คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาไม่รับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษาลงโทษกักขังแทนจำคุก ถือเป็นการต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี และกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ การอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และคำขอคืนเงินไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ศ. หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกค้าและทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ศ. ว่าบริษัท ศ. มีนโยบายสมนาคุณให้แก่ลูกค้าพิเศษ มีโครงการรับฝากเงินแบบออมทรัพย์พิเศษจากลูกค้าโดยจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าทุก 6 เดือน อันเป็นความเท็จ โจทก์ร่วมหลงเชื่อสั่งจ่ายเช็ค 21 ฉบับ ให้จำเลยแล้วจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ศาลต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินแต่ละครั้งตามวันเดือนปีที่โจทก์ร่วมสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับให้แก่จำเลยหรือโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินเพียงครั้งเดียว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ขอให้คืนเงินแม้ถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แต่เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีแพ่งโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยและบริษัท ศ. ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์และเรียกทรัพย์คืนอันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับส่วนแพ่งในคดีนี้และคดีแพ่งเป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 คำขอให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยและบริษัท ศ. ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8488/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาเรื่องนอกฟ้อง/นอกสำนวน เนื่องจากศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ยกฟ้องตามมาตรา 220 ป.วิ.อ.
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ข้อห้ามมิให้ฎีกาเช่นว่านี้ ย่อมห้ามมิให้ฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ที่ร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีการะบุชัดเจนเจาะจงว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดจึงอนุญาตให้ฎีกา ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อเท็จจริงตามความประสงค์ของโจทก์หาได้มีผลเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยนอกคำฟ้องและนอกสำนวนหรือไม่นั้น อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7798/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
เนื้อหาฎีกาของผู้ร้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญล้วนคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียดซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ควรวินิจฉัยอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 หมดสิทธิฎีกา หลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีฆ่าผู้อื่น
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตาม ป.อ. มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิ้น คงมีการแก้ไขเฉพาะคำว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นศาลฎีกา และมีส่วนเพิ่มเติม พิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิดไปจากอุทธรณ์บ้างเล็กน้อยในรายละเอียด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่า พิพากษาไม่ชอบอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพราะเหตุใด ทั้งเหตุผลในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีบางส่วนก็แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 12