คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้ยืมเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก เดิมและต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง เดิม และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลงลายมือชื่อไม่ตรงตามตำแหน่งผู้กู้ ยังคงเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้
เมื่อจำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง การที่จำเลยที่ 2ซึ่งในสัญญาตอนต้นระบุว่าเป็นผู้กู้ลงลายมือชื่อในช่องพยานและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้โดยไม่มีชื่อเป็นผู้กู้ในตอนต้นของสัญญา หาทำให้เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรกไม่ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามข้อความในเอกสารดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องกู้ยืมเงินไม่เคลือบคลุมและไม่ขาดอายุความ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าข้าว และจำเลยประกอบกิจการโรงสีข้าวมีธุรกิจการค้าต่อกัน จำเลยได้ยืมเงินโจทก์จำนวน 362,729.50 บาท ตามหลักฐานการกู้ยืมท้ายฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า เหตุใดโจทก์จึงยอมให้จำเลยกู้เงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้กำหนดเวลาชำระเงินคืน และเหตุใดจึงมิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ไม่จำต้องบรรยายในฟ้องอย่างใด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดนำสืบภายหลังได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินไว้ จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์วันที่ 31 กรกฎาคม2518 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องกู้ยืมเงินไม่เคลือบคลุม และไม่ขาดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าข้าวและจำเลยประกอบกิจการโรงสีข้าวมีธุรกิจการค้าต่อกัน จำเลยได้ยืมเงินโจทก์จำนวน 362,729.50 บาท ตามหลักฐานการกู้ยืมท้ายฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า เหตุใดโจทก์จึงยอมให้จำเลยกู้เงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้กำหนดเวลาชำระเงินคืน และเหตุใดจึงมิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดนำสืบภายหลังได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดวันชำระเงินไว้ สิทธิเรียกร้องที่จะให้ชำระเงินคืนเริ่มนับแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์วันที่ 31 กรกฎาคม 2518 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 10 ปีไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน หนังสือรับสภาพหนี้เพียงพอ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' โดยตรง
คำว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 นั้น กฎหมายมิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีใจความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์จำนวน 19,780 บาท จำเลยรับจะชดใช้เงินให้แก่โจทก์กับมีลายมือชื่อจำเลยในฐานะลูกหนี้ลงไว้มาแสดงและมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอธิบายได้ว่าหนี้เงินจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินจำนวนเท่าใด จากการซื้อสินค้าเชื่อจำนวนเท่าใดก็ถือได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิม
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยขอกู้ยืมเงินผู้เสียหาย โดยจำเลยออกเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงเอาเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมอบให้จำเลย แสดงให้เห็นว่า ก่อนจำเลยออกเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหายนั้นจำเลยกับผู้เสียหายมิได้มีหนี้ต่อกัน การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง การกู้ยืมเงินที่ดิน และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคืน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลย ระบุว่านับแต่วันทำสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อคืนจำเลยยินดีจะขายคืนให้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินกู้ยืมผ่านตัวแทน: หลักฐานการรับชำระหนี้ที่ลงลายมือชื่อตัวแทนเพียงพอตามกฎหมาย
โจทก์ให้ ว. ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยเพื่อชำระหนี้โจทก์ เมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว.ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินมาแสดงจึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้ยืมเงินมาแสดง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการใช้เงินกู้ยืมโดยตัวแทน: หลักฐานใบมอบฉันทะถอนเงินเพียงพอตามกฎหมาย
โจทก์ให้ ว. เป็นผู้ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ จึงถือว่า ว. เป็นตัวแทนโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว.ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินเอกสารหมาย ล.1 มาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้ยืมเงินมาแสดง ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แล้ว
of 35