คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะซื้อขายและขอบเขตการนำสืบพยาน การนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติมจากเอกสารสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ 4 ว่าในการจะซื้อจะขาย ผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อ ถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อ ถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ ค่าขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดออกโฉนดใหม่ ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่า การขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หาได้เป็นการนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 94 (ข)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิมและขอบเขตสัญญาซื้อขาย
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนน ต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง กับชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัว ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรก มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 (1) (2) ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการขอวิธีการชั่วคราวต้องสอดคล้องกับประเด็นข้อพิพาทตามคำร้อง
ประเด็นตามคำร้องของผู้คัดค้านมีเพียงว่า ผู้ร้องสมควรถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านฎีกาขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวโดยให้ผู้ร้องหยุดกระทำการขัดขวาง ขับไล่ ห้ามผู้คัดค้านกรีดยางพาราในที่พิพาท และห้ามผู้ร้องกรีดยางพาราในที่พิพาทโดยวิธีใช้ยาเร่งน้ำยางจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการขอใช้วิธีการชั่วคราวนอกประเด็นตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตประเด็นข้อพิพาท: การกำหนดประเด็นครอบคลุมข้อโต้แย้งทั้งหมด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้างทำของตามฟ้องเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหายตามฟ้องแย้งหรือไม่ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงข้อความที่ว่า 1.โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา 2.จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด และ 3.โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองตามฟ้องแย้งหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อความที่จำเลยทั้งสองประสงค์ให้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมแล้ว จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแก้ไขประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของพนักงานภายในองค์กรยังคงอยู่ในกรอบคำฟ้องเดิม
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตหนังสือมอบอำนาจ: อำนาจฟ้องจำเลยเพิ่มเติม
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รวมตลอดถึงผู้อื่นที่อาจขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังถ้าหากมีด้วย หมายความว่านอกจากโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วยังมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลอื่นที่อาจเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังได้ด้วย ดังนั้น ธ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้องตามหนังสือมอบอำนาจ: รวมถึงจำเลยร่วมที่อาจถูกเรียกเข้ามาในภายหลัง
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3รวมตลอดถึงผู้อื่นที่อาจขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังถ้าหากมีด้วยหมายความว่านอกจากโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3แล้วยังมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลอื่นที่อาจเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังได้ด้วยดังนั้น ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่4ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี: การอุทธรณ์ต้องไม่เกินเลยจากข้อที่ได้ว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
ในชั้นบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้วนั้น เมื่อคำแถลงของโจทก์ระบุถึงความเสียหายที่จำเลยซ่อมแซมตึกแถวผิดไปจากแบบแปลนมาเพียง 4 รายการการที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายอื่นนอกเหนือไปจากความเสียหายที่ระบุมาในคำแถลงแม้จะเป็นการนำสืบตามฟ้อง แต่ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำแถลงในชั้นบังคับคดี อุทธรณ์ในความเสียหายอื่นของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์จำกัดขอบเขตตามคำแถลงในชั้นบังคับคดี การอุทธรณ์ความเสียหายเพิ่มเติมถือเป็นการอุทธรณ์นอกเหนือข้อที่ว่ากล่าวแล้ว
ในชั้นบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้วนั้นเมื่อคำแถลงของโจทก์ระบุถึงความเสียหายที่จำเลยซ่อมแซมตึกแถวผิดไปจากแบบแปลนมาเพียง4รายการการที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายอื่นนอกเหนือไปจากความเสียหายที่ระบุมาในคำแถลงแม้จะเป็นการนำสืบตามฟ้องแต่ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำแถลงในชั้นบังคับคดีอุทธรณ์ในความเสียหายอื่นของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการล้างมลทินทางวินัย: ไม่ลบล้างพฤติการณ์กระทำผิดเดิม
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มาตรา5ตอนท้ายที่ระบุว่าโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆหมายความเพียงว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้นหาได้หมายความว่าความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยลบล้างไปด้วยไม่ กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ปลดโจทก์ออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาพระราชบัญญัติล้างมลทินฯดังกล่าวมีผลเพียงให้ถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้นแต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่นๆไม่ได้ถูกลบล้างไปด้วยการที่คณะกรรมการช่างรังวัดเอกชนเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชนฯมาตรา19(7)ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียจึงชอบแล้ว
of 66