คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษแต่ไม่เพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองจำคุก 1 ปี 4 เดือน และฐานพาอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาตจำคุก 8 เดือน แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยที่ 1ในข้อหาฐานมีอาวุธปืน 7,000 บาท และข้อหาฐานพาอาวุธปืน 2,000 บาทอีกสถานหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอาวุธปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาท
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีสิทธิได้รับไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พยานโจทก์คือ น.กับ ส.และร้อยตำรวจโทส. พนักงานสอบสวน ไม่ได้เบิกความว่า จำเลยที่ 4 ได้ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทั้งในเอกสารบันทึกประจำวันก็ไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวเช่นเดียวกัน เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าพยานโจทก์ที่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 4ได้ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฎีกาว่า คำเบิกความของร้อยตำรวจโท ส.มีความหมายอยู่ในตัวว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นฎีกาดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องคดีระหว่างแม่ลูก: คดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับโจทก์ว่ายื่นคำร้องขอออก น.ส.3ทับที่ดินโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว หาใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังตัวการเสียชีวิต และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์ที่ 13 ถึงแก่กรรมก่อนฟ้องเพียง 9 วัน ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเพราะสัญญาตั้งตัวแทนย่อมระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 วรรคสองและไม่ปรากฏว่าการฟ้องคดีนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตัวแทนต้องจัดการเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่าที่พิพาทไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยและลงโทษจำคุกเกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 233 ปี 4 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 16 ปี8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะโทษให้จำคุกจำเลยที่ 113 ปี 4 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 ปี 8 เดือน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การจำกัดสิทธิการโอนเช็คโดยผู้สั่งจ่าย และผลต่อการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารคือจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่าA/CPAYEEONLY อันได้ความเป็นทำนองเดียวกับเปลี่ยนมือไม่ได้ลงไว้ที่ด้านหน้าเช็ค แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออกจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงก็จะต้องผูกพันตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือโอนโดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือไม่ได้เพราะมาตรา 917 วรรคสอง บัญญัติให้โอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญเพียงวิธีเดียวเพื่อการโอนไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เจ้าหนี้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดดอกเบี้ยค้างชำระให้เจ้าหนี้แล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์คดีอาวุธปืน แก้ไขโทษจำคุกเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7,55,78 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 38,55,78 จำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับคำให้การ: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยก คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(1)
of 33