คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประพันธ์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ได้ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 มีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ภายใน 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีอื่น ดังนี้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวีดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์แล้วนำวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้นโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญา และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) ส่วนวิดีโอเทปที่จำเลยร่วมที่ 2 ทำซ้ำขึ้นแล้วนำออกจำหน่ายและให้เช่านั้นเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าวิดีโอเทปนั้นตนได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ยังนำออกจำหน่ายให้เช่าเพื่อหากำไร การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยร่วมที่ 2 ยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) อีกด้วย
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าและผู้ขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง: การประเมินความรับผิดและค่าเสียหาย
ความรับผิดของผู้ส่งของในความเสียหายอันเนื่องมาจากการแจ้งหรือจัดให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความในใบตราส่งโดยไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ นั้น เพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกให้ตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว บทบัญญัติ มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดต่อผู้ขนส่งสำหรับความเสียหายดังกล่าว เป็นเพราะความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องไว้ในใบตราส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับใบตราส่งตามมาตรา 32 วรรคสองนี้จึงมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขนส่งหรือเรือผู้ขนส่งโดยตรง ดังนี้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าไม้เนื้อแข็งแปรรูปน้อยกว่าน้ำหนักสินค้าของสินค้าตามความเป็นจริง และมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ผู้ขนส่งและสินค้าของผู้อื่นในเรือซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้แต่ต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่ง ในกรณีที่ความเสียหายเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีถูกกล่าวหาลักทรัพย์: การเสียหายต่อบิดาผู้ใช้อำนาจปกครอง และขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
โจทก์และเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน ขณะที่โจทก์และ ศ. เดินกลับจากการซื้อสินค้ามายังบริเวณที่จอดรถ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เข้ามาแจ้งต่อโจทก์ว่า ศ. ลักสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 และขอตรวจค้นตัว ศ. แต่เมื่อโจทก์ให้ ศ. ล้วงกระเป๋ากางเกงออกมาไม่พบสินค้าที่อ้างว่าถูกลักมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงกลับไป โจทก์เป็นบิดา ศ. ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปี จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ขณะเลี้ยงดู ศ. ตามกฎหมายและให้การศึกษาตามสมควร ตลอดจนให้การอบรมสั่งสอนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม เหตุที่ ศ. ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นขณะที่ ศ. เดินซื้อสินค้าอยู่กับโจทก์ การควบคุมดูแล ศ. มิให้ลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นบิดาด้วย นอกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะพูดกล่าวหา ศ. แล้ว ยังขอค้นตัว ศ. อีก ความเสียหายจึงมิใช่เกิดจากคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กล่าวหา ศ. เพียงประการเดียว แต่กระทบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้นด้วย เพราะบุคคลทั่วไปที่ได้ยินคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมเข้าใจว่าบุตรโจทก์ชอบลักเล็กขโมยน้อย อันแสดงว่าโจทก์ไม่ดูแลสั่งสอนบุตรให้เป็นพลเมืองดี หรืออาจเข้าใจได้ว่าโจทก์สนับสนุนบุตรให้ลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมได้รับความอับอายและเสียชื่อเสียง โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการกล่าวหาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7653/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ – การพิสูจน์ความรับผิด – การลงโทษเหมาะสม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ที่บัญญัติให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด หมายถึง มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด ส่วนมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด แต่บัญญัติว่าความผิดนั้นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและต้องลงโทษตามความผิดฐานหรือบทใด แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มาในฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่เกิดเหตุเป็นถนนเปียกและลื่น จำเลยขับรถยนต์ซึ่งมีสภาพเก่าบรรทุกสัมภาระและคนมาเต็มคันรถยนต์ ควรจะขับรถยนต์ให้ช้าไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะหากขับรถยนต์ด้วยความเร็วในสภาพของรถยนต์และถนนดังกล่าวรถยนต์อาจเสียหลักและพลิกคว่ำได้โดยง่าย แต่เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็ว จึงเป็นความประมาทในเบื้องต้นของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์อยู่ข้างหน้าซึ่งจำเลยจะต้องแซงรถจักรยานยนต์นั้น จำเลยจะต้องให้สัญญาณเสียงเพื่อให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็ควรจะชะลอความเร็วรถยนต์ลงเพื่อให้ห่างจากรถจักรยานยนต์ในระยะที่ปลอดภัย แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เมื่อรถจักรยานยนต์เลี้ยวไปทางขวาโดยกะทันหันจำเลยจึงไม่อาจห้ามล้อเพื่อชะลอความเร็วของรถยนต์ได้ทัน และจำต้องบังคับรถยนต์หลบไปทางขวาแล้วหลบกลับมาทางซ้ายอีก จนเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนกู้ยืมเงิน: ความรับผิดของตัวการต่อตัวแทนเมื่อชำระหนี้
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แล้วนำเงินที่กู้ยืมมามอบให้จำเลย แม้การเป็นตัวแทนในการกู้ยืมเงินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง ก็มีผลบังคับกันได้ระหว่างตัวการกับตัวแทน เมื่อโจทก์ถูกบังคับชำระหนี้ที่กู้ยืม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียไปคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยค้ำจุน จำเป็นต้องระบุผู้เอาประกันภัยและความสัมพันธ์กับผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 กำหนดให้ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ฉ. ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 จ-กรุงเทพมหานคร ขอให้ร่วมรับผิดในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ค้นที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยและมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันนี้มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ ฉ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนา
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อเช็คอย่างระมัดระวัง และต้องรับผิดเมื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม แม้ผู้เสียหายมีส่วนประมาท
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นธุรกิจของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ เป็นลายมือชื่อปลอม มิใช่ลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการทั้งสองดังกล่าวที่ให้ไว้แก่ธนาคาร และมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์โดยกรรมการทั้งสองนี้เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่ธนาคารจำเลยไปเช่นนี้ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง
of 498