พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้สมรส สิทธิการเช่าไม่ตกเป็นของคู่สมรส
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียว ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้ แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา จำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้ แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา จำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้สมรส สิทธิการเช่าไม่ตกเป็นของคู่สมรสโดยอัตโนมัติ
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียวไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาจำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สินไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาจำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สินไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสินเดิมของคู่สมรส: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสินเดิมเป็นของสามีแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช. จึงเป็นของ ช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1, 4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1, 4 และ 5
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1, 4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1, 4 และ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมของคู่สมรส: สินเดิม vs. สินสมรส และสิทธิของคู่สมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2)ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4และ 5
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4และ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีปล่อยทรัพย์: สิทธิของคู่สมรสและความเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน
สามีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นสินสมรสหรือสินบริคณห์ ศาลได้ยกคำร้องของสามี คดีถึงที่สุดแล้ว ภรรยาจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์นั้นอีกหาได้ไม่ กรณีเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: ผลของคำพิพากษาคดีก่อน, การอ้างสิทธิจากคู่สมรส, และการพิจารณาตามสำนวนคดีเก่า
ที่ดินตามสัญญาซื้อขายเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินซึ่งโจทก์แพ้คดีจำเลยร่วมมาแล้ว. แม้จำเลยในคดีนี้จะเป็นบุคคลนอกสัญญาซื้อขาย. แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นสามีผู้ซื้อ. ผลของการที่ผู้ซื้อได้สิทธิในที่ดินแปลงนี้ย่อมทำให้จำเลยได้รับในฐานะสามีผู้ซื้อเป็นเจ้าของร่วมด้วย. เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกัน เท่ากับเป็นการรบกวนสิทธิอย่างหนึ่ง. จำเลยจึงขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3). ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านประการใด. กรณีทำให้มีผลเกิดขึ้นว่า.จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบผูกพันในผลแห่งคดีนี้ด้วยผู้หนึ่ง.ดังนั้นจำเลยร่วมจึงชอบที่จะอ้างสิทธิต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ เป็นข้อต่อสู้โจทก์คดีนี้ได้. ไม่เป็นขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงบางข้อแล้วต่างไม่ขอสืบพยาน. โดยจำเลยอ้างสำนวนคดีแพ่งคดีก่อนประกอบ. ดังนั้น การฟังข้อเท็จจริงในเรื่องสิทธิในที่พิพาทก็ต้องฟังตามข้อวินิจฉัยในสำนวนคดีก่อนเป็นหลักการพิจารณาคดี. เมื่อคดีก่อนศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ ค. ครอบครองทำประโยชน์แล้ว.จำเลยร่วม (ซึ่งต่อมาขายที่พิพาทให้ภริยาจำเลย)เข้าจับจองทับเอา คดีถึงที่สุดแล้ว. เช่นนี้ ในการวินิจฉัยคดีนี้ก็ต้องยึดถือข้อเท็จจริงที่ศาลชี้ขาดมาแล้ว. โจทก์จึงต้องแพ้คดีจำเลย.
โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงบางข้อแล้วต่างไม่ขอสืบพยาน. โดยจำเลยอ้างสำนวนคดีแพ่งคดีก่อนประกอบ. ดังนั้น การฟังข้อเท็จจริงในเรื่องสิทธิในที่พิพาทก็ต้องฟังตามข้อวินิจฉัยในสำนวนคดีก่อนเป็นหลักการพิจารณาคดี. เมื่อคดีก่อนศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ ค. ครอบครองทำประโยชน์แล้ว.จำเลยร่วม (ซึ่งต่อมาขายที่พิพาทให้ภริยาจำเลย)เข้าจับจองทับเอา คดีถึงที่สุดแล้ว. เช่นนี้ ในการวินิจฉัยคดีนี้ก็ต้องยึดถือข้อเท็จจริงที่ศาลชี้ขาดมาแล้ว. โจทก์จึงต้องแพ้คดีจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมในธุรกรรมทางสินเชื่อและผลผูกพันต่อคู่สมรสกรณีสินบริคณห์
ภริยารู้เห็นยินยอมในการที่สามีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ และมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้บุคคลภายนอกนำไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการที่บุคคลภายนอกเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารนั้น แม้ภริยาจะมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยภริยาก็ต้องผูกพันในการกระทำของสามี
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินมรดกโดยเสน่หาให้แก่ผู้อื่น ต้องไม่เกินฐานะและถือเป็นการตอบแทนคุณงามความดี จึงไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
สามีได้รับมรดกที่ดินมาในระหว่างสมรส แล้วทำนิติกรรมยกที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา เมื่อปรากฏว่าการให้นั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) แล้ว ก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาภริยาไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรส: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วถือให้ว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรม: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมายไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติกับคู่สมรสของผู้รับ
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วให้ถือว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ประสงค์ให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ประสงค์ให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม