พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินประกันชีวิต: 10 ปี (ม.169) ไม่ใช่ 2 ปี (ม.882)
ตัวแทนรับเงินประกันชีวิตไว้แล้วไม่ส่งแก่บริษัทรับประกันภัยตัวการ อายุความมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 ไม่ใช่ 2 ปีตามมาตรา 882 ซึ่งใช้ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนำก่อนใช้ป.พ.พ. หากมีพฤติการณ์เป็นการขายฝาก เกิน 10 ปี สิทธิไถ่ระงับ
สัญญาจำนำที่ดินที่ได้ทำกันก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ต้องบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน ได้แก่พระราชบัญญัติการขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และโดยเฉพาะประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ซึ่งให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกันตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1044/2492
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝากซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลย เมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝากซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลย เมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องการรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยรับขนของของโจทก์จากประเทศไทยไปยังประเทศฟิลิปปินส์โดยทางเรือเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า "รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" แต่ในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี และบทบัญญัติเรื่องอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ได้บัญญัติไว้แล้วว่า " อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนด 10ปี" ฉะนั้นอายุความฟ้องร้องกรณีนี้จึงต้องใช้กำหนด 10ปี (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1583/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือที่ชัดเจน แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ยึดถือที่ดินมีโฉนดไว้แทนเจ้าของเกิน 10 ปีแล้ว แต่เพิ่งแสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือเมื่อราว 2 ปีมานี้ ย่อมไม่อาจอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ซุง เงินล่วงหน้า อายุความทั่วไป 10 ปี
โจทก์จำเลยติดต่อค้าขายไม้ซุงกัน โดยโจทก์ให้เงินจำเลยไปก่อน เมื่อจำเลยส่งไม้มาให้โจทก์ก็คิดหักราคาไม้กับเงินที่จำเลยรับไปล่วงหน้า และถ้าไม้ที่จำเลยส่งมีราคาน้อยกว่าเงินที่จำเลยรับไป หักเหลือเงินเท่าใดก็ขึ้นบัญชีไว้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ ดังนี้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่งอันเกิดจากข้อตกลงในการที่จะซื้อขายไม้กัน ซึ่งไม่เข้ากับบทบัญญัติบทหนึ่งบทใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ในกรณีที่เงินของโจทก์ยังเหลืออยู่ที่จำเลยมากน้อยเท่าใด จึงมีสภาพเป็นเรื่องที่จำเลยเก็บรักษาเงินของโจทก์ไว้เพื่อทำการซื้อขายไม้กันต่อไป เมื่อจำเลยไม่มีไม้มาขายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนั้นได้
อายุความเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงต้องปรับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 ซึ่งเป็นอายุความเรียกร้องทั่วไป
อายุความเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงต้องปรับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 ซึ่งเป็นอายุความเรียกร้องทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี เพื่อประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนบุคคล
สิทธิการใช้ทางเดินอันตกเป็นภารจำยอมนั้นกฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะความสำคัญอยู่ที่ว่า ทางนั้นถูกใช้เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์มาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ย่อมใช้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ของมัสยิด: การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยต่อเนื่องเกิน 10 ปี
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 บัญญัติให้การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดเป็นไปตามเสียงข้างมาก อิหม่ามกับกรรมการอื่น ๆ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจดำเนินคดีในนามของมัสยิดโจทก์ได้
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอด จำเลยซึ่งเป็นซึ่งผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ามารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมา ย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทน เมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวางดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอด จำเลยซึ่งเป็นซึ่งผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ามารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมา ย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทน เมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวางดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-228/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดต้องครอบครองนาน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินมีโฉนดเป็นสำคัญ นั้นเมื่อจำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมายังไม่ถึง 10 ปี ย่อมยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ฉะนั้น จะยกอำนาจปรปักษ์ขึ้นยันต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรอนสิทธิเช่า: มาตรา 482 ไม่กำหนดอายุความ ใช้ อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าตึกจากจำเลยถูกรบกวนขัดสิทธิในอันจะได้ครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิในการเช่าเหนือทรัพย์สินดีกว่าโจทก์ได้ชื่อว่าโจทก์ผู้เช่าถูกรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ประกอบด้วยมาตรา 549
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงเกิน 10 ปีหลังสัญญาเช่าเดิมหมดอายุ ผู้เช่าไม่มีสิทธิผูกพันกับเจ้าของที่ดิน
1. ผู้ร้องทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของอาคาร คือ ไม่ได้เช่าต่อจากผู้ที่เช่าอาคารมาจากเจ้าของอาคาร ย่อมไม่เป็นการเช่าช่วง
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด 10 ปี ตกลงกันว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์นั้น จำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของ แต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี การเช่าเกิน 10 ปี ย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์ ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่า ผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลย จึงถือว่าเป็นบริวาร
อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด 10 ปี ตกลงกันว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์นั้น จำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของ แต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี การเช่าเกิน 10 ปี ย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์ ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่า ผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลย จึงถือว่าเป็นบริวาร
อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505