คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทายาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7532/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินมรดก: สิทธิของทายาท vs. ผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ยังมิได้แบ่งปันแก่ทายาท บุตรของ ร. ทุกคนซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิในที่ดินเท่า ๆ กัน การที่ ว. และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินมรดกจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่น ๆ ว. ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทางด้านทิศเหนือของที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ไปขายแก่โจทก์โดยที่ทายาททุกคนไม่ยินยอม การที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดย ว. ส่งมอบให้จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาท ในฐานะครอบครองแทนทายาทของ ร. เช่นเดียวกับ ว. เท่านั้น เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ได้โอนขายที่ดินทั้งหมดซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ร. แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกของ ร. ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องทายาท, สัญญาประกันภัย, และข้อยกเว้นความรับผิดชอบในการซ่อมรถยนต์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้ เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ แล้วได้รถยนต์คืนมา ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้ จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจัดการมรดกและการรับมรดกของทายาท ศาลฎีกายืนตามศาลล่างว่าฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินสองแปลง จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ไปแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเกินกว่า 5 ปีคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตร ป. เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้และครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตนไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกและไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ1 ปี ตามมาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน/บริษัทเป็นมรดก: ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิของทายาท
เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย สิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นทรัพย์สินที่ พ. มีอยู่ ในกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. บริษัท ท. และกิจการของบริษัท ด. อันได้แก่เงินลงหุ้น ค่าหุ้น ผลกำไร และเงินปันผลเป็นต้น ย่อมเป็นมรดก
แม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้แบ่งกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดทั้งสองดังกล่าวก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องระบุว่า เงินที่ใช้ลงทุนในการก่อสร้างกิจการเป็นของ พ. เจ้ามรดก ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่เป็นสิทธิอันเป็นทรัพย์สินของ พ. ที่มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดทั้งสองนั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกบังคับคดี: ทายาทมีกรรมสิทธิ์แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 บัญญัติว่า "ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินเพื่อให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน, อายุความ, และฐานะทายาท - ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นทายาทได้
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน 32,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
++ จำเลยทั้งสามฎีกา ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
++ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงมาว่า โจทก์เป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหน่วยราชการในสังกัดของโจทก์ นายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์ ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและได้ทำสัญญาไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ความว่าหากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจนายอนุสรณ์จะชดใช้เงินแก่กรมตำรวจปีการศึกษาละ 7,500 บาทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโรงเรียนนายร้อยตำรวจยอมชดใช้เงินแก่โจทก์หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระเงินตามสัญญา ตามเอกสารหมาย จ.6 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมายจ.5 ว่า หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ให้ต่อมาโจทก์มีคำสั่งให้ถอนทะเบียนนายอนุสรณ์ออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจตามคำสั่งกรมตำรวจ เอกสารหมาย จ.8 ต่อมานายอนุสรณ์ถึงแก่ความตายตามเอกสารหมาย จ.2 และนายอนุสรณ์ไม่ได้ชดใช้เงินตามสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ++
++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ในปัญหาดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นฎีกาที่จำเลยที่ 3ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ คงมีปัญหาเฉพาะตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ เห็นว่า สัญญาเอกสารหมาย จ.6ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสัญญาเอกสารหมาย จ.5ที่จำเลยที่ 2 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสัญญาที่มีข้อความระบุถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อกรมตำรวจเพื่อชำระหนี้ในเมื่อนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาค้ำประกันหากนายอนุสรณ์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ถือว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 เป็นสัญญาประธาน ส่วนสัญญาเอกสารหมาย จ.6 และ จ.5 เป็นสัญญาอุปกรณ์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดตามสัญญาอุปกรณ์และฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3รับผิดฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ด้วย ฉะนั้น คดีโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่กับนายอนุสรณ์ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.3 ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 กำหนดให้นายอนุสรณ์ชดใช้เงินแก่โจทก์กรณีถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมรับราชการในกรมตำรวจอย่างน้อย 4 ปี เท่านั้นสัญญาเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันความเสียหายที่นายอนุสรณ์จะต้องรับผิดตามสัญญาที่นายอนุสรณ์ทำไว้ต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง และสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ไม่ใช่สัญญารับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน และโจทก์ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (12) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากนายอนุสรณ์ตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี นายอนุสรณ์ทราบคำสั่งถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2529 ตามบันทึกด้านหลังเอกสารหมาย จ.9 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 ไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3ต่อไปว่า โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ต้องนำสืบหรือไม่ว่านายอนุสรณ์มีทรัพย์มรดกและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3เป็นผู้รับมรดกนายอนุสรณ์เป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้นำสืบ และโจทก์มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายนั้น
++ เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้รับผิดในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ไม่จำต้องนำสืบ
++ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้รับมรดก แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะอุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาพอแก่การวินิจฉัยและเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3)
++ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ โกมลรัตน์ รับผิดร่วมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเช็คพิพาทตกทอดเป็นมรดก เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องได้แม้มีทายาทถึงแก่กรรม
เช็คพิพาทถึงกำหนดภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย สิทธิตามเช็คพิพาทจึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้ทรงเช็คซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 3 ผู้ตายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแทน ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะร้องต่อศาลขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 3 จึงชอบแล้ว
สิทธิตามเช็คพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในเช็คพิพาท โจทก์ทั้งสามคนใดคนหนึ่งสามารถที่จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องใช้สิทธิร่วมกันทั้งการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย มิใช่สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก การที่ศาลจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 3 เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ถึงแก่ความตายก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต้องระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของทายาทผู้จัดการมรดกในหนี้สินของเจ้ามรดก และการฟ้องล้มละลาย
ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ หากจะมีผลผูกพันจากการรับสภาพหนี้ กองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยที่ 4 ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต่อไป
of 132