พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: สัญญาเช่าและการซื้อขายที่ดินต้องมีหลักฐานชัดเจน การครอบครองแทนเจ้าของ
ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิครอบครองที่ดินซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากมีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจริง จำเลยก็น่าที่จะทำหลักฐานเป็นหนังสือว่าตนได้ตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทไว้แล้วเพื่อรักษาสิทธิของตนเองไว้ คงไม่ทำเพียงสัญญาเช่าอันเป็นการผูกมัดตนเองให้เสียหายผิดไปจากความเป็นจริง อีกทั้งเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตำบล ม. ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินพิพาท จำเลยก็ไม่ได้ยกความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยอ้างว่าได้ซื้อมาจากโจทก์ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการทำให้ไม่น่าเชื่อว่าได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และฟังได้ว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไปไม่อาจถือว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นยึดถือเพื่อตนไปยังโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แล้วได้ และจำเลยก็ไม่อาจยกเอาเรื่องการครอบครองของตนหลังจากนั้นขึ้นอ้างว่าเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งครอบครอง vs. ครอบครองแทน หากมิได้อ้างการครอบครองแทน ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองที่ดินพิพาทแทน จ. แล้วแย่งการครอบครองโดยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. ว่าไม่มีเจตนายึดที่ดินพิพาทแทน จ. ต่อไป คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. บิดาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ทั้งสอง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยโจทก์ทั้งสองมิได้แก้ฎีกาว่า ส. บิดาโจทก์ที่ 2 เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ จ. หรือบริษัท ร. แล้วโจทก์ที่ 2 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาจาก จ. จึงเป็นการครอบครองแทน จ. บิดาจำเลยด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีข้อห้ามโอน & การครอบครองแทนเจ้าของ: สิทธิเรียกร้อง & กรรมสิทธิ์
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน นับแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2553 และโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ภายในเวลาสิบปีตามข้อกำหนดห้ามโอนก็ตาม แต่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต่างรู้ว่าที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนและตกลงกันว่าจะโอนให้แก่กัน ณ สำนักงานที่ดินมะขาม ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 อันเป็นเวลาภายหลังพ้นข้อกำหนดห้ามโอนในวันที่ 30 สิงหาคม 2563 แล้วเช่นนี้ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทย่อมเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การที่จำเลยครอบครองดูแลทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2551 ก่อนที่โจทก์จะขายให้แก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทนั้นไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครอง มิใช่เป็นการครอบครองเพื่อตนเอง ตราบใดที่จำเลยมิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 การครอบครองที่ดินของจำเลยจึงเป็นการยึดถือแทนโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการถือสิทธิครอบครองเด็ดขาดเป็นของตนในฐานะเจ้าของไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเสร็จเด็ดขาดในระหว่างที่มีข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายอันเป็นการฝ่าฝืน ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงมีผลสมบูรณ์และบังคับกันได้ในลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขายอันเป็นบุคคลสิทธิ และเป็นเรื่องที่จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอาความแก่โจทก์ต่อไปตามบทบัญญัติว่าด้วยผลแห่งหนี้และสัญญา และเมื่อการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์เช่นนี้ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างอายุความการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ขึ้นยันแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044-4046/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองสินสมรสแทนกัน, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิในการเป็นเจ้าของรวมในที่ดิน, และอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 จัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันเป็นการอาศัยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์สามารถฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 1480 และหากศาลเพิกถอนนิติกรรมย่อมเกิดผลที่โจทก์สามารถร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารได้ตาม มาตรา 1475 การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นการวินิจฉัยที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี กรณีมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้และขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีก่อนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องนาง อ. เรียกโฉนดที่ดินคืน กรณีมิใช่เป็นโจทก์คนเดียวกัน ทั้งมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนอีกคดีแม้จะเป็นโจทก์คนเดียวกันฟ้อง แต่ที่ดินคนละแปลงกัน ประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่เรื่องเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเด็ดขาด จึงมิใช่การจัดการสินสมรสโดยมิชอบที่จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1475 ได้ โดยโจทก์มีสิทธิตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใดที่จะติดตามเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทได้
แม้คดีจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปทำนิติกรรมใด ๆ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับนาย พ. และนาย ช. หรือติดตามเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมย่อมกระทบถึงสิทธิของนาย พ. และนาย ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องนาย พ. และนาย ช. เป็นจำเลยด้วยผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 182/1 วรรคสอง แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงร่วมกับนาย ช. โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้และขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีก่อนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องนาง อ. เรียกโฉนดที่ดินคืน กรณีมิใช่เป็นโจทก์คนเดียวกัน ทั้งมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนอีกคดีแม้จะเป็นโจทก์คนเดียวกันฟ้อง แต่ที่ดินคนละแปลงกัน ประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่เรื่องเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเด็ดขาด จึงมิใช่การจัดการสินสมรสโดยมิชอบที่จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1475 ได้ โดยโจทก์มีสิทธิตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใดที่จะติดตามเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทได้
แม้คดีจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปทำนิติกรรมใด ๆ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับนาย พ. และนาย ช. หรือติดตามเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมย่อมกระทบถึงสิทธิของนาย พ. และนาย ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องนาย พ. และนาย ช. เป็นจำเลยด้วยผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 182/1 วรรคสอง แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงร่วมกับนาย ช. โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ได้