พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกงและการวินิจฉัยคดีแพ่งควบคู่คดีอาญา ศาลให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่
ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนจำเลยที่ 2 คดีนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะโจทก์คดีดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีบริษัท ว. เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ระหว่างที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ได้มอบให้ อ. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ อ. ซื้อมารวมถึงมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 นำมาฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รับผิด และต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 จำเลยที่ 2 ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมจึงได้ให้สัตยาบันการกระทำของ อ. จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมดและยอมรับว่าเป็นหนี้จำลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมาย และ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้กับคดีอาญาซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวมีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ จำเลยได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีพิพากษาคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตาม และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้มีเพียงพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วและมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ดำเนินการ
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 26 และมาตรา 27 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ โดยจะต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาอยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้องแต่อย่างใดไม่ เมื่อหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ที่รับโอนสิทธิไม่ต้องยื่นคำร้องสวมสิทธิก่อน
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น... ก็เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องมาสามารถบังคับคดีในคดีแพ่งในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ได้ หาจำต้องยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัยจากการบำรุงรักษายานพาหนะ
จำเลยที่ 1 เคยถูกพนักงานอัยการประจำศาลแขวงสงขลาเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีของศาลแขวงสงขลา เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาของศาลแขวงสงขลา ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลแขวงสงขลา จึงไม่ผูกพันโจทก์
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าลูกปืนล้อรถพ่วงด้านขวาแตกเป็นเหตุให้ล้อรถพ่วงหลุด รถยนต์บรรทุกจึงเสียการทรงตัวและชนถูกรถยนต์คันที่เอาประกันภัยกับโจทก์ไว้นั้น กรณียังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะผู้ใช้งานรถต้องตรวจตราอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถซึ่งย่อมมีทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกและภายใน อุปกรณ์บางชิ้นตรวจสอบได้ด้วยสายตา บางชิ้นเสื่อมสลายไปตามสภาพการใช้งาน ซึ่งล้วนแต่ต้องตรวจตราจากผู้ใช้งานทั้งสิ้นไม่ว่าจะตรวจสอบเองในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือโดยผู้อื่นที่มีหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าลูกปืนล้อรถเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่หน้าที่ตรวจสอบของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้ขับเท่านั้นไม่ได้
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าลูกปืนล้อรถพ่วงด้านขวาแตกเป็นเหตุให้ล้อรถพ่วงหลุด รถยนต์บรรทุกจึงเสียการทรงตัวและชนถูกรถยนต์คันที่เอาประกันภัยกับโจทก์ไว้นั้น กรณียังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะผู้ใช้งานรถต้องตรวจตราอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถซึ่งย่อมมีทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกและภายใน อุปกรณ์บางชิ้นตรวจสอบได้ด้วยสายตา บางชิ้นเสื่อมสลายไปตามสภาพการใช้งาน ซึ่งล้วนแต่ต้องตรวจตราจากผู้ใช้งานทั้งสิ้นไม่ว่าจะตรวจสอบเองในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือโดยผู้อื่นที่มีหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าลูกปืนล้อรถเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่หน้าที่ตรวจสอบของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้ขับเท่านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีทรัพย์มรดก: คดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ฟ้องเรียกเงินฝากจำนวน 255,859.02 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารจำเลยคืน โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ผู้ตาย ซึ่งหากศาลพิพากษาให้ตามขอก็ย่อมทำให้จำนวนทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งให้แก่ทายาทเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นไม่เกิน 300,000 บาท ก็ย่อมอยู่ในอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหลักประกันค้ำประกันความเสียหายหลังคดีถึงที่สุด แม้มีคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอื่น
คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้ผู้ค้ำประกันที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาประกันความเสียหายแก่จำเลย และนำโฉนดที่ดินมาเป็นหลักประกัน เป็นคำสั่งกำหนดให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โดยให้จำเลยชนะคดีและมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 จึงเป็นอันยกเลิกไปตามมาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินที่เป็นหลักประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความประมาทในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญา ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาความรับผิดชอบเพิ่มเติมได้
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปรากฏว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติในคดีส่วนอาญามีแต่เพียงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่งทั้งโจทก์และจำเลยย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือไม่ เพียงใด เพราะคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดเป็นมูลหนี้ละเมิดขึ้นนี้ ป.พ.พ. มาตรา 442 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 223 วรรคหนึ่ง มีข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร และมาตรา 438 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยเรื่องค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น การที่จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้จำเป็นที่โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายจำเลยประมาทมากกว่าและโจทก์เสียหายจากการประมาทมากกว่านั้นอย่างไร เพียงใด ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลในคดีส่วนแพ่งมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยใครเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน ไม่ขัดต่อคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยประมาทมากกว่า และเปรียบเทียบความร้ายแรงแห่งละเมิดที่โจทก์จำเลยต่างก่อขึ้นแล้วกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินรวม 29,500 บาท เป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมไม่รับฟ้องด้วยเหตุผลเดียวกัน การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 281/2546 ของศาลชั้นต้น โดยบรรยายฟ้องว่า ประมาณปี 2522 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1859 หมู่ 8 ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่ยังมิได้โอนทางทะเบียน ต่อมาประมาณปี 2523 โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ในการโอนแต่ทางราชการไม่ได้สร้างโรงเรียนบนที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงขอคืนที่ดินแปลงดังกล่าวจากจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 4 ในคดีนี้แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากหลักฐานปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ยกให้ โจทก์จึงขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการเพิกถอนการให้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์แล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัย อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีแล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องอย่างเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องที่มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องหรือประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 281/2546 ของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148