พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: คำสั่งเฉพาะเจาะจงก็เป็นเอกสารได้
การบรรยายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 369 ไม่จำต้องบรรยายว่า คำสั่งเป็นหนังสือนั้นได้ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือโฆษณาต่อประชาชน เพราะบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 369 มิได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำแก่ประกาศ ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่ปิดหรือแสดงหรือโฆษณาต่อประชาชน ดังนั้น แม้คำสั่งของพระอธิการ ล. เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้ออกคำสั่งเฉพาะแก่พระครู ส. เพียงรูปเดียวก็เป็นเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 369 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5538/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากคำสั่งและการควบคุมการกระทำของผู้อื่นก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์จำเลยที่ 3 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างอาคารตึก 3 ชั้น ลงในที่ดินของจำเลยที่ 1ที่ 2 เพื่อขายแก่บุคคลภายนอก โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร มีจำเลยที่ 4 ที่ 5 เป็นผู้ตอกเสาเข็ม แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือจัดการตอกเสาเข็ม อำนาจในการควบคุมการตอกเสาเข็ม การวางแผน วิธีการในการตอกเสาเข็ม การออกคำสั่ง การควบคุมคนงานในการตอกเสาเข็ม การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อำนาจและการควบคุมของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทั้งสิ้นก็ตามแต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็อาจต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำสั่งที่ให้ไว้ตามข้อยกเว้นของป.พ.พ. มาตรา 428 ได้ ซึ่งระหว่างการตอกเสาเข็มรายนี้ โจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตดุสิตขอให้ระงับการตอกเสาเข็มและหาวิธีการมิให้เกิดความเสียหายขึ้นอีก ผู้อำนวยการเขตเรียกทั้งสองฝ่ายไปเจรจากัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับว่าจะควบคุมการตอกเสาเข็มมิให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจมีขึ้นอีกก็ยินดีชดใช้ให้ อันเป็นการยอมรับผิดในผลที่เกิดจากคำสั่งที่จำเลยทั้งสองนี้ให้ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4และที่ 5 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์โดยรับผิดเต็มจำนวนความเสียหาย ส่วนความรับผิดระหว่างจำเลยด้วยกันเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5538/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการตอกเสาเข็ม แม้ไม่ได้จัดการเอง แต่มีคำสั่งให้ทำและรับรองความเสียหาย ถือเป็นการยอมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างอาคารตึก3 ชั้น ลงในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพื่อขายแก่บุคคลภายนอกโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร มีจำเลยที่ 4 ที่ 5เป็นผู้ตอกเสาเข็ม แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือจัดการตอกเสาเข็ม อำนาจในการควบคุมการตอกเสาเข็มการวางแผน วิธีการในการตอกเสาเข็ม การออกคำสั่ง การควบคุมคนงานในการตอกเสาเข็ม การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อำนาจและการควบคุมของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทั้งสิ้นก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3ก็อาจต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำสั่งที่ให้ไว้ตามข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ได้ ซึ่งระหว่างการตอกเสาเข็มรายนี้ โจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตดุสิตขอให้ระงับการตอกเสาเข็มและหาวิธีการมิให้เกิดความเสียหายขึ้นอีกผู้อำนวยการเขตเรียกทั้งสองฝ่ายไปเจรจากัน จำเลยที่ 1 และที่ 3รับว่าจะควบคุมการตอกเสาเข็มมิให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจมีขึ้นอีกก็ยินดีชดใช้ให้อันเป็นการยอมรับผิดในผลที่เกิดจากคำสั่งที่จำเลยทั้งสองนี้ให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 และที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์โดยรับผิดเต็มจำนวนความเสียหาย ส่วนความรับผิดระหว่างจำเลยด้วยกันเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการฎีกาที่ไม่อาจทำได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั่นเอง เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงฎีกาต่อมาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการบังคับคดีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ และผลของการไม่ยื่นคำคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ศาลชั้นต้นมีหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531และโจทก์ได้รับเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 11 มกราคม2532 การบังคับคดีสำหรับที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเมื่อวันที่ 29พฤศจิกายน 2532 จึงเป็นการคัดค้านภายหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ และกระบวนพิจารณาในชั้นนี้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วจึงไม่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27มาวินิจฉัยประกอบด้วยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องงดขายทอดตลาด ต้องยื่นภายใน 15 วันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้งดการขายทอดตลาด ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดในคดีแรงงานจึงเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์แก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยฝึกอบรมเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปให้ส. ซึ่งเป็นป้าของจำเลย ดูแลแทนการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ย่อมมีผลเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 22 กับพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 แล้ว หากจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวของศาลเปลี่ยนแปลงไป จำเลยชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามคำสั่ง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยที่ 2 เหตุละเมิด เกิดขึ้นในขณะจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์สามล้อมาเก็บ ที่โกดังของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 เคยสั่งลูกจ้างทุกคน ว่า เลิกงานแล้วให้นำรถจักรยานยนต์สามล้อไปเก็บไว้ที่โกดัง เหตุละเมิดจึงเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 และตามมาตรา 425 นี้ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างรายเดือนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องสอบถามความเห็นโจทก์เรื่องหลักประกันก่อนมีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้สั่งให้จำเลยที่ 1นำเงินหรือหลักประกันมาวางเป็นประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีให้ครบตามคำสั่งศาลฎีกา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งขอทุเลาการบังคับคดีซึ่งเป็นอำนาจแต่ละชั้นศาล ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามโจทก์ว่าพอใจในหลักประกันของจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 1 แถลงหรือไม่ คงฟังจากคำแถลงของทนายจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียวและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือประกันชั้นฎีกาไปเลยโดยที่โจทก์ไม่มีโอกาสคัดค้าน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวเสียในวันนัด ดังนั้นการที่โจทก์มิได้คัดค้านจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินหรือหลักประกันมาวางให้ครบตามคำสั่งของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างผิดสัญญาจ้างจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ/คำสั่งของนายจ้าง อายุความตาม ปพพ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย
คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้น เป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้น เป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30