พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำให้การเกินกำหนด ทำให้โจทก์เสียเปรียบและต้องรับผิดในสัญญา
จำเลยในฐานะทนายความของโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำคำให้การแทนโจทก์ และต้องยื่นให้ทันภายในกำหนดเวลายื่นคำให้การ เมื่อจำเลยนำคำให้การมายื่นเมื่อพ้นระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว ทั้งมิได้ดำเนินการเพื่อขออนุญาตยื่นคำให้การ ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการดำเนินคดีอย่างยิ่งถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และถึงแม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยมีเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการมอบฉันทะและขอบเขตการดำเนินการแทนจำเลยในเรื่องค่าธรรมเนียมศาล
ทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า เป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่า ทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์เมื่อทนายความใช้ดุลพินิจและลงลายมือชื่อแทนจำเลย ย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 5ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ ดังนั้น ทนายความดังกล่าวจึงมีดุลพินิจเต็มที่ว่าข้อความที่จะตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเสียเปรียบหรือไม่เหมาะสมก็มีอำนาจที่ไม่ยอมตกลงและต่อรองได้ คดีนี้ได้มีการเจรจาและเลื่อนคดีมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้มาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1และที่ 5 แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทำไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลงลายมือชื่อตัวแทนเป็นสำคัญ เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ซึ่งจะต้องรับผิดใช้เงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์และฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และ 851ทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์ประพฤติผิดสัญญาข้อใด และสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ไม่ขัดต่อสิทธิของจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จะขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 5ที่อ้างว่าเคยเจรจากับกรรมการบริหารของโจทก์ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาคิดดอกเบี้ย ทำนองว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตรงตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงเหตุก่อนการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ยอมตกลงจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยมีโอกาสใช้ดุลพินิจเต็มที่แล้วจึงตกลงเช่นนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 5 ไม่อาจขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยและหน้าที่ของทนายความ
ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายเวลากำหนดยื่นฎีการวมสองครั้งแล้วต่อมาทนายโจทก์อ้างว่าต้องเดินทางไปจัดการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินที่จังหวัดระนองเมื่อเสร็จธุรกิจแล้วเช้ามือของวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาทนายโจทก์ขับรถยนต์กลับกรุงเทพมหานครแต่รถยนต์ออกจากจังหวัดระนองไปได้ประมาณ20กิโลเมตรเศษก็เกิดอุบัติเหตุตกคูน้ำข้างถนนต้องนำรถยนต์ไปซ่อมทนายโจทก์นั่งรถยนต์โดยสารเข้ากรุงเทพมหานครทำฎีกาใหม่ไปยื่นต่อศาลหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ดังนี้ถึงแม้ว่ารถยนต์ส่วนตัวของทนายโจทก์จะเกิดเสียหายในวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาแต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา10 เปิดโอกาสไว้หรือแจ้งต่อกรรมการโจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เพื่อให้ตัวความไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นเองฉะนั้นเหตุการณ์ตามที่ทนายโจทก์กล่าวอ้างจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6750/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความถอนฟ้อง, อายุความครอบครอง, การฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ถึงที่7ให้ออกจากที่ดินพิพาทการดำเนินคดีดังกล่าวโจทก์ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่8เป็นทนายความดำเนินคดีแทนและได้ให้อำนาจจำเลยที่8ถอนฟ้องได้ด้วยจำเลยที่8จึงมีอำนาจถอนฟ้องได้ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจหากการกระทำของจำเลยที่8ก่อให้เกิดความเสียหายก็เป็นความผิดของโจทก์ในการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่8กับพวกฉ้อฉลโจทก์ทำให้การถอนฟ้องเป็นโมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่การที่จำเลยที่8ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการกระทำของจำเลยที่8หากเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดโจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยที่8ต่างหากได้เมื่อการที่จำเลยที่8ถอนฟ้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการถอนฟ้องได้ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่1ถึงที่7พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้นถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองและข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่1ถึงที่7ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี253ตลอดมาและโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่10สิงหาคม2533เป็นเวลาเกินกว่า1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท: การกล่าวถึงสำนักงานทนายความและเจตนาใส่ความ
ข้อความที่จำเลยกล่าวว่า "สำหรับ อ.นั้น ขอให้พิจารณาเป็นพิเศษด้วย เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว" คำว่า "จุ้นจ้าน"เป็นคำกริยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 มีความหมาย 2 นัยนัยแรกคือ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือนัยที่สองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด เมื่อพิจารณาทั้งประโยคที่ว่า "เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล"จึงน่าจะมีความตามความนัยแรกคือ โจทก์เข้าไปเดินหากินยุ่งเกี่ยวในศาลในลักษณะพลุกพล่าน ยุ่มย่าม จนน่าเกลียด เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ติดต่อให้โจทก์เป็นทนายความที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช และจำเลยเอาเงินค่าจ้างว่าความส่วนหนึ่งไปให้โจทก์ที่บ้าน โดยไม่ได้ความชัดว่า โจทก์มีสำนักงานทนายความ แยกจากบ้านที่พักอาศัยหรือไม่ ส่วนจำเลยไม่เคยติดต่อโจทก์ที่สำนักงานทนายความของโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ไปเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว จึงเป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสำนักงานเป็นหลักแหล่งต้องใช้ศาลเป็นที่ทำมาหากิน มิได้มีความหมายไปในทางที่ว่า โจทก์เป็นทนายความที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรืออาศัยวิชาชีพหลอกลวงฉ้อโกงจำเลยหรือประชาชน จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้เสียหายหรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง คำกล่าวดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: พฤติการณ์พิเศษต้องมีเหตุผลเหนือกว่าการเปลี่ยนตัวทนายความ
พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น ก็ยังเป็นทนายความของจำเลยอยู่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ การพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา 1 วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยเนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงทนายความไม่เป็นเหตุพิเศษขยายเวลาฎีกา แม้ทนายความเดิมยังคงมีอำนาจดำเนินคดี
แม้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยที่2และที่3จะย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นก็ตามพนักงานอัยการคนเดิมนั้นก็ยังเป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ฉะนั้นการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยที่2และที่3ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา1วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3เนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ละเมิดต่อลูกความ - ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและชดใช้ค่าเสียหายได้
แม้ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 12 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยการประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และการแต่งตั้งทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติ ผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัย ความรับผิดทางแพ่งในกรณี ละเมิด แม้จำเลยทั้งสองจะเป็น ลูกจ้างของบริษัทประกันภัยและรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในฐานะลูกจ้างของบริษัทประกันภัยก็ตามแต่การที่ได้ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความแต่งตั้งจำเลยทั้งสองถือว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว