คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชัดเจน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่ ศาลอาจพิพากษาต่างไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วผลอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพาทไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องกล่าวคัดค้านคำตัดสินในคำร้องโดยชัดเจน การกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ใช้ไม่ได้
การขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดและแพ้คดีจะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้น ดังนั้นคู่ความดังกล่าวจะต้องกล่าวคำคัดค้านคำตัดสินของศาลในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะไปกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องย่อมเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดอย่างชัดเจน แม้เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและเหตุผล
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยซึ่งมีข้อความว่า ที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยค้างชำระค่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง 2 งวด กับค่าก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น ไม่เป็นความจริง หากจำเลยได้เข้ามาสู้คดีกับโจทก์ จำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้แน่นอน แล้ว ต่อจากนั้นจำเลยก็ได้บรรยายมาในคำขอโดยละเอียดถึงสาเหตุที่จำเลยไม่จ่ายเงินค่าจ้างรับเหมาและค่าก่อสร้างเพิ่มเติมดังกล่าวเช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยชัดแจ้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน มีผลให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า "ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ ฯลฯ" นั้น ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า "ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ ฯลฯ " ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่า อันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน โจทก์มีแต่สิทธิอาศัย
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรม.มีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี)อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า. ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้น. ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ'. ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง.
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย. จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม. โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันหลังทราบการบังคับคดี และต้องระบุข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2509 โดยอ้างว่าจำเลยได้กลับมาบ้านเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2509 รุ่งขึ้นก็ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลย เช่นนี้ จำเลยจึงรู้ได้ว่าถูกฟ้องและมีการบังคับคดีแล้ว แต่ไม่ได้ยื่นคำขอ ฯ ภายในกำหนด 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ทั้งคำขอของจำเลยก็มิได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้ง ซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาลว่าไม่ถูกต้องประการใด คำขอของจำเลยขาดองค์ประกอบสำคัญที่ศาลจะพึงรับไว้ได้ และตามรูปคดีศาลก็ไม่จำต้องทำการไต่สวนคำขอของจำเลยต่อไป เพราะตามคำขอของจำเลยก็พอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันหลังรู้ถึงการบังคับคดี และต้องระบุข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2509โดยอ้างว่าจำเลยได้กลับมาบ้านเมื่อวันที่ 27 กันยายน2509. รุ่งขึ้นก็ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลย. เช่นนี้ จำเลยจึงรู้ได้ว่าถูกฟ้องและมีการบังคับคดีแล้ว. แต่ไม่ได้ยื่นคำขอฯภายในกำหนด 15 วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208. ทั้งคำขอของจำเลยก็มิได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้ง ซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาลว่าไม่ถูกต้องประการใด. คำขอของจำเลยขาดองค์ประกอบสำคัญที่ศาลจะพึงรับไว้ได้. และตามรูปคดีศาลก็ไม่จำต้องทำการไต่สวนคำขอของจำเลยต่อไป. เพราะตามคำขอของจำเลยก็พอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031-1041/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องการปลูกสร้างอาคาร ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำประเภทใด จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 7 แยกเป็นการกระทำได้ 3 อย่างคือ (1) สร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วน (2) ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคารนั้นมาก หรือเป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก (3) แปลงอาคารสำหรับบุคคลอาศัยเป็นอาคารเพื่อประโยชน์อย่างอื่นกลับกัน การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ถือว่าทำการปลูกสร้างอาคาร ฉะนั้น โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำการปลูกสร้างอาคารเท่านั้นก็ไม่ชัดพอจะให้จำเลยเข้าใจฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างอาคารอย่างไหนในสามอย่างดังกล่าว
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมากดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031-1041/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องฐานปลูกสร้างอาคาร ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อกล่าวหา
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 7แยกเป็นการกระทำได้ 3 อย่างคือ (1) สร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วน (2) ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคารนั้นมาก หรือเป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก (3) แปลงอาคารสำหรับบุคคลอาศัยเป็นอาคารเพื่อประโยชน์อย่างอื่นหรือกลับกัน การกระทำอย่างใดหนึ่งในสามอย่างนี้ถือว่าทำการปลูกสร้างอาคาร ฉะนั้น โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำการปลูกสร้างอาคารเท่านั้นก็ไม่ชัดพอจะให้จำเลยเข้าใจฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างอาคารอย่างไหนในสามอย่างดังกล่าว
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก ดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
of 18