คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย-เลิกสัญญา-คืนเงิน-ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับ
จำเลยทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินจากวัดให้โจทก์ และโจทก์ได้ชำระเงินค่าโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยบางส่วนแล้ว ข้อสัญญามีว่าหากจำเลยโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้จำเลยต้องชำระค่าปรับ เมื่อปรากฏว่าจำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากทางวัดไม่ยินยอมให้โอน ดังนี้ ถือได้ว่าการชำระหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตอบแทนกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย
เงินที่ต้องคืนเนื่องจากการเลิกสัญญามิใช่ลาภมิควรได้ จะนำอ:ายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑๙ มาใช้บังคับมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุพ้นวิสัยทำให้สัญญาสิ้นผลบังคับ และการคืนเงินจากการเลิกสัญญาไม่ใช่ลาภมิควรได้
จำเลยทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินจากวัดให้โจทก์ และโจทก์ได้ชำระเงินค่าโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยบางส่วนแล้ว ข้อสัญญามีว่าหากจำเลยโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้จำเลยต้องใช้ค่าปรับเมื่อปรากฏว่าจำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากทางวัดไม่ยินยอมให้โอน ดังนี้ ถือได้ว่า การชำระหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตอบแทนกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกันเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย เงินที่ต้องคืนเนื่องจากการเลิกสัญญามิใช่ลาภมิควรได้ จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการคืนเงินค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการจัดสรร
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี การประเมินภาษีตามค่าเช่า และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมในนามของกรมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ดังกล่าว ทังกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระหนี้จากโจทก์แล้ว หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีสูงเกินไปจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องคือนเงินส่วนที่เกินนั้นให้โจทก์ เม่ือโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีจากโจทก์สูงเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่โจทก์เสียเกินไปนั้นได้
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และค่ารายปีให้หมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพยยย์สินนั้นๆสมควรจะให้ค่าเช่าได้ในปีหนึ่งเท่าใด ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควร พนักงานเจ้าหนัาที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายยปีเสียใหม่ได้ ปรากฏว่าโจทก์เช่าที่ดินและโรงเรือนพิพาทจากกระทรวงการคลังโดยเสียค่าเช่าปีละ237,400 บาท ในเบื้อนต้นต้องถือว่า ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่ารายปีสำหรับคิดภาษี จำเลยที่ 1 จะมีอำนาจแก้ไขหรือกำหนดค่ารายปีใหม่ได้ต่อเมื่อมีเหตุชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าดังกล่าวไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรเท่านั้น และต้องมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นด้วย แต่หากค่าเช่านั้นไม่น้อยจนเกินสมควร หรือไม่มีเหต่ทีน่าจะเห็นได้ว่าโจทก์กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นคู่สัญยาสมยอมกันแล้ว จำเลยที่ 1ก็ต้องประเมินค่ารายปีเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่กระทรวงการคลัง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยไม่สุจริตก่อนล้มละลาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนและสั่งคืนเงินได้
การที่ กรมสรรพากร ผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริตเมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาพ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลคำนวณผิดพลาด ต้องคืนเงินส่วนเกิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์คือ ราคาที่ดินซึ่งโจทก์ก็เสียมาถูกต้องแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่ว่าที่ดินตามฟ้องยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอบังคับให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มิได้ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับโดยไม่คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาทแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาลศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกินเป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเช็คแล้วนำไปขึ้นเงินก่อนเช็คเคลียร์ ถือเป็นลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์
โจทก์รับเช็คของจำเลยไปเรียกเก็บเงินตามวิธีการของธนาคารเมื่อเก็บเงินได้แล้วจึงนำเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย อันเป็นการเรียกเก็บเงินตามเช็คแทนจำเลย มิใช่จำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยไปก่อนเพราะเชื่อว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็คได้เหมือนคราวก่อน ๆที่โจทก์เคยปฏิบัติมา แต่เช็คดังกล่าวถูกปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ อันจำเลยจำต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินค่าไถ่จำนองเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และประเด็นอายุความ
จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝากจาก ส.เป็นการชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนหนึ่ง โจทก์นำที่พิพาทไปจำนองกับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินที่โจทก์กู้มาไถ่ถอนการขายฝาก ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์และศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ปรากฏว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารไปตามสัญญาจำนองก่อนแล้วจำนวน 106,373.20 บาทจำเลยคงชำระเงินส่วนที่เหลือแก่ธนาคารเป็นการไถ่ถอนการจำนองอีกเพียง 26,601.44 บาทจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาในสภาพที่ปลอดจำนองด้วยเงินที่โจทก์ชำระไปส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเลยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งโจทก์มิได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นวันที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนอายุความจึงเริ่มนับแต่เวลาดังกล่าว มิใช่นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายเมื่อฟ้องคดีนี้ไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันเวลาที่ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับโทษและการคืนเงินผู้เสียหาย ทำให้ฎีกาต้องห้าม
ข้อหาความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 1 เดือน กับให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกคำขอที่ให้นับโทษต่อ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ส่วนข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้จำคุก 2 ปีกับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายทั้งสี่ และให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยให้ยกคำขอที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายบางคนกับให้ยกคำขอที่ให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นส่วนบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดและอัตราโทษจำคุกศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษเท่ากับศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญา และการคืนเงินค่าเช่าซื้อโดยหักค่าเช่า
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 จะเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาในกรณีที่ไม่มีการผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาเพราะไม่จัดการแก้ไข ให้ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้ออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้จำเลยก็มีสิทธิเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้
เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อใช้สิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 387 แล้ว การชำระหนี้อันเกิดแต่การเลิกสัญญา มาตรา 392 บัญญัติให้เป็นไปตามมาตรา 369 และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับคืนให้แก่จำเลยแต่เงินค่าเช่าซื้อมิใช่ราคาทรัพย์อย่างเดียว หากแต่เป็นค่าเช่ารวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเช่าในระหว่างที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้ออยู่จึงต้องหักค่าเช่าออกจากจำนวนค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนจำเลยให้โจทก์เสียก่อน
of 31