พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล และการชดใช้ค่าเสียหายตามข้อตกลง แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงตามความเห็นศาลฎีกา
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และสิทธิสามารถตกทอดไปยังทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก.และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช.มารดาของโจทก์ ก.จำเลย และ ฉ.จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช.จำเลย และ ก.ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช.เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. การที่ ช.ได้จ่ายเงินให้แก่ ฉ.เช่นนี้ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย เพราะหากจำเลยไม่ยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ ช.จะยินยอมจ่ายค่าตอบแทนการผ่านที่ดินให้แก่ ฉ.เนื่องจากข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช.มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของ ช.โดยแท้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมสิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช.ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภารจำยอมแม้ไม่จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและตกทอดสู่ทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก. และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช. มารดาของโจทก์ ก. จำเลย และ ฉ. จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช. จำเลย และ ก. ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช. เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย และจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช. มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แม้ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของช. โดยแท้ เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม สิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช. โจทก์ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการจ้างงาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากมีขอบเขตจำกัดและไม่ปิดกั้นการประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานมีว่า ในระหว่างการจ้างงานหรือภายใน 5 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงจำเลยจะต้องไม่ทำงานให้แก่บริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หรือมีหุ้นในบริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ และระบุจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามจำเลยประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้อย่างเด็ดขาด และจำเลยสามารถที่จะประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงและนอกขอบเขตพื้นที่ที่ห้าม ลักษณะของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำตามที่กำหนดโดยความสมัครใจของคู่กรณีเช่นนี้ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ ย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หลังจากโจทก์เลิกจ้างแล้วภายในกำหนดเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งจำเลยต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
จำเลยไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หลังจากโจทก์เลิกจ้างแล้วภายในกำหนดเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งจำเลยต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การสูญหาย/เสียหายของสินค้า, ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่ง, การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ กรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลย มิใช่เป็นการฟ้องสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าเครื่องดับเพลิงที่โจทก์รับประกันภัยเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการและกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและกฎหมาย
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการแจ้งความใด ๆ ให้คู่กรณีทราบ ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับตามข้อตกลงที่ให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการ กำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 (3)
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการ กำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องบังคับโอนที่ดินของผู้ชำระบัญชีบริษัทตามข้อตกลงก่อตั้งบริษัทและการอายัดที่ดิน
จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ จ.ต้องโอนให้บริษัท อ. ตามข้อตกลงในการก่อตั้งบริษัท อ. แต่ จ.ถึงแก่กรรมก่อนที่จะโอนที่ดินให้บริษัทตามข้อตกลงจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ.ได้ฟ้องโจทก์ให้โอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทและยังไม่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคแรก ในอันที่จะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจ.ดังกล่าวมาเป็นของบริษัท อ.ตามข้อตกลงก่อตั้งบริษัท จำเลยจึงมีสิทธิขออายัดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน แม้สัญญาอนุญาตให้ปรับขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญา จะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความ เหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญา คืออัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 13.5 ต่อปี หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัด หรือผิดเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออก โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด จะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัด โจทก์เองก็ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ – การปรับขึ้นดอกเบี้ย – ข้อตกลงในสัญญา – ดอกเบี้ยผิดนัด – การตีความสัญญา
ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญาจะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญาแบบอัตราลอยตัว หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อนทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัดโจทก์ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036-9262/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเลิกจ้างไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงจ่ายโบนัส แม้มีการระงับกิจการแต่ต้องจ่ายโบนัสตามข้อตกลง
จำเลยอุทธรณ์ว่า การเลิกจ้างพนักงานของจำเลย เป็นการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดเพราะจำเลยได้รับคำสั่งจากกระทรวงการคลังให้ระงับการดำเนินกิจการเป็นการถาวร เมื่อจำเลยถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการแล้วก็ไม่มีเหตุจำต้องจ้างพนักงานทั้งหมด หากจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตเหตุใดเมื่อเลิกจ้างพนักงานแล้วจึงไม่จ้างพนักงานให้กลับเข้ามาทำงานทั้งหมด แต่จำเลยเลือกจ้างเพียงบางตำแหน่งเพื่อให้เข้ามาจัดการส่งมอบงานให้แก่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงเป็นการเลิกจ้างโดยสุจริต คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ด ก่อนถึงวันจ่ายค่าจ้างและเงินโบนัสเพียง 1 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัส ในวันเดียวกันนั้นเองหลังจากเลิกจ้างแล้วจำเลยยังว่าจ้างพนักงานรวมทั้งโจทก์บางคนกลับเข้าทำงานอีก พฤติการณ์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ดโดยไม่สุจริต อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดเป็นนโยบายเอาไว้ว่าจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานภายในสิ้นปีของทุก ๆ ปีเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงาน ทั้งนี้พนักงานจะต้องมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงวันจ่ายเงินโบนัส โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยฉบับนี้มิได้มีเงื่อนไขระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานต่อเมื่อจำเลยดำเนินกิจการมีกำไร ดังนี้ การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวจึงหมายถึงจำเลยตกลงจ่ายเงินแก่พนักงานเพื่อเป็นรางวัลหรือความดีความชอบที่พนักงานนั้น ๆ อยู่ทำงานกับจำเลยจนถึงวันจ่ายเงินโบนัส
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดเป็นนโยบายเอาไว้ว่าจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานภายในสิ้นปีของทุก ๆ ปีเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงาน ทั้งนี้พนักงานจะต้องมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงวันจ่ายเงินโบนัส โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยฉบับนี้มิได้มีเงื่อนไขระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานต่อเมื่อจำเลยดำเนินกิจการมีกำไร ดังนี้ การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวจึงหมายถึงจำเลยตกลงจ่ายเงินแก่พนักงานเพื่อเป็นรางวัลหรือความดีความชอบที่พนักงานนั้น ๆ อยู่ทำงานกับจำเลยจนถึงวันจ่ายเงินโบนัส