พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกอบรม-การทำงานชดใช้: ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมและภาระที่เกินความคาดหมาย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในขอบเขตซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 บัญญัติไว้ และศาลแรงงานกลางได้ลดอัตราให้เหลือร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ส่วนข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ มิฉะนั้นต้องเสียเบี้ยปรับ 3 เท่า ของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืน ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนทำสัญญาจำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบินอยู่แล้วและปรากฏตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบิน 737-200 ที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ แสดงว่าการฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่นเพราะไม่ต้องลงทุนส่งคนไปฝึกอบรม ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อห้ามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานที่อุตส่าห์ลงทุนส่งไปฝึกอบรมจนมีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบินของกรมการบินพาณิชย์ จึงเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 โดยมุ่งหวังที่จะได้พนักงานที่มีคุณสมบัติตามที่โจทก์ต้องการไว้ทำงานกับโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรมโดยมีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินเพิ่มขึ้น ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกเอาได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่า ของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน (รวมทั้งวันเดินทาง 2 วัน) โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี จึงเป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำกัดสิทธิประกอบอาชีพและข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กรณีเบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลแก้ไขให้มีผลใช้ได้เท่าที่เป็นธรรม
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่ว่าคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบิน หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศจำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบินที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ การฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อหามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี เป็นการทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติศาลฎีกาให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
จำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบิน หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศจำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบินที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ การฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อหามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี เป็นการทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติศาลฎีกาให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ได้รับจริง ศาลแก้ไขจำนวนหนี้และดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน แต่ได้รับเงินกู้จากโจทก์เพียง 16,000 บาท เพราะโจทก์หักไว้เป็นค่าดอกเบี้ยล่วงหน้า 2 เดือน และโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เขียนสัญญากู้ยืมเงินว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 160,000 บาท อันผิดไปจากความจริง อย่างไรก็ตามที่สัญญากู้ระบุจำนวนเงินกู้ไว้จำนวน 160,000 บาท แต่จำเลยต่อสู้และนำสืบหักล้างฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียงจำนวน 20,000 บาท ก็เป็นเพียงการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์เท่านั้นหาใช่ทำให้เป็นสัญญากู้ปลอมแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงอาศัยสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่แท้จริงจำนวน 20,000 บาท ได้ จำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ต้นเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำเงินจำนวน 4,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน รวม 2 เดือน ที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์หักไว้ขณะทำสัญญากู้ยืมเงินมาหักชำระหนี้ต้นเงินได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 สำหรับข้อตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะคิดดอกเบี้ยกันในอัตราดังกล่าวแต่ตกลงให้โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ แต่เนื่องจากกรณีเป็นหนี้เงิน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งคดีนี้สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงให้ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และเมื่อความรับผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการต้องพิจารณาก่อนประเด็นอื่น หากมีข้อสงสัยว่าใช้บังคับไม่ได้ ศาลต้องไต่สวนตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
คดีนี้โจทก์ก็ยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น ก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทนดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 (เดิม) มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อนก็สั่งจำหน่ายคดีเสียเพื่อให้โจทก์ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โดยศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องคดี อำนาจฟ้อง และความรับผิดของจำเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องพิจารณาข้อตกลงก่อนตัดสินเรื่องอื่น
จำเลยให้การข้อหนึ่งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเนื่องจากยังไม่ดำเนินการตามกระบวนการระงับข้อพิพาทของสัญญาและนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการอันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้าง ในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยก็ยังสืบพยานยืนยันข้อต่อสู้นี้ โดยโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนก็นำสืบรับว่ามีกระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญา และมีข้อตกลงว่าหากดำเนินการตามกระบวนการนั้นแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทได้ จะต้องนำข้อพิพาทเข้าสู่การระงับโดยอนุญาโตตุลาการ กล่าวคือ ยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทน ดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน ก็สั่งจำหน่ายคดีนี้เสียเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โดยศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องคดี อำนาจฟ้อง และความรับผิดของจำเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายกคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยให้ไปดำเนินการไต่สวน และมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า: การแบ่งทรัพย์สินตามข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ามีผลเหนือกรรมสิทธิ์รวมที่ปรากฏในโฉนด
