยอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 และ 88 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งชี้ขาดในปัญหาที่โจทก์จะพิสูจน์พยานจำเลยว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ห่างไกลต่อประเด็นแห่งคดีจึงไม่อนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนี้ ก็โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงมิใช่เป็นการพิจารณาในข้อกฎหมาย เมื่อเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ถึงหากโจทก์จะขอสืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยได้ โจทก์ก็อุทธรณ์ฎีกาเพื่อขอสืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยไม่ได้อยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012-1013/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถานและการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งไม่อนุญาต รวมถึงประเด็นอายุความและค่าทนาย
(1) คำให้การเพิ่มเติมของจำเลยนั้น เป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 1 (5) เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมก็เป็นการไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 18 จึงอุทธรณ์และฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา มาตรา 228 (3) โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้
(2) คำให้การเพิ่มเติมนั้น จะต้องยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมเสียก่อนวันชี้สองสถาน ถ้าทำภายหลังและคดีก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) ค่าทนายความชั้น3ีกานั้น เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะโจทก์หรือทนายโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ในคำแก้ฎีกา ศาลย่อมไม่ให้
หมายเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกับข้อ (1) นั้น วินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2505
(2) คำให้การเพิ่มเติมนั้น จะต้องยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมเสียก่อนวันชี้สองสถาน ถ้าทำภายหลังและคดีก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) ค่าทนายความชั้น3ีกานั้น เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะโจทก์หรือทนายโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ในคำแก้ฎีกา ศาลย่อมไม่ให้
หมายเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกับข้อ (1) นั้น วินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้และศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์จริงดังฟ้อง. พิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องคดีหลังจำเลยมาฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสัญญากู้และคำพิพากษาดังกล่าวโดยอ้างว่าสัญญากู้นั้นปลอมคำฟ้องในคดีหลังเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ได้กู้เงินของจำเลยดังที่จำเลยในคดีหลังฟ้องโจทก์ในคดีก่อนนั่นเอง คดีก่อนและคดีหลังจึงมีประเด็นข้อใหญ่อย่างเดียวกันว่าโจทก์นี้ได้กู้เงินจำเลยไปจริงตามหนังสือสัญญากู้ในคดีก่อนหรือไม่ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ในคดีก่อนแล้วฉะนั้น ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังจึงเป็นการฟ้องร้องในประเด็นที่ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ในคดีหลังโจทก์จะกล่าวอ้างว่าไม่ได้กู้เงินจากจำเลยเพราะเหตุอื่นใดก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดของประเด็นข้อใหญ่ที่กล่าวแล้วจึงไม่ทำให้โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำรับสารภาพหลังคดีเสร็จสำนวน ศาลไม่อนุญาต เหตุผลความสำคัญผิดไม่สมควร
คดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพ และคู่ความไม่สืบพยานจนศาลนัดอ่านคำพิพากษาแล้ว จำเลยมาขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การปฏิเสธโดยอ้างว่า เพราะสำคัญผิดเช่นนี้ไม่เป็นเหตุผลอันควรอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การเดิม