พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและเบี้ยปรับ: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินสมควร, หนี้จำนองคิดดอกเบี้ยตามหนี้ประธาน
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จำกัด จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้กู้ได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ และตามประกาศของบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อขณะทำสัญญากู้เงิน โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี และต่อมาได้ทำสัญญากู้เพิ่มกำหนดดอกเบี้ยใหม่เป็นอัตราร้อยละ 12.5ต่อปี แม้จะมีข้อตกลงต่อไปว่า ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ถูกต้องจำเลยยอมให้โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดและคิดดอกเบี้ยในเงินต้นที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เดิมจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใดหนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงเท่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้จากหนี้ตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งตามสัญญากู้เงินเพิ่มเติมครั้งที่ 1จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพิ่มอีก โดยระบุว่าจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงตามเจตนาของคู่สัญญา อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยผิดสัญญาโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับจากอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ลงโดยกำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงจึงไม่ถูกต้อง
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใดหนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงเท่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้จากหนี้ตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งตามสัญญากู้เงินเพิ่มเติมครั้งที่ 1จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพิ่มอีก โดยระบุว่าจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงตามเจตนาของคู่สัญญา อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยผิดสัญญาโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับจากอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ลงโดยกำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย, การชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ย
ธนาคารโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ความคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ขณะเดียวกันก็เป็นการรับรองต่อผู้ขายสินค้าว่าผู้ขายสินค้าจะได้รับการชำระเงินอย่างแน่นอน ถ้าผู้ขายสินค้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1รับเอาไม้ไปขายก่อนก็เพื่อนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ดังกล่าว
หากก่อนผิดนัดลูกหนี้ตกลงให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ย่อมถือว่ามีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้ตามอัตราที่ตกลงกันก่อนผิดนัดนั้น ข้อตกลงต่อท้ายคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ชัดเจนเพียงพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใดอย่างแน่ชัด และแม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้เอง แต่ก็เป็นเพียงกรอบอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จะต้องนำไปตกลงกับลูกค้าแต่ละรายต่อไป โดยต้องไม่เกินอัตราตามที่ประกาศไว้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของโจทก์นั้นมาใช้บังคับผูกพันจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว และโจทก์ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินจำนวนตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับรองตั๋วไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด ย่อมมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามอัตราดังกล่าวเช่นเดียวกัน
โจทก์คิดดอกเบี้ยของต้นเงินแล้วนำต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป มีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1รับเอาไม้ไปขายก่อนก็เพื่อนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตระงับ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ดังกล่าว
หากก่อนผิดนัดลูกหนี้ตกลงให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ย่อมถือว่ามีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้ตามอัตราที่ตกลงกันก่อนผิดนัดนั้น ข้อตกลงต่อท้ายคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ชัดเจนเพียงพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใดอย่างแน่ชัด และแม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้เอง แต่ก็เป็นเพียงกรอบอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จะต้องนำไปตกลงกับลูกค้าแต่ละรายต่อไป โดยต้องไม่เกินอัตราตามที่ประกาศไว้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของโจทก์นั้นมาใช้บังคับผูกพันจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว และโจทก์ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินจำนวนตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับรองตั๋วไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด ย่อมมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามอัตราดังกล่าวเช่นเดียวกัน
โจทก์คิดดอกเบี้ยของต้นเงินแล้วนำต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป มีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา กู้ยืมเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลแก้ไขคำพิพากษาดอกเบี้ย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14ขณะจำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดให้สินเชื่อโจทก์จึงมีคำสั่งและประกาศอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยชั้นดีโดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีทั้งประเภทเบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้แบบมีระยะเวลาอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยชั้นดีในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราตามคำสั่งและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี จึงตกเป็นโมฆะ แม้ตามความจริงโจทก์จะคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ เมื่อข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้วเท่ากับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีกแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเฉพาะประเด็นดอกเบี้ยผิดกฎหมาย
