พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจรับสินค้าชำรุด: ความรับผิดของผู้ซื้อมีส่วน, ค่าปรับลดลง
การตรวจสินค้าที่จำเลยส่งมอบตามสัญญาซื้อขายอะไหล่รถแทรกเตอร์นั้น ตรวจจากการดูยี่ห้อ หมายเลข และการใช้งานมาแล้วซึ่งเป็นการตรวจสอบที่ไม่ต้องใช้วิธีการตรวจที่ซับซ้อนยุ่งยากใช้เวลามากแต่อย่างใด เป็นการตรวจสอบตามปกติที่คณะกรรมการควรกระทำก่อนรับมอบสินค้าและหากกระทำเสียในคราวเดียวกับการตรวจรับสินค้าครั้งแรกก็จะต้องตรวจพบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะไม่มีมากถึงขนาดนี้ ความเสียหายทั้งหมดจึงถือว่าคนของโจทก์มีส่วนปล่อยปละละเลยให้เกิดขึ้น การที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชำระค่าปรับรายวันตามสัญญาทั้งหมดย่อมไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโรงเรียน: ศาลฎีกาแก้ไขจำนวนเงินคืนและค่าปรับตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิการเช่ารวมทั้งเปลี่ยนชื่อเจ้าของโรงเรียนให้แก่โจทก์ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในประเด็นข้อนี้ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แต่โจทก์ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ซื้อขายตลอดมา การที่จำเลยจะต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์เมื่อเลิกสัญญาตามที่เห็นสมควรได้ และให้โจทก์คืนทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวและอำนาจศาลในการปรับค่าประกันเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกา ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้น ถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาทต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของดหรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2 แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้แล้วนั้นภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2ด้วย มิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกัน – การปรับค่าประกัน – เงื่อนไขการชำระ – การลดค่าปรับ – อำนาจศาล
ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเป็นฉบับเดียวกัน แล้วผิดสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมี คำสั่งลดจำนวนค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ลงโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องชำระค่าปรับดังกล่าวภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันอันเป็นเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันได้ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 โดยไม่จำต้องแยกคำสั่งปรับผู้ประกันจำเลยที่ 2และที่ 3 ออกจาก กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว, การปรับค่าประกัน, และอำนาจศาลในการลดค่าปรับเมื่อจำเลยมาศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกาผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของด หรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกันศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้มาแล้วนั้นภายใน 1 เดือนและต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางศุลกากร ต้องคำนวณจากราคาสินค้าและค่าอากร รวมกันเป็นเกณฑ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงต้อปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกัน มิใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกค่าอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา: ข้อจำกัดตามจำนวนค่าปรับที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามจำนวนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลย ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าปรับจากสัญญา แม้มีข้อตกลงให้หักจากหลักประกัน ก็ต้องสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับตามกฎหมาย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า อ.ม.ท. (ชื่อย่อของจำเลย) มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที ฯลฯ เว้นแต่ อ.ม.ท. เห็นว่าตัวแทนรวบรวม (รับซื้อ) แร่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ โดยไม่จงใจ ตัวแทนรวบรวม (รับซื้อ) แร่ยินยอมให้ อ.ม.ท. ปรับ ตามจำนวนที่ อ.ม.ท. กำหนด แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 100,000 บาทต่อการปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่ง ๆ โดย อ.ม.ท. มีสิทธิหักเงินค่าปรับจากหลักประกันได้ทันที โดยไม่ต้องเรียกร้องให้ตัวแทนรวบรวม (รับซื้อ) แร่ชำระก่อน ตามข้อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใด บ่งบอกว่ายกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้ายที่ว่า ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้วจะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อ ได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้น ในเวลารับชำระหนี้ข้อความในสัญญา ระหว่างโจทก์จำเลยมีเพียงว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินค่าปรับได้ทันที เท่านั้น ดังนั้นเรื่องอื่น ๆจำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับไว้เมื่อจำเลยไม่ได้สงวนสิทธิไว้ จำเลยก็ปรับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าปรับจากสัญญาตัวแทน: จำเป็นต้องสงวนสิทธิแม้มีข้อตกลงให้หักจากหลักประกันได้ทันที
จำเลยทำสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนรับซื้อแร่ มีข้อตกลงให้โจทก์ชำระค่าตอบแทนให้จำเลยตามจำนวนแร่ที่รับซื้อภายในเวลาที่กำหนดไว้หากผิดนัดโจทก์ยินยอมให้จำเลยปรับได้ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาทโดยจำเลยมีสิทธิหักค่าปรับจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องก่อน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงว่าในกรณีที่โจทก์ผิดนัดจำเลยมีสิทธิหักเงินค่าปรับได้ทันทีเท่านั้น มิได้เป็นข้อตกลงยกเว้นข้อบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรคท้าย ที่ไม่ต้องสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับในกรณีผิดนัดไว้ในขณะรับชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้สงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับไว้จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าปรับจากเงินประกันของโจทก์ได้