พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องสหภาพแรงงาน การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ไม่ครอบคลุม
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้าง เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองผู้ขับขี่ที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุ ไม่ถือเป็นผู้ไม่ได้รับอนุญาตขับรถ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในขณะเกิดเหตุ ปรากฏว่าคนขับรถยนต์ของโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ แต่ขณะเกิดเหตุขับรถไปชนผู้อื่น ขาดต่ออายุใบอนุญาต ดังนี้ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้นจำเลยผู้รับประกันภัยไม่พ้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แม้มีการกระทำผิด
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างในภาวะขาดทุนและการคุ้มครองตามมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2 เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1605/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างเคยถูกลงโทษทางวินัยก็ยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 หามีข้อความแสดงว่าลูกจ้างซึ่งเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้วจะมิได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้ไม่ ฉะนั้น แม้ลูกจ้างจะเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้ว หากถูกเลิกจ้างโดยมีพฤติการณ์แสดงว่าไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้เช่นเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์อ้างว่า เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อาจไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต่อไปได้ตามข้อบังคับขององค์การจำเลย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ซึ่งไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีผลลบล้างเฉพาะคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเท่านั้น ส่วนข้อบังคับขององค์การจำเลยยังคงใช้บังคับได้อยู่ตามเดิม ไม่ถูกกระทบกระเทือนด้วย
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์อ้างว่า เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อาจไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต่อไปได้ตามข้อบังคับขององค์การจำเลย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ซึ่งไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีผลลบล้างเฉพาะคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเท่านั้น ส่วนข้อบังคับขององค์การจำเลยยังคงใช้บังคับได้อยู่ตามเดิม ไม่ถูกกระทบกระเทือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงปลา แม้สัญญาเช่าระบุทำนา ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา หากไม่ได้ทำนาจริง
จำเลยไม่ได้ทำนาในที่พิพาท แต่จำเลยเลี้ยงปลาในที่พิพาททั้งแปลง แม้สัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจะมีคำว่าเช่าเพื่อทำนาด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้เช่านาและได้ทำนาในที่พิพาทตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำเกินหนึ่งหมื่นบาท ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิเรียกคืนได้
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำและได้รับจำนำหัวเช็คขัดทองคำของโจทก์ซี่งถูกคนร้ายลักไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 ได้ ก็ต้องเป็นการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ปรากฏว่าจำเลยรับจำนำทรัพย์รายนี้ไว้เป็นเงินถึงสี่หมื่นบาท จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของหัวเข็มขัดดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
เมื่อจำเลยรับจำนำทรัพย์ไว้มีจำนวนเงินเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท การรับจำนำนั้นก็ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ในจำนวนเงินที่รับจำนำไว้ทั้งสี่หมื่นบาท จะแยกเอาแต่จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทอันเป็นส่วนหนึ่งของการรับจำนำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองแล้วว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ย่อมไม่ได้
เมื่อจำเลยรับจำนำทรัพย์ไว้มีจำนวนเงินเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท การรับจำนำนั้นก็ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ในจำนวนเงินที่รับจำนำไว้ทั้งสี่หมื่นบาท จะแยกเอาแต่จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทอันเป็นส่วนหนึ่งของการรับจำนำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองแล้วว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ผู้ขายไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของศาลโดยสุจริต แม้ภายหลังโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริง จะขอนำสืบพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ของจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อทรัพย์นั้นเสียสิทธิไปถ้าจำเลยที่ 2 สุจริต โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไร ดังนั้น โจทก์ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แจ้ง จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาที่ดินพิพาท หาได้ไม่