คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการแสดงข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงให้ชำระหนี้แทนเจ้าหนี้
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริตเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนฐานฉ้อโกงเมื่อกรรมเดียวกันกับความผิดใช้เช็ค การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงต้องห้าม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้วแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบคู่มือจดทะเบียนรถไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม ความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวก ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 83, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265, 341
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกทรัพย์คืนในคดีฉ้อโกง ต้องมีการสูญเสียทรัพย์สินจริงก่อน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ป.วิ.อ.มาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการฉ้อโกงต้องเกิดจากการสูญเสียทรัพย์สินโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเดี่ยวประกอบกับพยานหลักฐานอื่น เชื่อได้ถึงความผิดฐานฉ้อโกงและซ่องโจร
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญเพียงคนเดียว ซึ่งโดยปกติพยานเดี่ยว เช่นนี้จะมีน้ำหนักในการรับฟังน้อย แต่หาใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เลย หากโจทก์มี พยานหลักฐานอื่นที่ดีมาร่วมวินิจฉัยเข้าด้วยกันแล้วพยานเดี่ยว ดังกล่าวก็สามารถรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศและฉ้อโกง: ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้ถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าว ข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐาน ฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายไม้ การส่งมอบไม้ไม่ครบถ้วน ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่เป็นผิดสัญญา
แม้ขณะจำเลยทำสัญญาขายไม้ไข่เขียวให้แก่โจทก์ร่วมจำเลยจะไม่ใช่ผู้รับสัมปทานทำไม้ในอ่างเก็บน้ำป่าพยอมโดยตรงตามที่อ้างต่อโจทก์ร่วมก็ตาม แต่จำเลยก็ได้เข้าทำไม้และทำสัญญาซื้อไม่ไข่เขียวจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ไว้พอที่จะขายให้แก่โจทก์ร่วมตามจำนวนที่โจทก์ร่วมตกลงซื้อไว้แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยตกลงทำสัญญาขายไม้ไข่เขียวให้โจทก์ร่วม รับเงินค่าไม้ไปจากโจทก์ร่วมและส่งไม้ให้โจทก์ร่วมเพียง 2 ครั้ง ไม่ครบถ้วนตามสัญญาจึงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง มิใช่เป็นการทุจริตหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
of 94