พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้องคดีฆ่าสัตว์ การระบุประเภทสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ป่าในคำฟ้อง
คำฟ้องที่บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันฆ่ากระบือโดยมิได้รับอนุญาตและมิได้เสียอากรฆ่าสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2502 มาตรา 6,18 นั้น. ย่อมเป็นการแสดงว่ามุ่งหมายถึงสัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าอยู่ในตัว.ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นสัตว์บ้านหรือสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด. จึงถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า "เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา" การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้ทำพินัยกรรมคือยกที่ดินทั้งหมด แม้ระบุเนื้อที่ในพินัยกรรมไม่ตรงกับความเป็นจริง
พินัยกรรมมีความว่า "ฯลฯ ข้อ 1 (1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ด.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1. ที่ดินตามข้อที่ 1(1) ทางทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี 2. ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรี แล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียวฯลฯ " ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวา ตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลย การที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม โจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์ จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้มอบมรดกอยู่ที่เนื้อที่ดินทั้งหมดตาม ส.ค.1 แม้ระบุตัวเลขไม่ตรง
พินัยกรรมมีความว่า 'ฯลฯ ข้อ 1(1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ค.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1 ที่ดินตามข้อ 1(1) ทางด้านทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี2 ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรีแล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียว ฯลฯ' ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวาตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลยการที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมโจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จำเลยเพียงนำไม้เข้าเขตด่านป่าไม้ ไม่ถือว่า 'ผ่าน' ด่าน
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ฯลฯ แต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผ่าน" ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไป ลัดไป หรือข้ามไป ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้ จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 41 ต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตฯลฯแต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'ผ่าน' ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไปลัดไป หรือข้ามไปฉะนั้นเมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้ จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องกรณีลักลอบนำสิ่งของเข้าเรือนจำ ศาลตีความ 'ลักลอบ' ครอบคลุมทั้งความผิดตามกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า 'เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวันจำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37,39,45 วรรคสาม และริบของกลางฯลฯ' โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า 'เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ' ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรณ์แล้ว เพราะกิริยา'ลักลอบ' หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 29/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ไม้ยางทุกชนิด' ในพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม: ไม้ยางแดงจัดเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่
"ไม้ยางแดง" คือ "ไม้ยางทุกชนิด" อันเป็นไม้หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2497 อันดับ 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า "แซง" ในความหมายทั่วไปตามพจนานุกรม เมื่อไม่มีนิยามเฉพาะในกฎหมายจราจร
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไ้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหาและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดา คือ หมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียด คือ เบียดเข้าไปหรือ เฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่ และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกันข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'แซง' ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก: การกระทำที่เบียดเสียดหรือเฉียดไป แม้จะเป็นการสวนกัน ก็อาจเข้าข่ายได้
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไว้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหายและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดาคือหมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียดคือเบียดเข้าไปหรือเฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกัน ข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง