พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาที่ระบุความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือประมาท และการรับสารภาพความผิดฐานประมาท
ฟ้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือมิฉะนั้นก็กระทำผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทโดยชัดแจ้ง แสดงว่าฟ้องมีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาทประกอบกับฟ้องได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยกระทำเป็นท้องเรื่องมาครบถ้วนชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดแย้งกัน หรือเอาเปรียบจำเลย จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี เมื่อจำเลยรับสารภาพฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ก็ลงโทษจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 1780/2497และฎีกาที่ 86/2503). (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือประมาท และการรับสารภาพความผิดฐานประมาท
ฟ้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือมิฉะนั้นก็กระทำผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทโดยชัดแจ้ง แสดงว่าฟ้องมีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาท ประกอบกับฟ้องได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยกระทำเป็นท้องเรื่องมาครบถ้วนชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดแย้งกัน หรือเอาเปรียบจำเลย จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี เมื่อจำเลยรับสารภาพฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ก็ลงโทษจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 1780/2497 และฎีกาที่ 86/2503) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นคำท้าการสืบพยานในคดีพินัยกรรม: การพิเคราะห์พยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความชอบด้วยกฎหมายของพินัยกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ไว้ หากจำเลยจะมีพินัยกรรมของเจ้ามรดก พินัยกรรมก็ปลอม เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ ได้เสนอสำเนาพินัยกรรมมาท้ายคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยส่งต้นฉบับต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเพื่อโจทก์จะได้ตรวจดู โจทก์แถลงว่า ต้องสอบลายมือในพินัยกรรมจากผู้รู้ลายมือของผู้ทำพินัยกรรม แล้วคู่ความเลื่อนวันชี้สองสถานไป พอถึงวันชี้สองสถานครั้งที่ 2 คู่ความแถลงต่อศาลว่า คู่ความตกลงกันสืบประเด็นเดียวว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ที่ว่า 'พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่' ตามที่คู่ความตกลงกันหรือท้ากันสืบนี้ หมายความถึงประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันก่อนว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั่นเอง ถ้านายอ่อนได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้จริงโจทก์ก็แพ้คดีตามคำท้า แต่ถ้านายอ่อนไม่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ จำเลยก็แพ้คดีตามคำท้า ดังนั้นที่คู่ความนำสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ว่า นายอ่อนเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหมาย ล.1หรือไม่ จึงอยู่ในประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นคำท้าไม่ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นคำท้า มิใช่นอกประเด็นคำท้าเช่นเดียวกัน.การที่คู่ความแถลงท้ากันศาลจดประเด็นคำท้า ใช้คำว่า'พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่' นั้น ไม่ทำให้ประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกันมาก่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น เพราะคำว่า 'ชอบด้วยกฎหมาย'นี้ มีความหมายกว้างมาก การใดที่กฎหมายห้ามมิให้กระทำแต่ผู้ใดฝ่าฝืนไปกระทำการนั้นเข้า ต้องถือว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ได้บัญญัติถึงแบบของพินัยกรรมธรรมดาไว้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ถ้าผู้อื่นปลอมลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมลงในพินัยกรรม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย พินัยกรรมถือว่าทำขึ้นผิดแบบ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่พิเคราะห์ดูแต่ตัวพินัยกรรมอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ จะไม่มีทางทราบได้เลยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นคำท้าสืบพยานพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การวินิจฉัยพยานหลักฐานต้องพิจารณาความแท้จริงของลายมือชื่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ไว้ หากจำเลยจะมีพินัยกรรมของเจ้ามรดก พินัยกรรมก็ปลอม เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ ได้เสนอสำเนาพินัยกรรมมาท้ายคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยส่งต้นฉบับต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเพื่อโจทก์จะได้ตรวจดู โจทก์แถลงว่า ต้องสอบลายมือในพินัยกรรมจากผู้รู้ลายมือของผู้ทำพินัยกรรม แล้วคู่ความเลื่อนวันชี้สองสถานไป พอถึงวันชี้สองสถานครั้งที่ 2 คู่ความแถลงต่อศาลว่า คู่ความตกลงกันสืบประเด็นเดียวว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ที่ว่า "พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่" ตามที่คู่ความตกลงกันหรือท้ากันสืบนี้ หมายความถึงประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันก่อนว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั่นเอง ถ้านายอ่อนได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้จริงโจทก์ก็แพ้คดีตามคำท้า แต่ถ้านายอ่อนไม่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ จำเลยก็แพ้คดีตามคำท้า ดังนั้นที่คู่ความนำสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ว่า นายอ่อนเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหมายล.1หรือไม่ จึงอยู่ในประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นคำท้าไม่ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นคำท้า มิใช่นอกประเด็นคำท้าเช่นเดียวกันการที่คู่ความแถลงท้ากันศาลจดประเด็นคำท้า ใช้คำว่า"พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่" นั้น ไม่ทำให้ประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกันมาก่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น เพราะคำว่า "ชอบด้วยกฎหมาย"นี้ มีความหมายกว้างมาก การใดที่กฎหมายห้ามมิให้กระทำแต่ผู้ใดฝ่าฝืนไปกระทำการนั้นเข้า ต้องถือว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ได้บัญญัติถึงแบบของพินัยกรรมธรรมดาไว้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ถ้าผู้อื่นปลอมลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมลงในพินัยกรรม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย พินัยกรรมถือว่าทำขึ้นผิดแบบ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่พิเคราะห์ดูแต่ตัวพินัยกรรมอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ จะไม่มีทางทราบได้เลยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646-647/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยทางปกครองต้องถูกต้องตามกฎหมาย ศาลมีอำนาจพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย แม้มีกฎหมายให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่
กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยเป็นที่สุดนั้นหมายความว่าคำวินิจฉัยนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจมีคำสั่งและมีคำวินิจฉัยเช่นนั้น มิได้หมายความว่า แม้คำสั่งคำวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุด นำมาฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ไปด้วย ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่า คำสั่งคำวินิจฉัยนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ ศาลย่อมไม่รื้อฟื้นข้อเท็จจริงหรือดุลพินิจที่เจ้าหน้าที่รับฟังหรือวินิจฉัยมา โดยถือว่าการใช้ดุลพินิจก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การจะฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจไปในทางใด จะถือว่าเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่การฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต อันถือได้ว่าการวินิจฉัยเช่นนั้นไม่เป็นการชอบด้วยกฎหมายพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 มาตรา 12 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้ออาคารได้ ถ้าหากชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ และกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นก็เห็นว่าไม่อาจแก้ไขได้ สภาพน่ารังเกียจหรือไม่นี้กฎหมายให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและกรรมการลงความเห็นมิได้ให้ถือตามข้อเท็จจริงการที่มีอาคารของโจทก์ที่เป็นไม้ซึ่งปลูกสร้างมาตั้ง 15 ปีแล้ว ปะปนอยู่กับอาคารซึ่งล้วนแต่เป็นตึกแถวสองชั้นทั้งนั้นในถนนแถวเดียวกันเช่นนี้ความเห็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารของโจทก์อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ จึงเป็นความเห็นที่ชอบพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 มาตรา 12 มิได้บัญญัติบังคับว่าต้องจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่ในอาคารที่สั่งให้รื้อนั้นเสมอไปทุกราย หากบุคคลเหล่านี้มีสถานที่อยู่ในที่แห่งอื่นแล้วก็ไม่จำต้องหาที่อยู่ให้ใหม่ มูลเหตุที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของรื้ออาคารอยู่ที่ว่าอาคารนั้นชำรุดทรุดโทรมอยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ส่วนการจัดหาที่อยู่ให้ใหม่นั้นเป็นเหตุที่จะปฏิบัติกันได้ในภายหลัง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้จดแจ้งเรื่องการหาที่อยู่ให้ใหม่ลงไปในคำสั่งให้รื้อถอนอาคารด้วยนั้นหาทำให้คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่มิชอบไม่
การหาที่อยู่ให้ใหม่ตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด นี้ก็เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกรื้ออาคารชั่วคราวเท่านั้น จะหวังให้มีสภาพและความเป็นอยู่เหมือนอย่างอาคารเดิมทุกอย่างไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การหาที่อยู่ให้ใหม่ตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด นี้ก็เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกรื้ออาคารชั่วคราวเท่านั้น จะหวังให้มีสภาพและความเป็นอยู่เหมือนอย่างอาคารเดิมทุกอย่างไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการจดทะเบียนทำประโยชน์ก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
