คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าวที่ได้มาโดยไม่ชอบ แต่มีสิทธิจัดการได้ ย่อมเป็นทรัพย์มรดก
แม้ซ. เป็นบุคคลต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา86แต่การได้ที่ดินมานั้นก็มิใช่ว่าจะไม่มีผลใดๆเสียเลยเพราะซ. ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา94ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดหรืออธิบดีอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้จึงต้องถือว่าตราบใดที่ซ.หรืออธิบดียังไม่ได้จำหน่ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก็ยังเป็นของซ. เมื่อซ. ถึงแก่ความตายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นย่อมเป็นมรดกของซ. โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของซ. จึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนต่างด้าว: สิทธิในทรัพย์มรดกแม้มีข้อจำกัด
ช. บิดาโจทก์จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่ไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จึงลงชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์แทนการที่ซ. ได้ที่ดินมาดังกล่าวแม้จะถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86แต่การได้ที่ดินมานั้นก็มิใช่ว่าจะไม่มีผลใดๆเสียเลยเพราะซ. ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา94ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดหรืออธิบดีอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้จึงต้องถือว่าตราบใดที่หรืออธิบดียังไม่ได้จำหน่ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก็ยังเป็นของซ. เมื่อซ.ถึงแก่ความตายนั้นย่อมเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของซ. มีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์และสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้สละ โดยการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
ท. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว4วันจังเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1619การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมายถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดกโจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมและการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมายโจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารก็ปรากฎว่าโจทก์และน้องๆทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ20,000บาทให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกแล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นทรัพย์เป็นของใคร และขอบเขตการอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใด แต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดก การรับโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมของผู้รับมรดก
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ.ด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2โดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ.เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300 จำเลยที่3ถึงที่5ขายที่ดินให้จำเลยที่6หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยกรรมการของจำเลยที่6ทราบเรื่องแล้วถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิให้เพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ได้เช่นกัน ผู้ที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่บุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกทั้งจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจำเลยที่2จึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจัดการมรดก, การแบ่งทรัพย์มรดก, สิทธิส่วนแบ่งราคาขาย, การซื้อขายโดยชอบ
จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านและที่พิพาทแก่จำเลยที่1ในนามจำเลยที่1เป็นผู้รับมรดกเองเพื่อความสะดวกในการที่จะขายเอาเงินมาแบ่งปันกันยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้นการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้วเมื่อยังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาทการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นลงอายุความยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง จำเลยที่1ขายบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกให้จำเลยที่2โดยชอบไม่อาจเพิกถอนได้โจทก์จึงไม่อาจขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของคงมีสิทธิเพียงได้รับส่วนแบ่งเงินค่าขายทรัพย์มรดกดังกล่าวตามราคาที่ขายไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีทรัพย์สิน การแบ่งทรัพย์มรดก และผลของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทของคู่ความแต่การกำหนดให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่โจทก์จำเลยนำสืบประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์กล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของจ. สามีโจทก์ที่1ซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทส่วนละเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตามข้อตกลงของทายาทจำเลยครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทมีการแบ่งปันตกมาเป็นของจำเลยแม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นใหม่อีกด้วย หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ออกให้เพื่อแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรของนายบ. กับนางน. โดยนายบ.อยู่กินฉันสามีภริยากับนางจ.และนางน. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5หลังจากนางน. มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตายนายบ. และนางจ. ร่วมกันยึดถือทำกินที่ดินมือเปล่า4แปลงเมื่อนายบ. ถึงแก่ความตายก็ยังไม่มีการแบ่งที่ดินกันแต่ก่อนที่นางจ. จะถึงแก่ความตายได้ขอออกโฉนดในที่ดิน4แปลงดังกล่าวเป็นชื่อของนางจ. เองดังนี้ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งในที่ดินทั้ง4แปลงอันเป็นทรัพย์มรดกของนายบ. และนางจ. ผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713แล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางจ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979-4982/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมต่อผู้จัดการมรดกใหม่ และหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
แม้ว่าสัญญาจะซื้อขายที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ทั้งห้าก่อนที่จะถึงแก่ความตายจะมีเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ส่งผลให้โจทก์ทั้งห้าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งห้าได้เคยฟ้องกองมรดกของเจ้ามรดกและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแล้ว แม้ภายหลังจะมีการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทน คำพิพากษาตามยอมก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ว่าจะเป็นวัดแต่เมื่อได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกย่อมต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดอันเกี่ยวกับที่ดินที่รับโอนมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600, 1601 และ 1651 (2) การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ของเจ้ามรดกที่ก่อไว้ก่อนถึงแก่ความตาย มิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์หรือศาสนสมบัติกลางอันจะต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ศาลจึงมีคำพิพากษาในส่วนนี้ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ จำเลย แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังมีข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยอยู่อีกและข้อเท็จจริงนี้อาจเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป สมควรที่จะฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงสมควรให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข) ประกอบด้วยมาตรา 247
of 49