พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดี หากโจทก์ทราบว่าจะต้องแพ้คดี และมีเจตนาทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองหมายความว่าให้ศาลพิจารณาถึงความสุจริตของโจทก์ในการดำเนินกระบวนพิจารณาประกอบด้วยหากปรากฎต่อศาลว่าการที่โจทก์ขออนุญาตถอนฟ้องอาจทำให้เสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษาโดยโจทก์แถลงรับข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคำฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวอ้างถึงกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้กระทำการไว้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีเห็นได้ชัดว่าโจทก์รู้ดูว่าจะต้องแพ้คดีพฤติการณ์ขอถอนฟ้องคดีของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตซึ่งทำให้จำเลยเสียเปรียบการที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับความเสียหายและการถอนฟ้องคดีแรงงานจากการแถลงมติคณะกรรมการ
ในระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงยอมรับมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์กับมีมติให้ ส.ไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลและฝ่ายโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีนี้หากศาลมีคำสั่งเรียก ส.มาแถลงเพื่อยืนยันมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าว และเนื่องจากมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในคดี จึงมีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเรียก ส.กับพวกมาศาลเพื่อแถลงถึงมติที่ประชุมดังกล่าวให้ได้ความชัดเจนในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามหรือไม่ โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 45 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เมื่อ ส.กับพวกมาศาลแถลงว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม กรณีก็ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6750/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความถอนฟ้อง, อายุความครอบครอง, การฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ถึงที่7ให้ออกจากที่ดินพิพาทการดำเนินคดีดังกล่าวโจทก์ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่8เป็นทนายความดำเนินคดีแทนและได้ให้อำนาจจำเลยที่8ถอนฟ้องได้ด้วยจำเลยที่8จึงมีอำนาจถอนฟ้องได้ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจหากการกระทำของจำเลยที่8ก่อให้เกิดความเสียหายก็เป็นความผิดของโจทก์ในการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่8กับพวกฉ้อฉลโจทก์ทำให้การถอนฟ้องเป็นโมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่การที่จำเลยที่8ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการกระทำของจำเลยที่8หากเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดโจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยที่8ต่างหากได้เมื่อการที่จำเลยที่8ถอนฟ้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการถอนฟ้องได้ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่1ถึงที่7พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้นถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองและข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่1ถึงที่7ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี253ตลอดมาและโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่10สิงหาคม2533เป็นเวลาเกินกว่า1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการถอนฟ้องคดีอาญา – ความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งถอนฟ้องคดีอาญา และผลกระทบของการถอนฟ้องโดยโจทก์ร่วม
จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องให้ครอบคลุมประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาจเป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงจากท้องสำนวนประกอบคำร้องขอถอนฟ้องและคำคัดค้านโดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่และเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อจะฟ้องใหม่โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ จำเลยให้การต่อสู้คดีประการหนึ่งว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องเพราะได้เวนคืนที่ให้แก่จำเลยที่1แล้วจึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งโจทก์ก็ได้เสนอประเด็นข้อพิพาทนี้ต่อศาลแต่ในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และตามคำร้องขอถอนฟ้องก็อ้างเหตุว่าเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ให้รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยและเป็นเวลาหลังชี้สองสถานซึ่งโจทก์ไม่สามารถแก้ไขคำฟ้องได้แสดงว่าโจทก์ถอนฟ้องไปเพื่อจะแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันอาจทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบในการต่อสู้คดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและผลกระทบต่อคู่ความภายนอก: ศาลไม่อาจบังคับคดีกับผู้ที่ถูกถอนฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2แล้ว การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย มีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันยุติและจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไป แต่กลับเป็นบุคคลภายนอก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องคดีอาญา – ศาลอนุญาตได้ก่อนคดีถึงที่สุดหากจำเลยไม่คัดค้าน ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา และเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกาแล้ว ย่อมไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว ศาลอนุญาตได้ก่อนคดีถึงที่สุดเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(2) ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา และเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกาแล้ว ย่อมไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลย