พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย การวินิจฉัยประเภทคดีและการคำนวณค่าขึ้นศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์มีหนังสือยืมยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวเท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ เท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแพ่งเนื่องจากคดีล้มละลาย และการขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์ ระหว่างอุทธรณ์จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เข้ามาว่าคดีแทนจำเลยศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ในคดีล้มละลาย ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ มีผลให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ศาลฎีกายังไม่มีอำนาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: หนี้เดิมไม่สามารถนำมาฟ้องล้มละลายได้อีก
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง จึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันตนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง มีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีแพ่งผูกพันคดีล้มละลาย หนี้เดิมไม่อาจนำมาฟ้องซ้ำได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรกเมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันคนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องมีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4118/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีล้มละลาย แม้จำเลยอ้างหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัวมีผล
เมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดชำระหนี้ 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายจำเลยจะโต้เถียงว่าไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ต้องถือว่าเป็นหนี้ที่แท้จริงและถูกต้อง เมื่อไม่สามารถบังคับคดีเนื่องจากสืบหาทรัพย์สินของจำเลยไม่พบ และโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30 วัน จำเลยไม่ชำระจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาทเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนและจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและคดีล้มละลาย: สิทธิในการยึดทรัพย์และแบ่งส่วนของเจ้าหนี้
ที่ดินพิพาทมีลูกหนี้เป็นเจ้าของรวม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิยึดมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 19,22(1) และ 109(1) แม้ผู้ร้องกับพวกเป็นเจ้าของรวมฝ่ายข้างมากเห็นว่าไม่ควรขายที่ดินพิพาททั้งแปลงก็จะนำบทบัญญัติมาตรา 1361 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินหรือโดยการขาย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทออกขายได้ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิเรียกขอแบ่งส่วนของตน ตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ระยะเวลาและผลกระทบต่อการสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 240
ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่
ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.