พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินโดยมิได้มีอาชีพค้าอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์มีอาชีพรับราชการครู มิได้มีอาชีพหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด ที่ดินที่โจทก์ขายไปนี้ โจทก์ได้รับยกให้จากน้องของโจทก์เมื่อปี 2522 โดยโจทก์มิได้ลงทุนซื้อหามาเอง การที่โจทก์ให้บริษัท อ. เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการน้ำมันก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ตามปกติในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นให้ผู้อื่นเช่าอีกอันจะเข้าลักษณะของการประกอบอาชีพหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ การที่โจทก์ขายที่ดินไปก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการขายเพื่อจะซื้อที่ดินแปลงใหม่แล้วนำมาให้เช่าหรือหากำไรอีกทอดหนึ่งแต่อย่างใด แม้ที่ดินของโจทก์จะมีราคาสูงแต่ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไปเพราะราคาที่ดินย่อมขึ้นอยู่กับสภาพ ทำเลที่ตั้งและความพึงพอใจของคู่สัญญาเป็นตัวกำหนด จากพฤติการณ์ดังกล่าว การที่โจทก์ขายที่ดินไปยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินโดยไม่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) นั้น ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาก่อนว่าการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ ถ้าใช่ถึงจะต้องพิจารณาต่อไปว่า การขายนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ให้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
โจทก์รับราชการครู มิได้มีอาชีพหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินที่โจทก์ขายไปโจทก์ได้รับยกให้จากน้องสาวตั้งแต่ปี 2522 โดยโจทก์มิได้ลงทุนซื้อหามาเอง การที่โจทก์ให้บริษัท อ. เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการน้ำมันก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ตามปกติในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน แม้ที่ดินของโจทก์จะมีราคาสูงแต่ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป เพราะราคาที่ดินย่อมขึ้นอยู่กับสภาพ ทำเลที่ตั้งและความพึงพอใจของคู่สัญญาเป็นตัวกำหนด การที่โจทก์ขายที่ดินไปยังถือไม่ได้ว่าเป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)
โจทก์รับราชการครู มิได้มีอาชีพหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินที่โจทก์ขายไปโจทก์ได้รับยกให้จากน้องสาวตั้งแต่ปี 2522 โดยโจทก์มิได้ลงทุนซื้อหามาเอง การที่โจทก์ให้บริษัท อ. เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการน้ำมันก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ตามปกติในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน แม้ที่ดินของโจทก์จะมีราคาสูงแต่ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป เพราะราคาที่ดินย่อมขึ้นอยู่กับสภาพ ทำเลที่ตั้งและความพึงพอใจของคู่สัญญาเป็นตัวกำหนด การที่โจทก์ขายที่ดินไปยังถือไม่ได้ว่าเป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขายที่ดินเกษตรกรรมภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายใช้ในการเกษตรกรรม แม้ได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเกษตรกรรมภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร แม้มีบทบัญญัติที่อาจตีความได้
บทบัญญัติใน พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) ฯ มาตรา 3 บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) อนุมาตราแต่ละอนุมาตรามีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดย พ.ร.ฎ.ซึ่งการขายที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายที่ดินที่ผู้ขายมีไว้ประกอบกิจการนั้นเอง ไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร การตีความกรณีการขายที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม ซึ่งไม่ถือเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามาตรา 3 (5) แห่ง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว แต่หากขายไปภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งที่ดินจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ย่อมเป็นการแปลขยายความ มาตรา 3 (6) ให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ถือเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (5) กลายมาเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (6) อีก อันเป็นการแปลขยายความในทางเป็นผลร้ายแก่ผู้ขายที่ดินที่ตนใช้ในเกษตรกรรม แม้ทำให้รัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี แต่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์และส่วนได้เสียของผู้ขายซึ่งได้ใช้ที่ดินนั้นในการเกษตรกรรม ทั้งตามมาตรา 3 (6) บัญญัติไว้เพื่อการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามาตรา 3 (1) ถึง (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรก็ยังมีข้อยกเว้นอีกหลายกรณีด้วยแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ที่ดินมา มิได้ถือเป็นการขายอันเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเช่า ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเรื่องก่อน กำหนดให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และจำเลยตกลงแบ่งเงินค่าเช่าที่เกิดจากการให้เช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในอัตรา 40 ส่วน ใน 100 ส่วน ของค่าเช่าที่เกิดจากการให้เช่าจากบริษัท ป. หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมตลอดไปจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย ก่อให้เกิดหนี้ผูกพันระหว่างกันที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนด แม้ไม่มีข้อกำหนดใดห้ามมิให้จำเลยขายที่ดินพิพาทในอันที่โจทก์จะนำมาใช้อ้างว่าจำเลยกระทำผิดข้อสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และจำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้อย่างอิสระก็ตาม แต่เมื่อในเวลาที่จำเลยขายที่ดินพิพาทนั้นโจทก์ยังไม่ถึงแก่ความตายอันเป็นเงื่อนไขซึ่งเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงที่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งของเงินค่าเช่าจนกว่าจะถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง