พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยเป็นนายอำเภอสองพี่น้องมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว และมิได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่ ก. ที่ได้ทำการแก้ไขและสอดแทรกโครงการในร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยไม่มีอำนาจเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดีอาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดีอาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจใช้สิทธิแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้โดยอนุโลมไม่ได้ การที่ จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของ ห. โจทก์ร่วม ขอเข้ารับมรดกความของ ห. ซึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ ห. เข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของ ห. หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่าง ห. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะ ห. เป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีต่างผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งบัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของโจทก์ร่วมขอเข้ารับมรดกความของโจทก์ร่วมซึ่งถึงแก่ความตาย เท่ากับ จ. ขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมตาม มาตรา 29 เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดี
จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของโจทก์ร่วมขอเข้ารับมรดกความของโจทก์ร่วมซึ่งถึงแก่ความตาย เท่ากับ จ. ขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมตาม มาตรา 29 เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยการงัดแงะและการคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 ให้จำเลยคืนแหวนทองคำ กำไลทองคำและสร้อยคำทองคำหรือใช้ราคา 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าได้รับเงิน 40,000 บาท จากจำเลยเพื่อใช้ค่าเสียหายและค่าทรัพย์สินที่ไม่ได้คืนแล้ว ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนเป็นเงิน 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินแทนโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของตนเอง ผู้จัดการสาขามีอำนาจกระทำแทนโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ร่วม การที่จำเลยรับเงินจาก บ. ผู้ค้ำประกันการทำงานของ น. พนักงานโจทก์ร่วมที่ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีสาระสำคัญว่า บ. ได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมถือว่า บ. ได้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันครบถ้วน ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญากับ บ. อีกต่อไป เงินที่จำเลยรับไว้จาก บ. จึงเป็นของโจทก์ร่วม เพราะโจทก์ร่วมต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียก บ. ชำระเงินอีกไม่ได้ เนื่องจาก บ. อาจนำสัญญาดังกล่าวมาแสดงว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ร่วมทราบ หรือไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการเขตของโจทก์ร่วมตามระเบียบที่โจทก์ร่วมวางไว้ จะนำมาอ้างว่ามิใช่ตัวแทนของโจทก์ร่วมหาได้ไม่ หากเป็นการผิดระเบียบก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมต้องว่ากล่าวกับจำเลยและไม่ผูกพัน บ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต การที่จำเลยรับเงินไว้แทนโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของจำเลยโดยทุจริต โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์แทนผู้เสียหายโดยไม่มีตราสำคัญของผู้เสียหาย
ปัญหาเรื่องผู้เสียหายร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 ในบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ซึ่งเป็นคำร้องทุกข์มีข้อความระบุอย่างชัดแจ้งว่า พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหาย มิใช่ในฐานะส่วนตัว การร้องทุกข์แทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคลจะต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้ ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของผู้เสียหายระบุว่า พ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียวและไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการว่าหากจะกระทำแทนผู้เสียหายจะต้องใช้ตราสำคัญของผู้เสียหายประทับด้วย ดังนั้น พ. จึงมีอำนาจดำเนินการหรือร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้โดยไม่จำต้องใช้ตราสำคัญของผู้เสียหายประทับลงในช่องลายมือชื่อผู้กล่าวหาในบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกจ์ด้วย ถือได้ว่า พ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแทนผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักทรัพย์มีสิทธิเป็นผู้เสียหายได้ แม้กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอน
คำว่า "ผู้เสียหาย" ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ทำมาหาได้จำกัดเฉพาะช่วงที่ผู้เสียหายยังมีชีวิต และการประเมินความรับผิดของจำเลยร่วม
ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง คือค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตาย แต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องยาเสพติดและทรัพย์สิน: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงโดยอ้างเรื่องยาเสพติดและสินบนเจ้าพนักงาน ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลย สืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้