พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย: ศาลมีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา หากเป็นหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของ ว. ให้ร่วมรับผิด ใน ผลแห่งละเมิดที่ ว. ได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ให้ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจ แบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 2จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา คงฎีกาขึ้นมาเฉพาะ จำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่เมื่อศาลฎีกาฟังว่า ว. มิได้ขับรถโดยประมาท พิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ย่อมมี อำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 ประกอบด้วย มาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงสละสิทธิเรียกร้องในสัญญาประกันภัย: ไม่ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย
สัญญาประกันภัยที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยมีข้อความว่า "ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการเรียกร้องนั้น" หมายถึงกรณีที่มีบุคคลอื่นเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลนั้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยผู้รับประกันภัย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจส่งผลผูกพันต่อบริษัทจำเลยในการที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยหรือเป็นเงื่อนไขที่มีความหมายในทางป้องกันหรือห้ามมิให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดการที่โจทก์ได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายต่างสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน จึงมิใช่ยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา ทำให้สิทธิในการฟ้องของโจทก์ระงับ และการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชอบ
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 จึงไม่ชอบ ต้องจำหน่ายคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดตามฟ้องพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องอุทธรณ์และการรอการลงโทษ จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดและถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 7ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยทั้งเจ็ดต่อไป ดังนี้แม้ข้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีเจตนาที่จะถอนฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 คงอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 7 แล้วพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีความผิดตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้น คำสั่งและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การผิดสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการอุทธรณ์คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.จำนวน100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลง โดยทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยวินาศภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนเมื่อทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด และหลักการสันนิษฐานมูลค่าความเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 877 วรรคสองบัญญัติให้เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกวินาศภัยไปทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เอาประกันภัย เว้นแต่ผู้รับประกันภัยพิสูจน์หักล้างได้ว่าความเสียหายของทรัพย์นั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัย จึงจะถือเอาความเสียหายที่เป็นจริงซึ่งต่ำกว่าได้จำเลยทั้งหกรับประกันภัยโกดังและสินค้าของโจทก์โดยรับประกันภัยโกดังในวงเงิน 1,000,000 และรับประกันภัยสินค้าในวงเงิน6,000,000 บาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์สินของโจทก์ที่เอาประกันภัยมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 7,000,000 บาท จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ได้เอาประกันภัยไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และการชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราที่กำหนด
เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไปรษณียภัณฑ์ สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง ของจำเลย มิได้เกิดจากการทุจริตของพนักงานจำเลย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะที่ไปรษณีย์นิเทศกำหนดไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างมิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นโดยตรง และศาลมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีกและศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจศาลเช่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม และแม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย นั่นเอง มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติ ที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ในทางพิจารณา ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดี ใน กรณี นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้า ศาลแรงงาน เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มี อำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจ ศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็น ประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงาน ใช้อำนาจตาม มาตรา49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจ ไว้ เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้ อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็น กรณี ที่ โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ได้ ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ ศาลแรงงาน พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มี กฎหมาย ห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์ เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลา ที่ ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลย กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ ทำงานให้จำเลยก็ตามพระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับ ให้ นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อ ศาลแรงงาน พิพากษา ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา, การรับสารภาพ, และการแก้ไขโทษบทอาวุธปืน
พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยเอาเงินของผู้ตายไปจำนวน 9,100 บาท แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาใช่มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน9,100 บาท ของผู้ตายไปอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและตามความเสียหายที่จำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และบันทึกการชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพได้ความว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงินจำนวน 200 บาท ของผู้ตายจากกระจาด เก็บเงินไป เช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท.