คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อมีการหักเงินค่าปรับไว้แล้ว
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าเหล็กแผ่นทำแบบก่อสร้าง: การพิจารณาว่าเป็นค่าลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
โจทก์ซื้อเหล็กแผ่นมาใช้ทำแบบในการก่อสร้าง ซึ่งโดยสภาพเหล็กแผ่นเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย เมื่อนำมาใช้ทำแบบในการก่อสร้างย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้งและมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าเหล็กแผ่นจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การก่อสร้างกีดขวางทางภารจำยอม แม้ได้รับอนุญาต ก็สามารถถอนได้หากไม่จำเป็นต่อการใช้ภารจำยอม
ทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทเพราะมิใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอม การที่เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท การอนุญาตหาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิม จะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดข้อบัญญัติ: การเว้นที่ว่างด้านหลังอาคาร
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารด้านหลังตึกแถวจนไม่มีที่ว่างด้านหลังตึกแถว แม้ที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวจะอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์อีกแปลงหนึ่ง และได้เว้นพื้นที่ด้านหลังทาวน์เฮาส์ไว้กว้าง 2 เมตรแล้ว ก็ถือว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวโดยมิได้เว้นที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมผิดข้อบัญญัติดังกล่าวออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างตึกแถวผิดแบบและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร จำเป็นต้องรื้อถอน
ทาวน์เฮาส์เป็นห้องแถวหรือตึกแถวตามความหมายของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ด้วย จำเลยได้ซื้อที่ดินที่จัดสรรสำหรับปลูกสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์รวม 3 โฉนด โดยที่ดินที่จัดสรรไว้สำหรับปลูกตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์อยู่ด้านหน้าติดถนนและมีที่ดินเว้นไว้เป็นทางเดินหลังอาคารกว้าง 4 เมตร ส่วนที่ดินสำหรับปลูกทาวน์เฮาส์อยู่ด้านหลังที่ดินปลูกตึกแถวมีที่ดินเว้นไว้เป็นทางเดินด้านหลังกว้าง 2 เมตรดังนั้น เมื่อปลูกตึกแถวและทาวน์เฮาส์ลงในที่ดินโดยหันหลังเข้าหากันแล้วจึงมีที่ดินเว้นไว้เป็นทางเดินด้านหลังระหว่างตึกแถวและทาวน์เฮาส์กว้าง 6 เมตร การที่จำเลยก่อสร้างตึกแถวลงในที่ดินโดยต่อเติมความยาวของตึกแถวด้านหลังออกไปอีก 4 เมตร ปกคลุมที่ดินที่เป็นทางเดินด้านหลังกว้าง 4 เมตร จึงต้องถือว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวมิได้เว้นที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรตามข้อ 76(4) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมผิดข้อบัญญัติดังกล่าวออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม & สิทธิยึดหน่วงสัญญาค้ำประกัน กรณีพิพาทสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นเพิ่มเติมจากประเด็นที่กำหนดไว้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าประเด็นที่โจทก์ขอเพิ่มเติมรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชี้ไว้แล้วไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมอีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำร้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม ไม่มีข้อความโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบ ถือว่าโจทก์มิได้โต้แย้งประเด็นเรื่องนี้ไว้ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะสร้างทางรถไฟเสร็จตามสัญญารับเหมาก่อสร้างและมีสิทธิเบิกเงินค่าก่อสร้างจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ชำระเงินค่าวัสดุที่เบิกจากจำเลยและค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ชำระถือว่ายังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิยึดถือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันความเสียหายไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์เนื่องจากหนี้ของจำเลยมีข้อโต้แย้งและมีจำนวนไม่แน่นอน แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องนี้ไว้ เนื่องจากจำเลยมิได้ให้การหรือฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระหนี้เงินค่าวัสดุที่ติดค้างโดยการหักกลบลบหนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการก่อสร้างกำแพงบนที่ดินตนเอง และสิทธิในการใช้ทางออกของที่ดินแปลงอื่น
การที่จำเลยและจำเลยร่วมสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวในที่ดินของจำเลยเอง มิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลมหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของอสังหา-ริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนกำแพงดังกล่าว
จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้กำหนดแผนผังแบ่งแยกที่ดินแต่ละแปลงให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่งโจทก์ก็สามารถใช้ที่ดินทางทิศใต้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทาง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากโจทก์หรือไม่แล้ววินิจฉัยว่า ถ้าโจทก์ต้องผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะในทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของโครงการก่อสร้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย หากไม่ได้ควบคุมดูแลการก่อสร้างโดยตรง
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการก่อสร้างอาคาร แต่จำเลยไม่ได้ควบคุมและสั่งการในการก่อสร้าง เพราะได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นเป็นผู้ก่อสร้างและควบคุมดูแลการก่อสร้าง เมื่อความเสียหายเกิดจากการก่อสร้าง โจทก์จะต้องไปเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้างไม่ใช่จากจำเลย เพราะจำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311
of 31