พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15771/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.การชลประทานหลวง: ความผิดต่อรัฐ ไม่ต้องมีผู้เสียหายโดยตรง
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (1), 120 และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้เสียหายแท้จริงหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและการบรรเทาโทษทางอาญา: โจทก์เป็นผู้เสียหายแม้จำเลยที่ 2 รับสารภาพ และการถอนฟ้องเข้าข่ายได้รับการบรรเทาโทษ
เมื่อจำเลยเอาความเท็จมาฟ้องโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหาย และความผิดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยฟ้องคดี แม้จำเลยที่ 2 ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จะให้การรับสารภาพ ก็หาใช่ว่าโจทก์มีส่วนมีร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อันมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่
ส่วน ป.อ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรเทาโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ เมื่อจำเลยถอนฟ้องในคดีอาญาที่เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ลุแก่โทษต่อศาลแล้ว ควรได้รับการบรรเทาโทษตามบทบัญญัตินั้นทั้งกฎหมายหาได้บัญญัติว่าจำเลยต้องให้การรับสารภาพจึงจะได้รับการบรรเทาโทษ
ส่วน ป.อ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรเทาโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ เมื่อจำเลยถอนฟ้องในคดีอาญาที่เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ลุแก่โทษต่อศาลแล้ว ควรได้รับการบรรเทาโทษตามบทบัญญัตินั้นทั้งกฎหมายหาได้บัญญัติว่าจำเลยต้องให้การรับสารภาพจึงจะได้รับการบรรเทาโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำทางอาญา: การหลอกลวงประชาชนเพื่อจัดหางาน แม้เจตนาเดียวกัน แต่ผู้เสียหายต่างกัน สถานที่และเวลาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น มีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนธันวาคม 2545 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกัน การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันมีการพาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ร. ในวันเดียวกันและชำระเงินให้นาย ก. พร้อมกัน แต่จำเลยกับพวกก็หลอกลวงบุคคลต่างรายกัน เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13725/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย และการพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องบรรยายโดยสรุปได้ความว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารกับบริษัทผู้เสียหาย การก่อสร้างอาคารยังไม่แล้วเสร็จและอาคารดังกล่าวมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านจึงแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบริษัทผู้เสียหายก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่จำเลยกลับไม่ยอมชำระราคากับรับมอบที่ดินและอาคารจากบริษัทผู้เสียหาย เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จตามที่จำเลยแจ้งลงในบันทึกรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และต่อมาจำเลยใช้อ้างเอกสารราชการดังกล่าวต่อประธานศาลปกครองสูงสุดโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวนั้นได้อ้างถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิด ทั้งบุคคลและเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วด้วย อันครบถ้วนตามองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ 268 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่พาดพิงและเจาะจงว่ากล่าวถึงผู้เสียหายอันเป็นเหตุให้สิทธิของผู้เสียหายถูกกระทบกระเทือน ผู้เสียหายจึงได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12659/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการร่วมกระทำผิด ก่อให้เกิดผลต่อการเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง
โจทก์หลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยทั้งสองจึงมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยทั้งสองไปปล่อยกู้ให้ด้วยการเรียกดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปีอันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์รับข้อเสนอดังกล่าวโดยมีเจตนาร้ายมุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมายแม้การกระทำที่ผิดกฎหมายนั้นไม่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นเพียงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสองเพื่อฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ก็ตาม ถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง - การคืนเงินที่ได้จากการหลอกลวง - สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติว่า "คดีลักทรัพย์...ฉ้อโกง...ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย" ดังนี้ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเงิน 80,000 บาท ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนเงิน 80,000 บาท ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้อำนาจไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้วนั้น หากผู้เสียหายไม่โอนที่ดินคืนแก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11096/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายอมความของผู้เสียหายเป็นเหตุระงับความผิดอาญา แม้ภายหลังจะเปลี่ยนใจ
แม้ผู้เสียหายจะอ้างว่ายอมลงชื่อในเอกสารเพราะถูกจำเลยรบเร้า แต่ก็มิใช่ลงชื่อเพราะถูกกลฉ้อฉล หลอกลวง หรือถูกข่มขู่ การลงชื่อในเอกสารจึงสมบูรณ์เมื่อเอกสารดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายตกลงยอมความกับจำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปทันทีที่ผู้เสียหายลงชื่อและเขียนข้อความในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) การที่ผู้เสียหายยืนยันต่อศาลในภายหลังว่าความจริงแล้วยังติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งสองและไม่ถอนคำร้องทุกข์นั้น หาทำให้สิทธินำคดีมาฟ้อง ซึ่งระงับไปแล้ว กลับเป็นไม่ระงับไปไม่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นผู้อื่น แม้หลอกลวงมารดาผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็ได้รับความเสียหายโดยตรง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น แต่ตามทางพิจารณาที่ได้ความนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยหลอกลวง ส. มารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงินที่จำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวงดังกล่าว เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงแม้หลอกลวงบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของเงินกู้ ย่อมเป็นผู้เสียหายในคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเพื่อขอกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องหลอกลวงมารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงิน ซึ่งจำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวง เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ดังนั้น ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว จึงเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงด้วยคนหนึ่ง ข้อแตกต่างดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงฟังลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10189/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและอนาจาร: พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายเชื่อถือได้
จำเลยถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น บุคคลซึ่งมิใช่ผู้เสียหายสามารถกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดขึ้น และเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้ ดังนั้น ต. เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองเด็กจึงสามารถกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายได้ โดยไม่จำต้องอาศัยการมอบอำนาจจาก ภ. และ ฉ. แต่อย่างใดพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีได้ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว