คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,842 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แต่มีข้อจำกัดในการฎีกา
คดีก่อนโจทก์มีคำขอให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หรือใช้ราคาแทนและให้ใช้ค่าใช้ทรัพย์ แต่คดีนี้แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างว่าหลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์ได้ติดตามยึดรถยนต์คืนมาได้ต้องรถยนต์มีสภาพทรุดโทรม ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการยึดรถและค่าเสื่อมราคารวมเป็นเงิน54,363 บาท ความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องคดีนี้จึงต่างจากคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ เพราะการบังคับคดีในคดีก่อนจำต้องอาศัยคำพิพากษาที่วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ใดบ้าง จึงไม่อาจนำมูลหนี้ตามฟ้องในคดีนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนไปบังคับคดีเอากับจำเลยในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่ารถยนต์ ความเสียหายรถยนต์ และดอกเบี้ยเงินประกัน
จำเลยไม่ได้นำสืบว่าเมื่อจำเลยยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมารถยนต์ที่เช่าชำรุดหรือมีความบุบสลายเพราะความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าเสื่อมสภาพ เสื่อมราคา โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 วรรคแรก และตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องรับผิดในราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจเรียกราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่ จากโจทก์ได้
แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องวางเงินประกันต่อผู้ให้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ย่อมมีความหมายเพียงว่านับแต่วันที่โจทก์ได้วางเงินประกันต่อจำเลยจนกระทั่งครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาในระหว่างเวลาเช่าดังกล่าวโจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงินประกันไม่ได้เท่านั้น ทั้งหนี้ที่จำเลยจะต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวให้โจทก์นับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุปกรณ์ติดรถเช่าซื้อ: ไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรถ
จำเลยนำวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อก็เพื่อประโยชน์ ของจำเลย หาใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์สินที่เป็นประธานคือรถที่เช่าซื้อไม่ ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 147 วรรคท้าย
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "?หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติม ติดหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที?" เห็นได้ว่า สัญญาเช่าซื้อ เป็นแบบฟอร์มที่โจทก์จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมาจากปัญหาที่ผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติม ติดหรือ ตั้งกับทรัพย์ที่เช่าซื้อและจะเอาสิ่งของดังกล่าวคืนเมื่อต้องคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การรื้อสิ่งของที่ว่านั้นออกไปจะทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายได้ ในคดีนี้ลำพังการที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถที่เช่าซื้อ ย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย หากจะต้องรื้อออกไปจากตัวรถที่เช่าซื้อ จึงไม่อยู่ในขอบแห่งข้อสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยก ข้อสัญญาที่ปรากฏมาเป็นเหตุไม่คืนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุปกรณ์ติดรถเช่าซื้อไม่ตกเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สิน หากไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรถ
จำเลยนำวิทยุเครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์ เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยมิใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธานคือรถที่เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 วรรคท้าย
สัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลงต่อเติม ติดหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที มีที่มาจากปัญหาซึ่งมักจะเกิดแก่โจทก์ที่ต้องพิพาทกับผู้เช่าซื้อในกรณีที่ผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติม ติดหรือตั้งกับทรัพย์ที่เช่าซื้อและจะเอาสิ่งของนั้นคืน เมื่อต้องคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การรื้อสิ่งของที่ว่านั้นออกไปจะทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายได้ ฉะนั้น ลำพังการที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถที่เช่าซื้อ ย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหากจะต้องรื้อออกไป จึงไม่อยู่ในขอบแห่งข้อสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่อาจยกมาเป็นเหตุไม่คืนวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวนต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดจากการให้การนั้นโดยตรง และต้องบรรยายฟ้องการกระทำละเมิดที่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวนเพื่อปรักปรำโจทก์ให้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้ายที่ลักเงินของธนาคารไปเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้ธนาคารหลงเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจและเลิกจ้างโจทก์ โดยเรียกร้องค่าเสียหายเนื่องจากการที่ต้องถูกเลิกจ้าง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าธนาคารเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากธนาคารรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนและคณะกรรมการพิจารณาวินัยและอุทธรณ์ของธนาคารที่ธนาคารตั้งขึ้นทำการสอบสวนหลังเกิดเหตุเอง ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวน ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารทำนองเดียวกับที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์โดยให้การเท็จต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารอันเป็นการให้การคนละกรณีกัน จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพราะเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องถูกธนาคารเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยเป็นความเท็จหรือไม่ และไม่อาจถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมจากสภาพรถยนต์ที่ชำรุด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนและใช้ค่าเสียหาย แต่คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องโดยอ้างเหตุจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่ตามคำฟ้องได้บรรยายว่า ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว จำเลยไม่คืนรถยนต์แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ตามยึด รถยนต์คืนมาได้ในสภาพชำรุดทรุดโทรมผิดปกติจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง โจทก์นำรถยนต์ออกประมูลได้ เงินต่ำกว่าราคารถยนต์ที่ศาลในคดีก่อนพิพากษากำหนดให้อยู่ 192,000 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ ความเสียหายของโจทก์ตามคำฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับตามคำฟ้องคดีนี้กับคำขอให้บังคับตามคำฟ้องคดีก่อนต่างกันและมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้ว โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายหลังคำพิพากษา: คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้เหตุเดิมจากสัญญาเช่าซื้อ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนและใช้ค่าขาดประโยชน์ ค่าเช่าซื้อค้างชำระกับดอกเบี้ย แต่คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องโดยอ้างเหตุจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่ตามคำฟ้องได้บรรยายว่าภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนรถยนต์แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ตามยึดรถยนต์คืนมาได้ในสภาพชำรุดทรุดโทรมผิดปกติจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง โจทก์นำรถยนต์ออกประมูลขายได้เงินต่ำกว่าราคารถยนต์ที่ศาลพิพากษากำหนดให้อยู่ 192,000 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ความเสียหายของโจทก์ตามคำฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับทั้งสองคดีต่างกันและมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดการศาสนสมบัติที่ยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
วัดจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ศ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด การที่ ศ. ลงชื่อในสัญญาก่อสร้างตึกแถว โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวนั้น จึงเป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนา หรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดเช่าเกิน 3 ปีจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ดังนี้ แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวจะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคาร แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 มีผลเห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยยอมให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงดังกล่าวสัญญาก่อสร้างตึกแถวจึงยังไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิม แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์: การปรับปรุงสถานที่เช่า, ความเสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
แม้โจทก์ทำสัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่าโจทก์ต้องรักษาที่เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต้องไม่ปลูกสร้างต่อเติมส่วนใดส่วนหนึ่งต้องให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจที่เช่าได้ทุกเมื่อ และต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นเป็นข้อสัญญาที่มิได้ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครอง ส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วย ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ดังนั้น ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟดังกล่าวในส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์อันเป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ให้ฝ่ายช่างโยธามาทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือห้ามปราม ฉะนั้น การที่โจทก์มาร้องขอลดค่าเช่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติหลังจากจำเลยที่ 1 เข้าปรับปรุงอาคารแล้วถึง 1 เดือนเศษ จึงเป็นพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อการปรับปรุงอาคารเสร็จแล้วเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงกลายสภาพเป็นห้องประชาสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์สืบมาอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าตามสัญญาได้ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9870/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณะและการเสียหายที่ควรคาดหมายได้: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่สาธารณะ
บ้านจำเลยเฉพาะส่วนที่ยังพิพาทกันปลูกอยู่ในที่ดินริมคลองเชียงรากใหญ่อันเป็นที่สาธารณะ ไม่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์แม้บ้านและสิ่งก่อสร้างของจำเลยจะบังหน้าที่ดินโจทก์ที่จะออกสู่คลองสาธารณะมีความยาวถึง 16 เมตร แต่โจทก์ยังคงเหลือที่ดินติดคลองดังกล่าวซึ่งไม่ถูกบัง สามารถออกสู่คลองดังกล่าวได้มีความยาว 9.5 เมตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะยื่นฟ้อง โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์คงปล่อยที่ดินไว้ให้หญ้าขึ้นรก ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างใด ส่วนจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าวมาประมาณ 20 ปีแล้ว ตามสภาพดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินริมคลองเชียงรากใหญ่อันเป็นที่สาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
of 185