พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
มาตรา 31 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถ เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวได้ แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด หาได้บัญญัติว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก ต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คดีอาญาที่บุคคลภายนอกผู้ถูกฟ้องถึงที่สุดไม่ ดังนั้น โจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้ซึ่งต้องรับผิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 แต่นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ซึ่งเกินหนึ่งปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15204/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากทายาทผู้ทำละเมิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังสัญญาสิ้นสุด
ศาลพิพากษาให้โจทก์และ ด. ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้เสียหาย ตามคดีซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อโจทก์ได้ใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปตามคำพิพากษาแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้ทำละเมิดตามสัญญารถร่วมได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) กรณีมิใช่โจทก์ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 เมื่อสิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 9 ทำไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญารถร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายอยู่ในเล่มเดียวกับหนังสือสัญญารถร่วม มีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 9 ยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีผู้ตายทำสัญญารถร่วมไว้กับโจทก์ตามหนังสือสัญญาลงวันที่ 28 มิถุนายน 2526 ซึ่งกำหนดเวลาของสัญญารถร่วมระบุไว้ในข้อ 9 ว่า สัญญาฉบับดังกล่าวมีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2526 โดยไม่ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดแล้วผู้ตายไปต่อสัญญารถร่วมในปีต่อมา หรือหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 1 ไปต่อสัญญารถร่วม จำเลยที่ 9 ได้ไปทำสัญญาค้ำประกันการต่อสัญญารถร่วมให้ไว้แก่โจทก์อีก หรือยินยอมให้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้มีผลต่อไป อีกทั้งในหนังสือสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความระบุว่าหากมีการต่อสัญญารถร่วมให้ถือว่าการค้ำประกันของจำเลยที่ 9 มีผลต่อไปด้วย ซึ่งสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด ความผูกพันตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 9 ย่อมสิ้นไปเมื่อสัญญารถร่วมครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2526 เมื่อเหตุรถคันพิพาทชนกับรถคันอื่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2537 จำเลยที่ 9 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 9 ทำไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญารถร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายอยู่ในเล่มเดียวกับหนังสือสัญญารถร่วม มีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 9 ยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีผู้ตายทำสัญญารถร่วมไว้กับโจทก์ตามหนังสือสัญญาลงวันที่ 28 มิถุนายน 2526 ซึ่งกำหนดเวลาของสัญญารถร่วมระบุไว้ในข้อ 9 ว่า สัญญาฉบับดังกล่าวมีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2526 โดยไม่ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดแล้วผู้ตายไปต่อสัญญารถร่วมในปีต่อมา หรือหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 1 ไปต่อสัญญารถร่วม จำเลยที่ 9 ได้ไปทำสัญญาค้ำประกันการต่อสัญญารถร่วมให้ไว้แก่โจทก์อีก หรือยินยอมให้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้มีผลต่อไป อีกทั้งในหนังสือสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความระบุว่าหากมีการต่อสัญญารถร่วมให้ถือว่าการค้ำประกันของจำเลยที่ 9 มีผลต่อไปด้วย ซึ่งสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด ความผูกพันตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 9 ย่อมสิ้นไปเมื่อสัญญารถร่วมครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2526 เมื่อเหตุรถคันพิพาทชนกับรถคันอื่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2537 จำเลยที่ 9 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการรับช่วงสิทธิ ผู้ค้ำประกันไม่อาจไล่เบี้ยหากไม่ยกข้อต่อสู้
จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า คดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การในคดีนั้นว่าขาดอายุความอย่างใดบ้าง คดีจะฟังว่าโจทก์ยอมชำระหนี้แก่ธนาคารทั้ง ๆ ที่จำเลยให้การและนำสืบอยู่ว่าคดีขาดอายุความ และโจทก์ทราบดีแล้วว่าสิทธิเรียกร้องของธนาคารขาดอายุความ อันจะถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 695 ยังไม่ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13122/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของจำเลยและจำเลยร่วมในคดีรถหาย กรณีจำเลยไม่ต้องรับผิด จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยร่วม
การที่ศาลมีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยฝ่ายที่สาม เพราะเหตุจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามา เพราะเมื่อหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยต่อจำเลยร่วมได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ในคดีนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยร่วมได้ ดังนั้นจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12168/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและสิทธิในการไล่เบี้ยตามส่วน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วจำนวน 17,000,000 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน จำนวน 8,500,000 บาท ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และมาตรา 296เนื่องจากบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตราทั้งสองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย: การประเมินความรับผิดจากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 ให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปคืนจากผู้ขับขี่รถหรือผู้ประสบภัยได้ก็แต่กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้นั้น เมื่อ น. มิได้ขับรถโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยที่ 1 ผู้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรมของ น. ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: สิทธิไล่เบี้ยเมื่อจดทะเบียนหลังเกิดข้อพิพาท
แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นตัวแทนบริษัท ร. หากจำเลยแพ้คดีแล้วจำเลยอาจฟ้องบังคับเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนจากบริษัท ก. ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตัวการได้นั้น เมื่อบริษัท ร. เพิ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยหลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าพิพาท คู่สัญญาคงมีแต่โจทก์และจำเลยบริษัท ร. จึงมิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และบริษัท ก. ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหลังจากเกิดเหตุพิพาทตามสัญญาซื้อขายคดีนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกค่าทดแทนจากบริษัท ร. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินและการสลักหลังโดยตัวแทน สิทธิของผู้รับสลักหลังจำกัดเฉพาะไล่เบี้ยผู้ออก
จำเลยที่ 3 จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บางส่วนและการปลดหนี้ลูกหนี้ร่วม ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้รายนั้นได้
เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 ส. และ ว. ได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง และรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือที่ 2 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลคือสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทแบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล รถยนต์พิพาทถูกรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนทำให้คนบนรถยนต์พิพาทรวม 4 คนเสียชีวิต โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตรวม 4 คน ๆ ละ 50,000 บาท เป็นเงิน 200,000 บาท ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในส่วนที่เป็นการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 889 หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัย ดังนั้น แม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท ให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตไป โจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 กับพวกได้ไม่