พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าโดยไม่มีใบสั่งซื้อตามเงื่อนไข จำเลยไม่ต้องรับผิด
ในการซื้อขายที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันมา ส. พนักงานของจำเลยซึ่งได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นการภายในจะเป็นผู้ติดต่อสั่งซื้อกับโจทก์โดยต้องส่งสำเนาใบสั่งซื้อที่ได้รับอนุมัติจาก ศ. กรรมการบริษัทจำเลย ซึ่งลงลายมือชื่อผู้อนุมัติในใบสั่งซื้อไปให้โจทก์ทางโทรสาร และโจทก์จะต้องนำสำเนาใบสั่งซื้อดังกล่าวไปแสดงเพื่อขอรับต้นฉบับใบสั่งซื้อจาก ส. เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากจำเลย เห็นได้ว่าจำเลยถือการส่งสำเนาใบสั่งซื้อทางโทรสารเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ เพื่อป้องกันมิให้พนักงานของจำเลยซึ่งทำหน้าที่จัดซื้อกระทำการทุจริตแอบอ้างสั่งซื้อสินค้าโดยไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย การที่ ส. สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ทางโทรศัพท์โดยไม่ได้ส่งสำเนาใบสั่งซื้อทางโทรสารไปยังโจทก์ซึ่งผิดเงื่อนไขทางปฏิบัติในการซื้อขายดังกล่าว จะถือว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนหรือยอมให้ ส. เชิดตนเองเป็นตัวแทนในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วยวิธีการดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ส่งสินค้าให้แก่ ส. ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าการสั่งซื้อสินค้าของ ส. ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการสั่งสินค้าของโจทก์และ ส. นำสินค้าที่ได้รับไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการทำสัญญาประกันชีวิต ความรับผิดของตัวแทนและบริษัทประกันภัย
การที่โจทก์ทั้งสามลงลายมือชื่อในคำขอประกันชีวิตมอบให้จำเลยที่ 1 ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 2 ไปยื่นต่อจำเลยที่ 2 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงว่าเป็นการขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับเดิม เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม จึงเป็นความสำคัญผิดในสาระสำคัญนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156
โจทก์ทั้งสามรู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลานาน และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนให้โจทก์ทั้งสามทำสัญญาประกันชีวิตฉบับเดิม โจทก์ทั้งสามย่อมให้ความเชื่อถือไว้วางใจ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามประมาทเลินเล่อในการลงลายมือชื่อในคำขอทำสัญญาประกันชีวิต ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตตามกรมธรรม์จึงไม่มีผลสมบูรณ์ที่ใช้บังคับได้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจรับเบี้ยประกันชีวิตในนามจำเลยที่ 2 ดังนี้ คนทั่วไปที่ถูกจำเลยที่ 1 ชักชวนให้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 2 ย่อมต้องเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการติดต่อรับประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้าด้วย ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์ทั้งสามเพื่อต่ออายุกรมธรรม์และรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้าในนามของจำเลยที่ 2 โดยเปิดเผย จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อรับประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้า การที่จำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสามให้ลงลายมือชื่อในคำขอประกันชีวิตเป็นการจงใจให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 และต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 ด้วย
ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ทั้งสามในการติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเบี้ยประกันชีวิต เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาเป็นโมฆะ หากโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายย่อมเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้
โจทก์ทั้งสามรู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลานาน และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนให้โจทก์ทั้งสามทำสัญญาประกันชีวิตฉบับเดิม โจทก์ทั้งสามย่อมให้ความเชื่อถือไว้วางใจ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามประมาทเลินเล่อในการลงลายมือชื่อในคำขอทำสัญญาประกันชีวิต ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตตามกรมธรรม์จึงไม่มีผลสมบูรณ์ที่ใช้บังคับได้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจรับเบี้ยประกันชีวิตในนามจำเลยที่ 2 ดังนี้ คนทั่วไปที่ถูกจำเลยที่ 1 ชักชวนให้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 2 ย่อมต้องเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการติดต่อรับประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้าด้วย ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์ทั้งสามเพื่อต่ออายุกรมธรรม์และรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้าในนามของจำเลยที่ 2 โดยเปิดเผย จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อรับประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้า การที่จำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสามให้ลงลายมือชื่อในคำขอประกันชีวิตเป็นการจงใจให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 และต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 ด้วย
ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ทั้งสามในการติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเบี้ยประกันชีวิต เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาเป็นโมฆะ หากโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายย่อมเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนในการขนส่งสินค้าเสียหาย
คดีนี้มีมูลเหตุจากการที่บริษัท ย. ในประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องอัดฉีดพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น สินค้าถูกขนส่งทางทะเลจากท่าเรือเมืองโยโกฮาม่าถึงท่าเรือกรุงเทพ และผู้ซื้อได้เอาประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อไว้กับโจทก์ เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ผู้ซื้อว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อรวมทั้งติดตั้งเครื่องจักรดังกล่าว กระบวนการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิประกอบกิจการประกันภัยในราชอาณาจักรไทย จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลโดยรับประกันภัยสินค้าตลอดเส้นทางการขนส่งตั้งแต่โรงงานของผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นจนกว่าสินค้าจะถึงโรงงานของผู้ซื้อในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบกก่อนสินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้ซื้อ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป โจทก์จะเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ที่ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะร่วมกันขนส่งสินค้าแล้วทำให้สินค้าเสียหายเป็นคดีนี้ จึงไม่มีข้อสงสัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับพิจารณาพิพากษาคดีชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการมอบหมายและตัวแทน กรณีละเมิดจากการดูแลความปลอดภัยในศูนย์การค้า