โจทก์ได้รับตราจองซึ่งตราว่า "ทำประโยชน์แล้ว" ตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 บังคับใช้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่วันได้รับตราจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ตลอดมา
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้อง และอัตราดอกเบี้ยตามตั๋วแลกเงิน
บรรยายฟ้องว่า ขั้นแรกจำเลยออกตั๋วแลกเงินโดยจำเลยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายนำมาขายให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ทวงถามเงินที่จำเลยรับไปจากผู้จ่ายไม่ได้ จึงทวงถามจากจำเลย จำเลยกลับนำเช็คทั้ง 3 ฉบับซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า โดยบุคคลภายนอกเป็นผู้สั่งจ่ายมาโอนขายให้โจทก์อีก เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงิน ในการนี้จำเลยลงนามสลักหลังเป็นผู้รับอาวัลเช็คทั้ง 3 ฉบับด้วย เช็คถึงกำหนดปรากฏว่าบุคคลภายนอกนั้นไม่มีเงินในบัญชีธนาคาร โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยในฐานที่จำเลยเป็นผู้รับอาวัล ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องให้ทราบถึงมูลหนี้เดิมว่าเป็นมาอย่างไร บัดนี้จำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อย่างไร หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกร้องทั้งหนี้ตามตั๋วแลกเงินและหนี้ตามเช็คไม่ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำข้อบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
ข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบมิได้ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน ฉะนั้น แม้โจทก์มีพยานบุคคลมาสืบได้ความว่าจำเลยตกลงยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 15 ต่อปี หามีบทบังคับให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราตาที่โจทก์นำสืบหาไม่ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ที่บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปี นับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดเท่านั้น
ข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบมิได้ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน ฉะนั้น แม้โจทก์มีพยานบุคคลมาสืบได้ความว่าจำเลยตกลงยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 15 ต่อปี หามีบทบังคับให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราตาที่โจทก์นำสืบหาไม่ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ที่บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปี นับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่จัดการทุนสำรองเงินตราเป็นของ ธปท. และความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ทุนสำรองเงินตรานั้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแล้วย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะที่จะรักษาไว้และนำไปใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้หาได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ฉะนั้น กระทรวงการคลังจึงหามีอำนาจที่จะฟ้องเรียกเงินนี้คืนจากผู้ที่กล่าวหาว่านำไปใช้จ่ายโดยมิชอบไม่
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุมและขอบเขตความรับผิด
มีผู้แจ้งต่อนายร้อยตำรวจผู้บังคับกองฯว่า จำเลยกับพวกลักโคไปผู้บังคับกองฯสั่งให้นายสิบตำรวจไปเชิญตัวจำเลยบนบ้านโดยไม่มีหมาย จำเลยไม่ยอมไป จึงเข้าจับกุมจำเลยใช้ขวาน มีด ต่อสู้ขัดขวางแม้ผู้บังคับกองฯจะอยู่ห่างไป 10 วา แต่ก็อยู่ที่บ้านผู้อื่น ไม่ได้ไปจับกุมด้วย การจับนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 จำเลยต่อสู้ขัดขวางจึงไม่มีความผิด แต่เมื่อผู้บังคับกองฯ นั้นไปทำการจับกุมด้วย ก็ชอบด้วยมาตรา 78,92 วรรคท้าย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯมีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯมีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และผลบังคับใช้ของกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นโดยเฉพาะฉะนั้น เมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดบทกฎหมายใดว่าจะแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เสียแล้ว อำนาจหน้าที่ชี้ขาดนี้จึงตกอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับหาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรกหาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนฯ พ.ศ.2496 ชัดแจ้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29. ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113จึงกระทำได้โดยชอบหาใช้เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2504)
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับหาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรกหาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนฯ พ.ศ.2496 ชัดแจ้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29. ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113จึงกระทำได้โดยชอบหาใช้เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2504)