แม้ที่พิพาทมีชื่อของจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทให้เป็นของผู้ร้องตามข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2513 ผู้ร้องได้ครอบครองตลอดมา โดยจำเลยที่ 2 ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่พิพาทเลย การที่จำเลยที่ 2 นำที่พิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินซึ่งได้มาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 ยอมแบ่งที่พิพาทให้เป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียวแล้ว เห็นได้ชัดว่า การขอออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทของจำเลยที่ 2 มิได้กระทำไปในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอยู่ด้วยแล้ว พยานหลักฐานของผู้ร้องมีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานที่ว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นยันแก่โจทก์เจ้าหนี้สามัญตามคำพิพากษาผู้นำยึดได้ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาท ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้ปล่อยที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามแผนที่วิวาท การแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามข้อตกลง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกันที่ว่าการอำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่งที่ดินออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2 เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายน้ำให้ขุดลอกหน้าท่อระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าปากท่อ หากมีการซื้อขายส่วนเกินให้คิดราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา และภายหลังจัดทำแผนที่โจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งที่ดินกันอีกตามรูปแผนที่ ซึ่งทั้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ จึงมีผลผูกพันคู่ความ แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยตนเอง แต่พฤติการณ์โจทก์ถือได้ว่าเชิด ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกระทำการแทน มีผลเช่นดียวกับที่โจทก์ลงลายมือชื่อเอง และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งรูปแผนที่ตรงกับแผนที่วิวาทจึงต้องแบ่งแยกกรรมสิทธิที่ดินไปตามแผนที่วิวาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงภาระจำยอมในสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีการโอนสิทธิก็ยังผูกพันจำเลยเดิม
สัญญาเช่าซื้อที่ดินมีข้อความระบุไว้ในข้อ 7 ว่า "ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องทำถนนกว้าง 3 เมตร และถนนแยกกว้าง 4 เมตร ผ่านที่ดินของผู้เช่าซื้อตามสัญญานี้ และยินยอมให้ผู้เช่าซื้อใช้ถนนดังกล่าวนี้ตลอดไป..." เชื่อว่าจำเลยได้ตกลงว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมในทางพิพาทแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าแปลง ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมในทางพิพาทแก่โจทก์ เมื่อได้จดทะเบียนเช่นนั้นแล้วการได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยนิติกรรมดังกล่าวย่อมบริบูรณ์ตามกฎหมายสมเจตนาของคู่กรณี สิทธิของโจทก์ตามนิติกรรมดังกล่าวนี้เป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณี แม้ตามข้อเท็จจริงจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลงให้บุตรของจำเลยก่อน คือ อ. และ ศ. ต่อมาบุตรของจำเลยจึงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งห้าแปลงให้แก่โจทก์ จำเลยก็ยังผูกพันตามข้อตกลงที่จำเลยตกลงไว้กับโจทก์ไม่เปลี่ยนแปลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมทางพิพาทแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆะ แม้คู่สัญญาต่างชาติและมีค่าใช้จ่ายสูง
การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันให้เสนอข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่ออนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสิงคโปร์และนำกฎหมายของประเทศสิงคโปร์มาใช้บังคับ ข้อตกลงดังกล่าวหาได้ทำให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งจำเลยก็มิได้เป็นผู้กำหนดข้อตกลงดังกล่าวด้วยตนเอง ข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการจึงสมบูรณ์และสามารถบังคับได้ หาใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ และที่โจทก์อ้างว่า การเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสิงคโปร์ก่อให้เกิดภาระและทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนสูง ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ คดีไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8015/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยบนที่ดินตามข้อตกลง: การต่อเติมไม่ใช่การผิดสัญญา หากยังสามารถอยู่อาศัยได้
ตามบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับ ช. มารดาจำเลยทั้งสองนั้นเป็นบันทึกข้อตกลงที่ก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิใช้ยันบุคคลภายนอกได้ แต่แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็หาทำให้เป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ ยังคงบังคับกันได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
บันทึกข้อตกลงระบุให้ ช. และบริวารอยู่อาศัยในห้องแถวทั้งสี่ห้องจนกว่าจะทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้ อันเป็นข้อตกลงที่ระบุเงื่อนไขไว้ชัดแจ้งว่า ช. และบริวารสามารถอยู่อาศัยในห้องแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ได้จนกว่าห้องแถวนั้นจะทรุดโทรมประการหนึ่งและการทรุดโทรมนั้นต้องทำให้ไม่สามารถอยู่ในห้องแถวได้อีกประการหนึ่ง เมื่อครบทั้งสองประการดังกล่าว ช. และบริวารจึงจะอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ต่อไปไม่ได้ต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเงื่อนไขทั้งสองประการเป็นที่เห็นได้ว่าการทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้นั้น ไม่อาจกำหนดเวลาได้ว่าจะทรุดโทรมเมื่อใดและเมื่อทรุดโทรมแล้วเมื่อใดจึงจะถือว่าอยู่อาศัยไม่ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีกำหนดเวลา อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1412 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1403 วรรคสาม
บันทึกข้อตกลงระบุให้ ช. และบริวารอยู่อาศัยในห้องแถวทั้งสี่ห้องจนกว่าจะทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้ อันเป็นข้อตกลงที่ระบุเงื่อนไขไว้ชัดแจ้งว่า ช. และบริวารสามารถอยู่อาศัยในห้องแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ได้จนกว่าห้องแถวนั้นจะทรุดโทรมประการหนึ่งและการทรุดโทรมนั้นต้องทำให้ไม่สามารถอยู่ในห้องแถวได้อีกประการหนึ่ง เมื่อครบทั้งสองประการดังกล่าว ช. และบริวารจึงจะอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ต่อไปไม่ได้ต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเงื่อนไขทั้งสองประการเป็นที่เห็นได้ว่าการทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้นั้น ไม่อาจกำหนดเวลาได้ว่าจะทรุดโทรมเมื่อใดและเมื่อทรุดโทรมแล้วเมื่อใดจึงจะถือว่าอยู่อาศัยไม่ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีกำหนดเวลา อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1412 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1403 วรรคสาม