โจทก์นำสืบเพียงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ลานจอดรถชั้นเกิดเหตุโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดูแลรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ของตนแก่รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเป็นเหตุให้มีคนเข้ามาลักรถยนต์คันดังกล่าว หรือมีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนในขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยหายไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับอันตรายโดยตรงหรือเป็นตัวแทนโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 291 และ 390 ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะเหตุรถยนต์ที่เฉี่ยวชนกระเด็นมาชนรถยนต์ของผู้ร้องที่จอดอยู่ ผู้ร้องไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายหรือเป็นผู้ได้รับอันตรายแก่กาย ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 39, 40, 43, 151 และ 157 เป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22785/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนขนส่งทางทะเล: จำเลยในฐานะตัวแทน มิใช่ผู้ขนส่งจริง ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่ง
จำเลยลงชื่อในใบตราส่งไว้ในฐานะตัวแทนเรือ จำเลยรับจองระวางเรือและลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่งเท่านั้น โดยจำเลยเป็นสำนักงานตัวแทนของผู้ขนส่งในประเทศไทย มีสำนักงานอยู่ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ แม้จำเลยและผู้ขนส่งต่างก็เป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) เช่นกัน แต่จำเลยก็มิใช่ผู้ขนส่ง และเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ขนส่งโดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับโจทก์แทนผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20348/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา การชดใช้ค่าเสียหาย และดอกเบี้ยผิดนัด กรณีตัวแทนกระทำผิด
ในการตีความสัญญานั้นต้องคำนึงความประสงค์หรือเจตนาอันมีร่วมกันของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจตนาที่คาดหมายในทางสุจริต และต้องคำนึงประเพณีปฏิบัติในระหว่างคู่สัญญาเอง หรือประเพณีในทางการค้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 จะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18623/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำกัดอำนาจ: จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับตัวแทน (จำเลยที่ 2) ในการซื้อขายรถยนต์ แม้จะมีการกระทำโดยผิดระเบียบ
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 แต่การติดต่อซื้อขายรถระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น กระทำการในที่ทำการและเวลาทำการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้แสดงให้โจทก์หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 แล้ว การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการกระทำในขอบอำนาจแห่งตัวแทนเพื่อกิจการค้าขายที่จำเลยที่ 1 จะถือเอาประโยชน์จากกิจการนั้นได้ ไม่ว่าการที่จำเลยที่ 2 รับซื้อรถคันเก่าจากโจทก์โดยนำไปฝากขายที่เต็นท์รถมือสอง จะเป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 1 จะมีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อรถเก่าจากลูกค้าหรือไม่ก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของการขายซึ่งเป็นไปตามนโยบายการขายของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ในกิจการที่จำเลยที่ 2 กระทำไปด้วย แม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 อาจเป็นเรื่องการกระทำโดยผิดระเบียบของจำเลยที่ 1 แต่เป็นเรื่องกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 เอง ไม่อาจยกเป็นข้ออ้างต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อให้ตนพ้นผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18531/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าที่ดินและการยึดหน่วงทรัพย์สินของตัวแทน: สิทธิของตัวแทนในการยึดหน่วงจนกว่าจะได้รับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโจทก์ซื้อที่ดินจากธนาคาร น. โดยได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินพิพาทแทนโจทก์ไปและใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะเรียกเอาเงินชดใช้จากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของโจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตนเพราะเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 819 จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้ชำระค่าที่ดินพิพาทจนครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15911/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทน การรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก และการจดทะเบียนรถยนต์
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทของจำเลยที่ 1 โดยติดต่อกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ไปเกินอำนาจหรือนอกขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมาย โดยขายต่ำกว่าราคาต้นทุน และไม่มีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ทางปฏิบัติของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมีมูลเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทน ที่ให้ส่วนลดและของแถมแก่ลูกค้าและมีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 อยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนดังเช่นที่จำเลยที่ 2 เคยรับเงินค่าจองรถยนต์จาก พ. ไปแล้ว ไม่มีปัญหาอย่างใด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 และเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกับโจทก์โดยเห็นแก่อามิสสินจ้างตามมาตรา 825 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 823 และมาตรา 825 เพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดตามที่ฎีกาได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยครบถ้วนและโดยสุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์และมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์