พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาทโดยตรง
ผู้ร้องไม่ได้เป็นบุตรของ ส.แต่ส.จดทะเบียนสมรสกับล. และมีชื่อร่วมกันในที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) หลังจาก ส.ตายแล้ว ล.จึงตาย ผู้ร้องในฐานะบุตรของ ล.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง เมื่อกองมรดกของ ส.ตกเป็นของผู้ร้องอยู่ด้วยผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของส.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการเป็นทายาทโดยธรรม: สิทธิในการจัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 เดิมนั้นการสมรสซ้อนแม้จะไม่ถูกต้องก็ยังไม่เป็นโมฆะ จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะจึงต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านยังมีอยู่ ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมและมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ การที่ผู้คัดค้านมีสามีมาก่อนหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกหรือทำให้การจัดการมรดกไม่เหมาะสมแต่ประการใด และการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเด็กชาย ธ. เป็นบุตรของผู้ตายกับผู้คัดค้านนั้น แม้ไม่ถูกต้องก็เป็นการอ้างไปตามบันทึกในทะเบียนสมรสซึ่งผู้ตายกับผู้คัดค้านแจ้งไว้ ยังไม่ถึงขนาดที่ทำให้ผู้คัดค้านไม่เหมาะสมที่จะจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของที่ดินที่อ้างสิทธิ จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้นส่วนประเด็นที่ว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของตนก็ชอบที่จะไปดำเนินการขออายัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อยต่อไป ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่มีสิทธิคัดค้านในการที่ศาลจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างกันในคดีจัดการมรดกและฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ. โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลย โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงหาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสองไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ประเด็นการคัดค้านต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสิทธิการเช่าอาคารตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านและทรัพย์อื่นอันเป็นมรดกของผู้ตายไม่มี จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากในเรื่องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดก ความถูกต้องของเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ผู้ร้องที่ 1 มิได้อุทธรณ์คดีในส่วนส่วนผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นข้อยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 1ไม่มีสิทธิฎีกา สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านระบุชื่อ ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2แต่ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามเอกสารดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาทนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการเป็นผู้จัดการมรดก
คดีก่อน ส. ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ ส. ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องและคำร้องคัดค้านคดีถึงที่สุด ในคดีนี้ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องคัดค้านขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง คู่ความทั้งสองคดีจึงมิใช่คู่ความเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว เป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของปู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713สมควรตั้งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาท ไม่สามารถอ้างอายุความได้ แม้จัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นแม้จำเลยจะครอบครองนานเพียงใด จำเลยก็จะยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: กรณีผู้จัดการมรดกไม่เต็มใจเข้าจัดการมรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกเข้ารับตำแหน่งแล้ว ละเลยไม่จัดการมรดกตามหน้าที่ จึงให้สิทธิผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ คำร้องของ ผู้ร้องซึ่งขอให้ถอน ป. จากการเป็นผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรม บรรยายว่า ป. ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมปฏิเสธที่จะจัดการมรดก เป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกไม่เต็มใจเข้าจัดการมรดกโดยไม่เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้ ศาลย่อมยกคำร้องดังกล่าวได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน