คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่จดทะเบียนสมรสถือเป็นความผิดของทั้งสองฝ่าย โจทก์เรียกสินสอดคืนไม่ได้
ชายหญิงสมรสกันแล้วทั้งสองฝ่ายละเลยไม่ไปจดทะเบียนอันไม่นับว่าเป็นความผิดของหญิงฝ่ายเดียว ดังนี้ชายจะฟ้องเรียกสินสอดและของหมั้นคืนไม่ได้ (อ้างฎีกาที่659/2487 และ 269/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดในการจดทะเบียนสมรสและการคืนเงินหมั้นสินสอด กรณีฝ่ายชายไม่ยอมจดทะเบียน
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนชายเป็นฝ่ายผิดไม่ยอมจดทะเบียนเอง จะเรียกเงินหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบุตรเมื่อบิดาถูกฆ่า: แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุตรก็มีอำนาจฟ้องได้
บุตรของผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตาย ถือเป็นผู้สืบสันดาน เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ ไม่ว่าบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสต่างประเทศ และการใช้หนังสือหย่าตามกฎหมายแพ่ง
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา กัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย มีพยานลงลายมือชื่อสองคน ดังนี้ ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่าง บริบูรณ์ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1498.
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณต่างประเทศได้จดทะเบียน ณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนัก วานฑูตหรือกงศุลไทย ตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้น การสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้จดทะเบียนตาม ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.ม.แพ่งฯ ก็ใช้ได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองโดยมีเจตนาที่จะครอบครองเป็นเจ้าของ แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ชายหญิงอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ชายเอาที่ดินของหญิงไปขายฝากไว้กับผู้อื่นโดยความรู้ เห็นยินยอมของหญิง ครบกำหนดไถ่ถอนก็ไม่ไถ่ ผู้รับซื้อที่ดินนั้นได้ปกครองที่นั้นอย่างเจ้าของต่อมาอีก 7 ปี เช่นนี้เมื่อปรากฎว่าที่ดินนั้นเป็นที่มือเปล่า ผู้รับซื้อฝากที่ไว้ย่อมได้สิทธิในที่นั้นโดยการครอบครองหญิงไม่มีสิทธิเอากลับคืนได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม้ช่วยบำรุงทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิแบ่ง
ที่ดินมีโฉนดเป็นของหญิงมาก่อนแต่งงานกับขาย และเมื่อแต่งงานกันแล้ว ก็มิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้อง ดังนี้ แม้ชายจะได้ช่วยบำรุงที่ดินนั้นให้มีราคาสูงขึ้นในระหว่างที่อยู่กินกับหญิง ชายก็หามีสิทธิที่จะฟ้องขอแบ่งที่ดินนั้น ได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1310 - 1314 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการจดทะเบียนสมรส: สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสและบิดามารดา
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนสมรสเป็นสิทธิส่วนบุคคลของคู่สมรส บิดามารดาให้ความยินยอมเฉพาะกรณีจำเป็น
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเองบิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็นฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชายหรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้วชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสกับผู้อื่นหลังมีภรรยาแล้ว และละทิ้งการเลี้ยงดู ถือเป็นเหตุให้ภรรยาเก่าฟ้องหย่าได้
ชายมีภรรยาอยู่แล้ว ยังไปมีภรรยาใหม่อีก แล้วพาภรรยาใหม่ไปจดทะเบียนสมรส และไม่ถือว่าภรรยาเก่าเป็นภรรยา ซึ่งแสดงว่าชายหมดอาลัยใยดีต่อภรรยาเก่าแล้ว ถือได้ว่า ชายกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อลักษณะการเป็นสามีภริยากับภรรยาเก่าอย่างร้ายแรง และชายยังมิได้ส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาเก่าและบุตรตามคำสัญญาประนีประนอมเป็นเวลาปีเศษ โดยไม่มีเหตุจำเป็นอันใด ดังนี้ ภรรยเก่าฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับชายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการแต่งงานไม่จดทะเบียน: สิทธิในการเรียกคืนสินสอดและเงินกองทุน
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่สนใจเรื่องจดทะเบียนสมรสชายจะฟ้องเรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้ เพราะฝ่ายชายสืบไม่สมฟ้องว่า หญิงผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย (ฎีกาที่ 659/2487) และจะเรียกค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1439 (2) ก็ไม่ได้ เพราะหญิงมิได้กระทำผิดสัญญาหมั้น
ส่วนเงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในการแต่งงานนั้น ยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่ข้อสัญญาผูกพันให้หญิงยึดเอาไว้ได้ ชายก็มีสิทธิเรียกคืนได้
of 16