พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11839/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก: ตัวแทน, ทายาท, และอำนาจฟ้อง
ก. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นหน้าที่ของ ก. จะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้นส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง เมื่อ ก. ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 ซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับว่าทายาทที่ถูกฟ้องจะต้องได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือต้องฟ้องทายาททุกคน และในกรณีที่โจทก์ไม่ได้เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามา ก็อาจมีผลในการบังคับคดีต่อไปเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันของนายจ้างและตัวแทน กรณีตัวแทนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อ ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวขวากลับรถกะทันหันให้รถขวางถนน จนเป็นเหตุให้ อ. ซึ่งขับรถยนต์กระบะ พุ่งชน จน อ. ถึงแก่ความตาย และ ส. ซึ่งนั่งโดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ เมื่อขณะเกิดเหตุปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างขนส่งสินค้าและมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถบรรทุกหกล้อ เช่นนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นประจำโดยใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถมองเห็นได้ชัดเจน อันมีลักษณะเป็นการเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการรับจ้างขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10865/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและหลักตัวการ-ตัวแทน ศาลยืนว่าผู้รับโอนที่สุจริตไม่ต้องรับผิด
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่าพระครู ส. จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 เป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการโอนให้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของกฎหมายว่า รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงการที่โจทก์จดทะเบียนให้พระครู ส. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือ พระครู ส. ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์จึงต้องรับผิดผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: อายุความ, ความรับผิดของตัวแทน, และอำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้า
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบของจึงขาดอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ทั้งหากเป็นกรณีละเมิดคดีโจทก์ก็ขาดอายุความ 1 ปี แล้วเช่นเดียวกันนั้น คดีนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้ผู้รับตราส่งโดยผู้รับตราส่งไม่ได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง เป็นการที่ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และใน ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขน คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นข้อนี้มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้งคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดของตัวแทนและใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. และจำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 4 ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลรถยนต์คันเกิดเหตุ รวมทั้งจำเลยที่ 4 เป็นตัวการของ ส. และจำเลยที่ 3 โดยยินยอมให้ ส. และจำเลยที่ 3 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 4 ตามคำฟ้องจึงเป็นการขอให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ส. ตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะเป็นตัวการ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของตัวแทน และอายุความฟ้องละเมิด
เอกสารที่จำเลยที่ 3 ใช้ติดต่อกับโจทก์เป็นเอกสารที่ติดต่อกันในนามของจำเลยที่ 1 แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า โจทก์ได้เข้าทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีให้โจทก์หรือโจทก์ได้เข้าตกลงทำสัญญากับผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 3 เป็นทนายความประจำบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 3 ใช้สถานที่ของจำเลยที่ 1 เป็นที่ทำการของจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3 ใช้เอกสารติดต่อกับโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 รวมตลอดถึงการที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 3 ใช้ ว. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ทำงานฟ้องคดี จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว ยอมให้จำเลยที่ 3 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต เสมือนว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อดำเนินการให้ ว. ฟ้องคดีให้โจทก์ล่าช้าจนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีของโจทก์เพราะเหตุขาดอายุความ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 เพราะเหตุละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 การอ่านคำพิพากษาในคดีแพ่ง ถ้าคู่ความทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลตามกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) ศาลจะงดการอ่านคำพิพากษาก็ได้ โดยให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงานและให้ถือว่าคำพิพากษานั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว กรณีดังกล่าวเป็นการกำหนดขั้นตอนตามกฎหมายให้กระบวนพิจารณาในคดีแพ่งสามารถดำเนินการต่อไปได้จนเสร็จสิ้นแม้กฎหมายให้ถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยชอบตั้งแต่วันนัดฟังคำพิพากษาก็ตาม แต่คดีได้ความว่าโจทก์นำเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ยืนฟ้อง ส. ไปมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนวันที่คดีดังกล่าวจะขาดอายุความ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้รายงานผลการดำเนินงานให้โจทก์ทราบเพียงครั้งเดียว และไม่ได้แจ้งวันที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่ได้ไปฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามกำหนดนัด ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่ทราบว่าคดีดังกล่าวขาดอายุความด้วยเหตุใด และผู้ใดเป็นผู้กระทำให้คดีดังกล่าวขาดอายุความ จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน 2544 จำเลยที่ 3 ได้ทำบันทึกรับสภาพความรับผิดให้แก่โจทก์โดยยอมรับความผิดพลาดในการดำเนินคดีดังกล่าวว่าเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงเพิ่งทราบถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมในวันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 จึงยังไม่พ้น 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172-3173/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ประเด็นความรับผิดนายจ้าง/ตัวแทน - การแก้ไขคำพิพากษา
คดีในสำนวนที่สองศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 49,150 บาท ฎีกาของโจทก์ในสำนวนที่สองจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีในสำนวนแรกเมื่อวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียวแล้ว จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สองที่ว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยมีส่วนประมาทหนึ่งในสามส่วน และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทสองในสามส่วน ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยหาได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และนาง บ. เป็นตัวแทนในการนำรถไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ยังคงฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเนื้อหาดังเช่นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2
แม้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่คดีนี้ประเด็นในชั้นฎีกามีเพียงว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เท่านั้น จึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คดีในสำนวนแรกเมื่อวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียวแล้ว จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สองที่ว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยมีส่วนประมาทหนึ่งในสามส่วน และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทสองในสามส่วน ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยหาได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และนาง บ. เป็นตัวแทนในการนำรถไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ยังคงฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเนื้อหาดังเช่นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2
แม้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่คดีนี้ประเด็นในชั้นฎีกามีเพียงว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เท่านั้น จึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10629/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับตราส่งในการส่งมอบตู้สินค้า กรณีตัวแทนผู้ส่งมอบทำหน้าที่เกินขอบเขต
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท ย. ผู้ขนส่งทอดแรก จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพเมื่อจำเลยที่ 1 ได้เวนคืนใบตราส่ง ดังนั้น การที่ใบตราส่งอีกฉบับหนึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้รับแจ้งการมาถึงของสินค้าก็เพื่อที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าให้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จำเลยที่ 2 จะได้ส่งมอบต่อให้แก่จำเลยที่ 1 เจ้าของสินค้า เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับใบปล่อยสินค้าจากโจทก์ก็เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่ง ซึ่งต้องรับสินค้าจากโจทก์ จากนั้นก็ทำหน้าที่ตัวแทนผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แทนบริษัท ย. ตามใบตราส่ง โดยสถานที่ส่งมอบสินค้าตามใบตราส่งทั้งสองฉบับก็คือที่ซีวาย อันหมายถึงลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพ ดังนั้น เมื่อสินค้าถึงสถานที่ส่งมอบตามใบตราส่งทั้งสองฉบับแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าจะขนถ่ายสินค้าที่ใดอีกซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 จะให้ลากตู้สินค้าไปที่ที่ทำการของจำเลยที่ 1 แทนการส่งมอบและรับมอบกันที่ลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมและได้ขอยืมตู้สินค้าจากโจทก์โดยไม่ได้แสดงให้เห็นชัดในขณะนั้นว่าเป็นการยืมตู้สินค้าแทนจำเลยที่ 1 หรือเป็นการกระทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนบริษัท ย. ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าเปล่ากลับมาคืนแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนด การรับมอบใบปล่อยสินค้าก็ดี การยืมตู้สินค้าและการทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามพฤติการณ์แห่งคดี มิใช่เป็นการกระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดมีหน้าที่นำตู้สินค้าเปล่ากลับมาคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9272/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการรับผิดต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำของตัวแทน แม้ไม่มีอำนาจทำสัญญา