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยมิได้ยื่นก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า7 วัน แต่ยื่นในวันนัดสืบพยาน เป็นการขอเพิ่มเติมคำให้การเพื่อโต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ตามข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14(2) ที่บัญญัติให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ บัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ที่ฝ่าฝืนมีความผิดทางอาญาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ข้ออ้างของจำเลยที่ขอเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การว่า การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะหลังจากทำสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อแลกเป็นเงินบาทต้องใช้เงินบาทสูงขึ้นมาก และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นมากจนจำเลยที่ 1 มีหนี้เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริงทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบกับเพิ่มเติมเป็นคำให้การว่า หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่เป็นหนี้การซื้อขายเงินตราต่างประเทศแล้ว และสัญญาค้ำประกันกับสัญญาจำนองตามคำฟ้องเป็นการค้ำประกันและจำนองประกันการชำระหนี้ประเภทอื่นไม่ได้ประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่มาเพิ่มเติมเป็นคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิด ซึ่งข้อเท็จจริงที่อ้างเป็นเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวแม้เป็นเหตุที่อาจมีผลต่อคู่สัญญาบางรายได้ แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การว่า การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะหลังจากทำสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อแลกเป็นเงินบาทต้องใช้เงินบาทสูงขึ้นมาก และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นมากจนจำเลยที่ 1 มีหนี้เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริงทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบกับเพิ่มเติมเป็นคำให้การว่า หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่เป็นหนี้การซื้อขายเงินตราต่างประเทศแล้ว และสัญญาค้ำประกันกับสัญญาจำนองตามคำฟ้องเป็นการค้ำประกันและจำนองประกันการชำระหนี้ประเภทอื่นไม่ได้ประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่มาเพิ่มเติมเป็นคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิด ซึ่งข้อเท็จจริงที่อ้างเป็นเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวแม้เป็นเหตุที่อาจมีผลต่อคู่สัญญาบางรายได้ แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากการซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ต่อมา ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวโดยฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเป็นจำเลย ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยในคดีดังกล่าว และให้จำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่ ส. พร้อมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ผลของคดีดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์หมดสิ้นไปทันที ทั้งที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ฝ่ายจำเลยผู้ขายไปครบถ้วนแล้ว กรณีจึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของฝ่ายจำเลยผู้ขาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. โจทก์ในคดีดังกล่าวยังมิได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยในคดีดังกล่าวจะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์คดีนี้ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขาย, การเพิกถอนสิทธิกรรมสิทธิ์, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองแล้ว ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ส. อันมีผลทำให้ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 5 ในคดีดังกล่าวหมดสิ้นไปทันที โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนยังมิได้ชำระเงิน ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยทั้งห้าจะต้องไปว่ากล่าวกันต่อไปในคดีดังกล่าว หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความถูกต้องของต้นเงินคำนวณดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ศาลทำได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามคำร้องของจำเลย เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค: เช็คเพื่อชำระหนี้จากการซื้อลดเช็ค แม้มีดอกเบี้ยสูงก็ไม่เป็นเหตุ
เช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองร่วมกันออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองขายลดเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับให้แก่โจทก์ แล้วเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับนั้นโจทก์ได้คิดส่วนลดหรือดอกเบี้ยล่วงหน้าคิดเป็นอัตราร้อยละ 21.9 ต่อปี ก็ตาม กรณีก็มิได้มีกฎหมายห้ามไว้เหมือนเช่นการให้กู้ยืมเงิน จึงถือไม่ได้ว่าเช็คตามฟ้องมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คตามฟ้องของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยในวันที่เช็คถึงกำหนด เงินในบัญชีของจำเลยที่ 1 มีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมที่อ้างอิงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์อันเป็นสถาบันการเงิน ย่อมอยู่ภายในบังคับแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 6 ซึ่งมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดที่สถาบันการเงินอาจคิดได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนั้นแม้สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยในช่องกำหนดอัตราร้อยละต่อปีจะเว้นว่างไว้โดยไม่มีการพิมพ์ตัวเลข แต่สัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากผู้กู้ได้ และยังระบุอีกว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยสินเชื่อทั่วไปที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนดให้เรียกจากผู้กู้ยืมได้ ซึ่งหมายความว่า หลังจากทำสัญญาแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ให้กู้ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยตามสัญญาได้ในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ให้กู้ประกาศใช้บังคับใหม่ทันที โดยไม่จำต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงแก่ผู้กู้และให้ถือปฏิบัติเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ครบถ้วน อันเป็นข้อตกลงที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมชัดแจ้งแล้ว และไม่ว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดจะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินหรือไม่ก็ตาม เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในอัตราต่าง ๆ ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งโจทก์พึงมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้ยืมเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขคำพิพากษาการบังคับจำนอง
สัญญากู้ยืมเงินระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ความจริงตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ในทางปฏิบัติที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญา มิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกขณะทำสัญญาเกินอัตราตามประกาศของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุหมายเลขโฉนดที่ดินซึ่งให้บังคับจำนองผิดพลาด โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น
ในทางปฏิบัติที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญา มิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกขณะทำสัญญาเกินอัตราตามประกาศของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุหมายเลขโฉนดที่ดินซึ่งให้บังคับจำนองผิดพลาด โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น