พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องโบนัสยังไม่ผูกพัน จำเป็นต้องมีขั้นตอนดำเนินการเพิ่มเติม
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้ บังคับกัน ทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า 'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผล ใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาและการมีอำนาจฟ้องขับไล่ ต้องพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บันทึกการประชุมของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลที่กระทำต่อหน้าปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ระบุให้จำเลยเช่านาทำต่อไปอีกเพียง 1 ปี นั้น ไม่ถือว่าการเช่านาของจำเลยสิ้นสุดก่อนกำหนดระยะเวลาการเช่านา ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 31(3)เพราะมติที่ประชุมดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการมิได้มีความหมายว่าจำเลยตกลงเลิกการเช่านา ทั้งมิได้กระทำ ต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ดังนั้น แม้ จำเลยจะลงลายมือชื่อในบันทึกการประชุมดังกล่าวต่อหน้าปลัดอำเภอ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกการเช่านาต่อกัน นอกจากนี้การที่โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลนั้น ก็ปรากฏว่าคณะกรรมการยังมิได้พิจารณาการบอกเลิกการเช่าตามหนังสือดังกล่าวตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และ 36 ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเสนอคดีต่อศาล การเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ และ เรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องต้องส่งไปยังภูมิลำเนา หากเลยขั้นตอนถือเป็นการส่งที่ไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ได้ระบุที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยไว้ชัดแจ้ง แต่แทนที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์กลับขอให้ส่งด้วยวิธีอื่นแทนซึ่งเป็นการเลยขั้นตอนของการส่งตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยขาดนัด
กรณีตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับส่งคำคู่ความหรือเอกสารใดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งในคดีก่อน แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและในเรื่องเดียวกันก็ตาม เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเสร็จสำนวนไปจากศาลแล้ว โจทก์จะนำมาใช้ในคดีใหม่อีกหาได้ไม่
กรณีตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับส่งคำคู่ความหรือเอกสารใดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งในคดีก่อน แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและในเรื่องเดียวกันก็ตาม เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเสร็จสำนวนไปจากศาลแล้ว โจทก์จะนำมาใช้ในคดีใหม่อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาต้องทำตามขั้นตอน หากไม่จดบันทึกคำสั่งเป็นหลักฐาน สิทธิอุทธรณ์ฎีกาจึงไม่สมบูรณ์
หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งระหว่างพิจารณาด้วยวาจา และจำเลยเห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านคำสั่งเพื่อให้ศาลชั้นต้นจดคำสั่ง และสภาพแห่งการคัดค้านลงไว้ในรายการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 26 จำเลยอ้างมาในอุทธรณ์ว่า ในระหว่างการพิจารณาจำเลยนำเอกสารถามค้านต่อโจทก์และขอส่งเอกสารนั้นต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นไม่รับและไม่อนุญาตให้จำเลยถามค้านเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อไม่มีคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นหลักฐาน ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีคำสั่งของศาลชั้นต้นในอันที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทน และการพิจารณาความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายแรงงานก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้
แม้ลูกจ้างจะมีสิทธินัดหยุดงานได้ เพราะเป็นวิธีเดียวที่ลูกจ้างสามารถใช้เป็นฐานอำนาจในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างแต่จะต้องอยู่ในกรอบบังคับของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิได้เสมอไป สิทธินัดหยุดงานจะเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้ เมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน แล้วนายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงกันได้โดยถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้นเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิ นัดหยุดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเอกสารต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความแพ่ง หากไม่ปฏิบัติตาม เอกสารนั้นไม่รับฟัง
ผู้ร้องสอดมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามเอกสารหมายร.2 อ้างเป็นพยานเอกสาร แต่มิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไม่ยอมรับความถูกต้องไว้แล้วเอกสารฉบับนี้จึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการยึดทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน
คำพิพากษาตามยอมมีความว่า เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีจากจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระแทนภายใน 6 เดือนดังนี้ หมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ที่โจทก์จะยึดมาขายทอดตลาดได้โจทก์จึงจะยึดทรัพย์จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1,2 พร้อมกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนสุทธิยกมาเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเป็นไปตามขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 ของแต่ละปี
ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยเวลาบัญชีปีปัจจุบันซึ่งยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) นั้นหมายความว่าผลขาดทุนที่ยกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ แต่ต้องยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ดังนั้น โดยวิธีการทางบัญชีดังกล่าวเมื่อโจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2513 โจทก์ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 ให้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด. 5 ข้อ 1 (4) เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 แต่ถ้าไม่มีกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในรอบปี พ.ศ. 2512 โจทก์ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่โจทก์จะเอาผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2516 ไม่ได้