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารงานลูกค้าอาวุโสสายงานธนบดีธนกิจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสายงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแนะนำลูกค้าด้านการลงทุนซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 3 รวมถึงลักษณะงานที่ทำย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และการทำสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินกับโจทก์อยู่ในขอบอำนาจของจำเลยที่ 3 ดังนั้น แม้ตามความเป็นจริงจำเลยที่ 3 จะไม่มีอำนาจทำสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินกับโจทก์และไม่ได้นำเงินที่ได้รับจากโจทก์ไปมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 จะเป็นละเมิดต่อโจทก์ด้วยหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6777/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นแทนตัวการ: ผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิหุ้น แต่ไม่มีอำนาจตัดสินข้อพิพาทระหว่างตัวการ-ตัวแทน
แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งเป็นตัวการกับโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ส่วนที่จำเลยมีเอกสารมาแสดงว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้ชำระค่าหุ้นแทนโจทก์และผู้ถือหุ้นรายอื่นฝ่ายไทยนั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวการและตัวแทนเช่นเดียวกัน ทั้งอาจมีข้อต่อสู้กันระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ได้ว่าเงินที่ชำระไปนั้นเป็นการชำระค่าหุ้นในฐานะตัวการจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปยกข้อต่อสู้ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับโจทก์เพื่อบอกปัดไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีหลักฐานการจดทะเบียนผู้ถือหุ้นมาแสดงว่าโจทก์มีหุ้นจำนวน 250 หุ้น ชำระราคาแล้วหุ้นละ 500 บาท อันเป็นเอกสารราชการในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อความตามเอกสารดังกล่าวถูกต้อง จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินส่วนแบ่งให้แก่โจทก์ตามสิทธิอันพึงมีตามหุ้นดังกล่าว ส่วนความรับผิดระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะไปว่ากล่าวกันเอง
เมื่อปรากฏว่า บ. ถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิในหุ้นจำนวน 500 หุ้น ให้แก่กองมรดกของ บ. ตามหลักฐานผู้ถือหุ้นที่ปรากฏเช่นเดียวกับโจทก์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ บ. ไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. จึงไม่อาจอ้างแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนต่อกองมรดกของ บ. เนื่องจากทายาทของ บ. อาจมีข้อต่อสู้กับโจทก์ได้ว่าเงินที่ บ. มีสิทธิได้รับนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเอาจากกองมรดกของ บ. เอง ไม่ใช่มาเรียกเอาจากผู้ชำระบัญชี ส่วนหุ้นที่ บ. เป็นผู้ถือหุ้นนั้น จะเป็นการถือแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และห้างดังกล่าวเป็นผู้ออกเงินค่าหุ้นหรือไม่นั้น เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จะไปว่ากล่าวเอากับผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ บ. เอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินครึ่งหนึ่งตามส่วนของหุ้นทั้งหมดที่ บ. ถือ คิดเป็น 250 หุ้น เป็นเงิน 369,235.95 บาท จากจำเลยได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวประกอบมาตรา 246 และ 247 ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
เมื่อปรากฏว่า บ. ถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิในหุ้นจำนวน 500 หุ้น ให้แก่กองมรดกของ บ. ตามหลักฐานผู้ถือหุ้นที่ปรากฏเช่นเดียวกับโจทก์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ บ. ไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. จึงไม่อาจอ้างแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนต่อกองมรดกของ บ. เนื่องจากทายาทของ บ. อาจมีข้อต่อสู้กับโจทก์ได้ว่าเงินที่ บ. มีสิทธิได้รับนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเอาจากกองมรดกของ บ. เอง ไม่ใช่มาเรียกเอาจากผู้ชำระบัญชี ส่วนหุ้นที่ บ. เป็นผู้ถือหุ้นนั้น จะเป็นการถือแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และห้างดังกล่าวเป็นผู้ออกเงินค่าหุ้นหรือไม่นั้น เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จะไปว่ากล่าวเอากับผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ บ. เอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินครึ่งหนึ่งตามส่วนของหุ้นทั้งหมดที่ บ. ถือ คิดเป็น 250 หุ้น เป็นเงิน 369,235.95 บาท จากจำเลยได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวประกอบมาตรา 246 และ 247 ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)