คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คนอนาถา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมฤดกและการฟ้องคดีโดยคนอนาถา เมื่อศาลยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถา คดีถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องและยื่นคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถานั้นเมื่อศาลสั่งยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว การร้องขอฟ้องอย่างคนอนาถาในครั้งนั้นก็เป็นอันหมดสิ้นไป โจทก์จะฟ้องหรือร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาใหม่ก็ต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ
มาตรา 23 ป.ม.แพ่งเป็นเรื่องขยายเวลา ส่วนอายุความมฤดกนั้น ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี และมาตรา 191 บัญญัติว่าอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นผู้ใดหาอาจจะขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่
เจ้ามฤดกตายเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2490 โจทก์มาร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในวันที 19 กรกฎาคม 2491 ศาลไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถา ในวันที่ 7 สิงหาคม 2491 ครั้นวันที่ 9 สิงหาคม 2491 โจทก์จึงได้นำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องชำระเมื่อเวลายืนคำฟ้องมาชำระต่อศาล ศาลจังรับฟ้องของโจทก์ใน+นั้น ดังนี้ต้องถือว่าคดีขายอายุความมฤดกแล้ว
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615-616/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล ศาลมีอำนาจสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วนได้
ศาลมีอำนาจสั่งให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนตาม ม.149 ได้
คู่ความมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาที่ศาลสั่งยกใหม่ได้ แม้ภายหลังกำหนดอายุความอุทธรณ์ 1 เดือนตาม ม.156 วรรคท้าย
การที่ศาลสั่งยกเว้นไม่ต้องวางเงินที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่าย และสั่งรับอุทธรณ์นั้นถือว่าเป็นการที่ศาลสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ดังนั้นการที่ผู้อุทธรณ์นำเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลไม่อนุญาตให้อนาถามาชำระต่อศาลตามคำสั่งเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนก็ไม่ทำให้คดีนั้นขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภายในกำหนด + ขอเป็นคนอนาถาภายหลัง: ศาลรับได้ แม้เสียค่าธรรมเนียมเกินกำหนด
คู่ความยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดอายุความอุทธรณ์หนึ่งเดือน พร้อมด้วยยื่นคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถา หลังจากนั้น 7 วันก็ขอเสียค่าธรรมเนียมและวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นนี้ ศาลสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาได้ แม้วันเสียค่าธรรมเนียมและวางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วจะเกินอายุความอุทธรณ์หนึ่งเดือนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดีการ่วมกับสถานะคนอนาถา ต้องพิจารณามูลคดีควบคู่ไปด้วย
การขอว่าความหย่างคนอนาถาชั้นดีกานั้น นอกจากจะพิจารนาได้ความว่าจำเลยเปนคนอนาถาแล้วจะต้องพิจารนาว่าคดีของจำเลยมีมูลที่จะชนะได้หรือไม่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: การขอว่าความอย่างคนอนาถา และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ฟ้องความอย่างคนอนาถานั้น นับว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาทับสัตย์ศาลล่างโจทก์จะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.4 อ้าง ฎีกาที่ 663/2477

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จในคดีคนอนาถา ศาลพิพากษาลงโทษแต่รออาญา
หญิงร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาฟ้องเรียกทรัพย์จากคนที่เคยเป็นสามี แต่ได้ความว่าร้องเท็จแลเบิกความเท็จดังนี้ มีเหตุที่ควรรออาญาเพียงไร วิธีพิจารณาความอาญาจำเลยในคดีที่ถูกฟ้องอย่างคนอนาถา มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ที่ขอว่าความอย่างคนอนาถานั้นในทางอาญาฐานเจ้งความเท็จแลเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การ, อํานาจฟ้อง, การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ มีผลเท่ากับเป็นคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อศาลพิพากษาแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคท้าย แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวอาจมีผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต้องเป็นอันถูกยกไป จึงอยู่ในบังคับที่ผู้อุทธรณ์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปรากฏว่าในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยังได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษามาพร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ในเวลาต่อมา อันมีผลทำให้จำเลยไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการอุทธรณ์คำพิพากษา ซึ่งรวมถึงเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องนำมาวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 ประกอบมาตรา 229 การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่างหากจากอุทธรณ์คำพิพากษา โดยยอมชำระค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ไม่อาจแปลว่าจำเลยประสงค์ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเฉพาะในการยื่นฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างเดียว อันจะมีผลให้จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่ง
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขตามคำร้องของจำเลยข้อแรกที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดๆ และไม่เคยกู้เงินและรับเงินใดๆ จากโจทก์ที่ฟ้องในคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะทำคำให้การต่อสู้คดี จึงนับว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไข ทั้งมิใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะขอแก้ไขภายหลังวันสืบพยานไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ได้
ส่วนข้อความที่จำเลยขอเพิ่มเติมต่อมาที่ว่าโจทก์จดทะเบียนใหม่โดยยังไม่มีประกาศลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ทำให้กรรมการโจทก์ไม่มีอำนาจกระทำนิติกรรม มีผลให้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงสิ้นผลไป ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในส่วนนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้สืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้วโดยคู่ความต่างก็ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจนสิ้นกระแสความแล้ว และศาลชั้นต้นได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ยกขึ้นอ้างเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นยกคำร้องในส่วนนี้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย คดีย่อมไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและยกคำร้องคนอนาถา ผู้ร้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลเพื่อให้ศาลทำการไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นคนยากจนจริงโดยผู้ร้องขอให้พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการพิจารณาคดีในวันนัดไต่สวนออกไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลา 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
แม้ทนายผู้ร้องจะอ้างความเจ็บป่วยของบิดาเป็นเหตุให้มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้ แต่ก็เป็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ปรากฏเหตุสมควรที่จะทำให้เห็นได้ว่าทนายผู้ร้องต้องไปเฝ้าดูแลด้วยตนเองถึงขนาดที่จะมาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้แต่อย่างใด ประกอบกับผู้ร้องและพยานมิได้มาศาล พฤติการณ์ของทนายผู้ร้องและผู้ร้องส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานเข้าทำการไต่สวนให้น่าเชื่อว่าผู้ร้องมีฐานะยากจนและยกคำร้องของผู้ร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและคำร้องดำเนินคดีอนาถา กรอบเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. และการพิจารณาพยานหลักฐาน
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาไต่สวนให้เห็นได้ว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า (เดิม) แต่มีกำหนดยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายใน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
เมื่อผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 1 เดือน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ และต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องไว้พิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง จึงไม่ชอบและไม่ทำให้คดีเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 13