พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารโดยอาศัยความเชื่อถือของผู้เสียหาย และความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา
ก่อนจำเลยจะรดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายไม่ได้บอกว่าจะต้องถูกเนื้อตัวผู้เสียหายด้วย เมื่อจำเลยลูบไล้ใบหน้าและหน้าอก ผู้เสียหายจึงถามจำเลยว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้ยินยอมให้จำเลยกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยอาศัยความเป็นพระภิกษุที่ผู้เสียหายให้ความนับถือและกระทำเพียงครั้งเดียวในลักษณะฉวยโอกาส ในขณะที่ผู้เสียหายไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อนจึงไม่อาจปกป้องตัวเองได้ทัน การกระทำในลักษณะฉวยโอกาสดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 278
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า และการไม่ถือเป็นการกลับใจแก้ไขเมื่อช่วยเหลือผู้เสียหายหลังกระทำผิด
จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่บริเวณซี่โครงซ้ายและไหล่ซ้ายและพยายามใช้อาวุธมีดปาดคอโดยเจตนาฆ่า จำเลยกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย การที่จำเลยยับยั้งไม่ใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้เสียหายต่อไปจนถึงแก่ความตาย จำเลยก็ยังต้องรับโทษสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ได้กระทำไปแล้ว ส่วนการที่จำเลยช่วยนำผู้เสียหายไปส่งโรงพยาบาลและดูแลผู้เสียหายในระหว่างที่รักษาตัวนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยบรรลุผลเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหาย ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแล้ว กรณีจึงมิใช่การกระทำความผิดของจำเลยยังไม่บรรลุผล ไม่เป็นการกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ในอันที่จะไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-288/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ตายประมาทเองไม่มีอำนาจฟ้อง – ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่และผู้เสียหาย
เมื่อพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบกับรอยห้ามล้อยาวถึง 20.30 เมตร และความเสียหายของรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งได้รับความเสียหายตรงบริเวณกันชนด้านขวามือผู้ขับยุบไปค่อนข้างมากแล้ว เชื่อว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรซึ่งการขับรถด้วยความเร็วสูงมาถึงทางร่วมทางแยกก็มิได้ลดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลง เป็นการขับรถโดยประมาทอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่จำเลยห้ามล้อไม่น่าจะเกิดจากการที่จำเลยหักหลบหลุมตรงบริเวณปากทางแยกเป็นสำคัญ เพราะตามภาพถ่ายหมาย จ.5 สำนวนหลัง เห็นได้ชัดว่าหลุมดังกล่าวล้ำเข้ามาในผิวจราจรของช่องเดินรถที่จำเลยขับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหลบหลุมถึงขนาดล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวน เชื่อว่าเหตุที่จำเลยขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนเพราะหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตัดหน้า จุดชนอยู่ตรง ๆ กับปากทางแยก ชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตรงฝาครอบแบตเตอรี่ขวามือผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้ตายยังมิได้ตั้งลำรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ตนจะเข้าไป ทั้งตามคำเบิกความของ อ. ก็ได้ความว่า เมื่อ อ. และผู้ตายขับรถมาถึงปากทางแยก อ. เห็นรถยนต์ที่จำเลยขับแล่นมาอยู่ห่างรถที่ อ. ขับ 30 ถึง 40 เมตร อ. จึงหยุดตรงปากทางแยก ไม่ขับออกไปในถนนที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายขับออกไปจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยขับมาชน เห็นได้ว่าถ้าผู้ตายระมัดระวังโดยยังไม่ขับออกไปเหมือน อ. ก็จะไม่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชน ยิ่งกว่านั้นตามคำเบิกความของ ถ. จ. และ ท. พยานโจทก์ทั้งสองที่เบิกความว่าผู้ตายขับในลักษณะพุ่งออกไปอันเป็นลักษณะของการขับรถออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจำเลยเห็นจึงห้ามล้อตั้งแต่อยู่ห่าง 20 ถึง 30 เมตร พฤติการณ์เช่นนี้ แม้จุดชนอยู่ห่างจากเส้นแบ่งช่องเดินรถประมาณ 1.40 เมตร ดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ก็ไม่เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ตายมิได้ประมาทที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าทั้งผู้ตายและจำเลยต่างขับรถโดยประมาท ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย เมื่อผู้ตายก็เป็นผู้ขับรถโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 3 (2) เมื่อไม่มีอำนาจฟ้องฎีกา ก็ไม่อาจขอให้ไม่รอการลงโทษดังที่ฎีกาขึ้นมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนลูกเลี้ยง: ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 285 ไม่ครอบคลุม & การระงับคดีอาญาจากผู้เสียหาย
การข่มขืนกระทำชำเราลูกเลี้ยงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำชำเราแก่ผู้สืบสันดานและผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285 ผู้อยู่ในความปกครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องหมายถึงผู้อยู่ในความปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายเป็นเพียงลูกเลี้ยงของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามกฎหมายไม่ได้อยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 1 และผู้เสียหายไม่ใช่ผู้สืบสันดานของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแก่ผู้สืบสันดานและผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285 คงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11058/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กเพื่ออนาจาร: พยานหลักฐานของผู้เสียหายมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความของจำเลย
จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9433/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การบรรยายฟ้องรวมความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนโดยมีเจตนาเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยมีเจตนาฆ่าและใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จำนวน 2 นัด กระสุนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 แต่ถูกบริเวณสะโพกผู้เสียหายที่ 2 จำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 โดยผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหลบหนีได้ทัน ส่วนผู้เสียหายที่ 2 แพทย์ทำการรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที ผู้เสียหายทั้งสองจึงไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย แต่เป็นเหตุทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นการบรรยายฟ้องมีสาระสำคัญรวมกันมาโดยไม่ได้แยกข้อเท็จจริงของการกระทำที่เกี่ยวกับผู้เสียหายทั้งสองแต่ละคนออกจากกัน ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาเดียวกันและเป็นกรรมเดียวกัน แม้โจทก์จะระบุมาตรา 91 แห่ง ป.อ.ไว้ในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม แต่ก็มีความผิดข้อหาอื่นที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำฟ้องเดียวกันนี้ด้วย และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการขยายความพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แตกต่างไปจากที่โจทก์บรรยายในฟ้องได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9244/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญา ผลร้ายเกิดกับผู้ที่ไม่ได้ระบุในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผลร้ายเกิดแก่บุคคลอื่นซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหายและฐานทำร้ายบุคคลอื่นโดยพลาดไป เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยลงโทษได้ทุกบทหรือบทหนึ่งบทใดได้ ดังนั้น ข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยทำให้ผู้ใดได้รับผลร้ายจึงเป็นข้อสำคัญ การที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่าผลร้ายเกิดเหตุแก่ผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยฐานทำร้ายบุคคลที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องมิได้ และเมื่อฐานพยายามกระทำผิดลหุโทษต่อผู้เสียหายไม่ต้องรับโทษ ศาลก็ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืน: ศาลฎีกาพิจารณาคำให้การผู้เสียหายที่ไม่สอดคล้องกัน และพยานหลักฐานสนับสนุน
ในชั้นพิจารณาผู้เสียหายเบิกความในตอนแรกระบุว่าคนร้ายคือจำเลยและ จ. ซึ่งเป็นคนรู้จักกันมาก่อนเพราะมีบ้านอยู่ใกล้กับบ้านพักของผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายชี้ยืนยันบุคคลตามภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจให้ดู แต่ต่อมากลับเบิกความว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแล้วเบิกความต่อไปว่า ในกระต๊อบที่เกิดเหตุมืดจึงไม่เห็นหน้าและรูปพรรณของคนร้าย ตอนท้ายเบิกความในทำนองว่าคนร้ายชื่อ ก. แต่เป็นคนละคนกับจำเลย ผู้เสียหายไม่รู้จักและไม่เคยเห็นหน้าจำเลย ที่อ้างว่าไม่เห็นหน้าคนร้ายเพราะในกระต๊อบมืดนั้นขัดแย้งกับที่ยืนยันว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแต่เป็น ก. อีกคนหนึ่งที่มีชื่อซ้ำกัน ทั้งไม่สมเหตุสมผลเพราะคนร้ายเข้าประชิดตัวผู้เสียหายขณะกระทำชำเราอีกทั้งผู้เสียหายเบิกความว่าออกจากกระต๊อบมาทันได้เห็นคนร้ายเดินไปที่วงสุราข้างนอกกระต๊อบน่าจะมีแสงสว่างพอให้มองเห็นหน้าคนร้ายได้ ที่อ้างว่าคนร้ายเป็นคนละคนกับจำเลย เพียงแต่ชื่อเหมือนกันก็มีพิรุธ เพราะในชั้นสอบสวนผู้เสียหายระบุตัวจำเลยชัดเจนทั้งชื่อ รูปพรรณ ทั้งระบุว่าจำเลยพักอยู่บ้านใกล้ ๆ ห่างบ้านของผู้เสียหายเพียง 50 เมตร และรู้จักมารดาของจำเลยด้วย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุเพียง 3 วัน ฉ. บิดาจำเลยก็ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้เสียหายระบุตัวจำเลยเป็นคนร้ายตั้งแต่แรก ไม่ใช่เรื่องผิดตัวที่ผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณา จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงไปเพื่อช่วยเหลือจำเลยเพราะไม่ติดใจเอาความแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงใช้ดุลพินิจวินิจฉัยรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเป็นความจริงมากกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของโจทก์ผู้จัดการแทนผู้เสียหาย และผลของการตายของโจทก์ระหว่างการพิจารณาคดี
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. จึงเป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย และโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปเพราะความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบแล้ว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตาย: ผู้จัดการแทนไม่ใช่ผู้เสียหายจริง จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อ
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. เป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตายและโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปด้วยความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหายเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์นั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยและผู้ร้องที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย