คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องตีความตามถ้อยคำอย่างเคร่งครัด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากความเสียหายไม่ได้เกิดจากการเก็บเงินตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันบุคคลผู้มีหน้าที่เก็บเงินของการไฟฟ้า ฯ ไว้ว่า ถ้าบุคคลนั้นทำความเสียหายเป็นเหตุให้เงินของการไฟฟ้า ฯ ที่ตนได้รับมอบหมายไปเก็บจากลูกหนี้ขาดหายสูญเสียไปด้วยประการใด ๆ ก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมรับชดใช้ให้ นั้น หากปรากฏว่าบุคคลนั้นปลอมแปลงใบเสร็จรับเงินแล้วไปเก็บเงินของการไฟฟ้า ฯ เอาเสียเองแล้ว จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดเพราะมิได้มีการมอบหมายให้ไปเก็บเงินแต่อย่างใด และการตีความตามสัญญาเช่นนี้ ก็ต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะแปลเอาตามเจตนารมย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและแจ้งความเท็จ: จำเลยเข้าใจสัญญาถูกต้องตามเจตนา แม้ข้อความไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นแจ้งความเท็จ
โจทก์จำเลยทำสัญญากัน โดยจำเลยยอมให้เอาที่ดินของจำเลยให้โจทก์ยื่นคำร้อง ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ในการนี้โจทก์ตกลงให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน ต่อมาพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อพนักงานโลหกิจว่า จนบัดนี้ โจทก์ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองได้ จำเลยจึงขอคัดค้านการอ้างสิทธิของโจทก์โดยจำเลยไม่ยอมให้ใช้ที่ดินของจำเลย ฯลฯ เช่นนี้ แม้ความจริงโจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญากันนั้นไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อความในสัญญามีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจได้ดังคำร้องคัดค้านของจำเลยแล้ว โจทก์จะหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและการแจ้งความเท็จ: จำเลยไม่ได้แจ้งความเท็จ แต่เป็นการเข้าใจสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญากัน โดยจำเลยยอมให้เอาที่ดินของจำเลยให้โจทก์ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ในการนี้โจทก์ตกลงให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน ต่อมาพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อพนักงานโลหกิจว่า จนบัดนี้ โจทก์ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองได้ จำเลยจึงขอคัดค้านการอ้างสิทธิของโจทก์โดยจำเลยไม่ยอมให้ใช้ที่ดินของจำเลย ฯลฯ เช่นนี้ แม้ความจริงโจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญากันนั้นไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อความในสัญญามีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจได้ดังคำร้องคัดค้านของจำเลยแล้ว โจทก์จะหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและสัญญากู้เกี่ยวเนื่องกัน: ตีความขัดแย้งเป็นคุณแก่ลูกหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายรถยนต์กัน แต่รถยนต์ต้องซ่อม ผู้ขายจึงตกลงให้ผู้ซื้อกู้เงินไปซ่อมด้วย ถ้ากำหนดเวลาใช้ต้นเงินคืนตามสัญญากู้ขัดกันกับที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขาย ต้องตีความการใช้ต้นเงินกู้ให้เป็นคุณแก่ผู้กู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและสัญญากู้ที่ขัดแย้งกัน: ตีความให้เป็นคุณแก่ลูกหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายรถยนต์กัน แต่รถยนต์ต้องซ่อม ผู้ขายจึงตกลงให้ผู้ซื้อกู้เงินไปซ่อมด้วย ถ้ากำหนดเวลาใช้ต้นเงินคืนตามสัญญากู้ขัดกันกับที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขาย ต้องตีความการใช้ต้นเงินกู้ให้เป็นคุณแก่ผู้กู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเหมาที่ดิน: การตีความเนื้อที่และราคาตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินแม้จะไม่ระบุว่าขายเหมา ถ้าข้อสัญญาแสดงว่าซื้อขายกันทั้งแปลงตามที่ระบุและทำแผนที่สังเขปไว้โดยตกลงราคาแน่นอนระบุเนื้อที่ดินแต่โดยประมาณไม่กำหนดว่าตารางวาละเท่าใด ฯลฯ ถือเป็นการขายเหมาเนื้อที่เกินจากที่ประมาณไว้ผู้ขายจะเรียกราคาเพิ่มไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดในระยะเวลาที่จำกัด และผลของการประกันภัย
สัญญานั้นต้องตีความในทางที่คู่กรณีอาจปฏิบัติได้การปฏิบัติของคู่สัญญาอาจประกอบให้เห็นเจตนาแท้จริงได้
สัญญาค้ำประกันมีว่า "ใช้สำหรับระหว่าง 2 เดือน" หมายความว่าผู้ค้ำประกันรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างเวลานั้น แม้จะค้างชำระอยู่จนพ้นกำหนดนั้นไปก็ตามไม่ใช่ว่าถ้ายังไม่ชำระหนี้ให้เสร็จภายใน 2 เดือน ผู้ค้ำประกันไม่รับผิดชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำขอท้ายฟ้องและเจตนาของโจทก์ในการแบ่งทรัพย์สินมรดก
คำข้อท้ายฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ของหุ้นส่วนที่มีข้อความว่า "ขอได้โปรดแบ่งที่ดินพร้อมด้วยโรงสีและห้องแถว ............. ให้เป็นของโจทก์ 1 ส่วนเป็นเงิน 40,000 บาท โดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด" นั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ต้องการ เงินค่าทรัพย์สินเพียง 40,000 เท่านั้น การตั้งทุนทรัพย์มาเป็นแต่เพียงเพื่อเสียค่าขึ้นศาล ส่วนการแบ่งทรัพย์ ถ้าไม่ตกลงกันต้องประมูลหรือขายทอดตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายที่ดินและการไถ่ถอนจำนอง การลงนามมอบอำนาจไม่ใช่การขยายเวลาไถ่ถอน
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2(คือ จำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรสิทธิให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้" ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า "และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้นย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนา ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือน นั้นก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและไถ่ถอนจำนอง: การตีความกำหนดเวลาตามสัญญา
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2 (คือจำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้ " ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า " และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว เพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้น ย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง
of 17