คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่กระทบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ผู้ตายโดยอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้คัดค้านคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกดังนี้เป็นเรื่องผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นมิใช่พิพาทกันในเรื่องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมผลของคดีไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181นั้น โจทก์จะต้องร้องขอภายใน 15 วันนับแต่วันศาลยกฟ้องมิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่ง ปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่12 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์อ้างในคำร้องว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จดวันนัดผิดและแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบก็ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลยกคำร้องขอเป็นคนอนาถา: กำหนดระยะเวลาและสิทธิในการยื่นคำร้องใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้โดยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่ง หรือยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกกรณีหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องยื่นคำร้องเสียภายในกำหนด 15 วัน เช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกัน แต่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ เมื่อพ้นกำหนด15 วัน แล้วจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นในปัญหาว่าโจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน จึงหมดสิทธิคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้จัดการมรดกต้องยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคู่ความอุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียว คดีถึงที่สุดแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านอุทธรณ์ผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์คดีของผู้ร้องจึงถึงที่สุดผู้ร้องจะฎีกาขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านไม่ได้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค2ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคำร้องจัดการสินสมรสหลังหย่าขาด เป็นคดีมีข้อพิพาท ต้องฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าน.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวจึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับน. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง บทบัญญัติในมาตรา1475แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยและกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่ มาตรา1484เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาดังนั้นสามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับน. ไปก่อนแล้วฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าผู้ร้องกับน. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีกผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จ ดูหมิ่น เสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาจึงสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้ โจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกที่ศาลทำลายไปและว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลแก่บุคคลที่กระทำกระละเมิดอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้านและคำสั่งของศาลไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จและเสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องซึ่งมีมูลบางข้อหายกฟ้องบางข้อหาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วจำเลยที่2ออกไปยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวศาลตรวจพบว่ามิได้กำหนดวันนัดสอบคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงเรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองกลับเข้าห้องพิจารณาแล้วแจ้งเหตุดังกล่าวให้ทราบและทำรายงานกระบวนพิจารณาฉบับใหม่ขึ้นพร้อมทั้งแจ้งขอทำลายรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกด้วยโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านดังนั้นการที่จำเลยที่2กล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นความจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้และโจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกอันเป็นการดูหมิ่นศาลและกล่าวเสียดสีศาลว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงว่าจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นการละเมิดอำนาจศาลศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลโดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือต้องเปิดโอกาสให้จำเลยที่2แก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้าน คำสั่งศาลเรื่องละเมิดอำนาจศาลกฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบของคำสั่งไว้เมื่อคำสั่งศาลดังกล่าวต่อเนื่องกับการไต่สวนตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีชื่อศาลลงวันที่30มีนาคม2537จึงเป็นคำสั่งที่มีชื่อศาลและวันเดือนปีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา186(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและฟ้องร้องได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าว เวลาล่วงเลยมา 2 ปีเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาคำร้องของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด การที่จำเลยจะต้องส่งคำร้องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรตรวจสอบก่อนตามระเบียบ ก็เป็นเรื่องภายในของจำเลย การปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 2 ปีเศษ โดยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดในเรื่องนี้นั้น เป็นการชี้ชัดให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉยไม่ติดตามดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนและเสียหายแก่โจทก์ ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยปฏิเสธที่จะออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493เป็นเพียงบทบังคับให้ผู้เสียสัญชาติไทยต้องไปร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 21 เท่านั้นการร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวมิได้ทำให้เสียสิทธิอันมีอยู่แล้วแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาประกันจากการยื่นคำร้องและจัดหาหลักประกันของผู้ประกันเอง
จำเลยที่1เป็นผู้ยื่นคำร้องและเป็นผู้ประกันตัว อ.ผู้ต้องหาจำเลยที่1จึง มีหน้าที่ต้องจัดหา หลักประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา114เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียวการที่จำเลยที่1จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยจำเลยที่2ทำ หนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่1เป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการนั้นหาได้แปลว่าจำเลยที่1ยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในฐานะจำเลยที่1เป็น ตัวแทนจำเลยที่2เท่านั้นไม่แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1มี เจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่1เองด้วยดังนั้นสัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่1เมื่อ ผิดสัญญาจำเลยที่1ต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์ด้วย
of 50