คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสูญเสียหากไม่ฟ้องแย่งคืนภายใน 1 ปี นับจากถูกแย่งการครอบครอง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2512 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยก่อนที่จะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้นได้มีการรังวัดที่ดินพิพาทโดยให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต และได้มีประกาศตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อให้มีผู้มาคัดค้านแต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาคัดค้านทางกรมที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และได้มอบให้จำเลยที่ 1 ใช้ประโยชน์ตลอดมา จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตั้งแต่ปี 2512 แล้วโจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2534ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง นั้นเป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง หากไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็หมดสิทธิฟ้อง คือโจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาทอำนาจฟ้องเรียกคืนที่พิพาทก็ไม่มี ฉะนั้นกำหนดเวลาตามมาตรา 1375 วรรคสองจึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่เรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยเจตนาไม่สุจริตของผู้ขายเดิมและผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่ ม.นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ม.โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ม.ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อน ๆ ฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอน และโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาตามทุนทรัพย์ คดีที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวน เมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของทายาทผู้จัดการมรดกในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้คำสั่งศาลก่อนหน้าจะแสดงกรรมสิทธิ์ให้จำเลยไปแล้ว
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของร่วมกับ ฟ.มารดาจำเลยพ.เป็นมารดาของ ท.บิดาโจทก์ พ.และ ท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อ พ.ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของ พ.และ ท. เมื่อ ฟ.ถึงแก่ความตาย ป.บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนาง ฟ.แล้วป.ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจาก ส.แล้วโอนขายให้แก่ ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่า พ.ยกที่ดินส่วนของ พ.ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของ พ.ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวน-พิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของ พ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลย ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ.เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การไม่ชำระเงินตามสัญญาทำให้สิทธิขาดเสีย
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่า ขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นว่า แม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลา แต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้า โดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่ 31ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่า ฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ 14 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากนั้น ฉ.จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้ โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 มาท้ายคำฟ้องด้วย จากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ฉ.กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามเอกสารหมาย จ.1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเอกสารหมาย จ.1 มีข้อความระบุว่า โจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 และ ช.จะต้องนำเงินคนละ 4,400 บาท ไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และ ช.บิดาโจทก์ที่ 4 ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมาย จ.1 และเสนอชำระเงินคนละ4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช.จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา สำหรับโจทก์ที่ 1 แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 5 ปี บัดนี้จะครบกำหนด 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้ โจทก์ที่ 1 จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้อง โดยไม่มีข้อความว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับเอกชน ต้องอาศัยพยานหลักฐานทางศาลมากกว่าพยานจากคณะกรรมการสอบสวน
แม้จะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งฉบับพิพาทจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลย่อมต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พยานหลักฐานของจำเลยคือบันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาล เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกคำให้การนั้น บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7085/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีกับสิทธิของผู้เช่าและผู้รับโอนสิทธิในที่ดินพิพาท ผู้มีสิทธิถูกบังคับคดีคือผู้เช่าเดิม
แม้ผู้ร้องที่ 1 จะมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1และผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนทางด้านทิศตะวันออกโดยผู้ร้องที่ 1 มารดายกให้ก็ตาม แต่ในชั้นนี้เป็นชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 1และที่ 2 กับบริวาร เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รื้อถอนโรงเรือนออกไปแล้ว คงเหลือเพียงบริวารซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และปลูกสร้างโรงงานในที่ดินพิพาทมาแต่เดิมอันเป็นผู้ที่จะต้องถูกบังคับในคดีนี้ มิใช่ผู้ร้องทั้งสอง ส่วนที่ผู้เช่าทั้งสามดังกล่าวทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากผู้ร้องทั้งสองภายหลังที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วกรณีจะทำให้ผู้เช่าทั้งสามไม่ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปหรือไม่เป็นเรื่องที่ผู้เช่าทั้งสามจะต้องเป็นผู้มายื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296จัตวา (3) ส่วนที่ตามสัญญาเช่าซึ่งผู้เช่าทั้งสามยอมยกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ให้เช่านั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องทั้งสองกับผู้เช่าที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ8ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหายจำเลยให้การในตอนแรกว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่12ไร่โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี2517โดยรับโอนการครอบครองมาจากพ.โดยมีค่าตอบแทนจำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอดแต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่าหากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน1ปีแล้วนับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฎิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิงคดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้นกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค3ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินและกรรมสิทธิ์ในต้นไม้: การกระทำโดยสุจริตและการเข้าใจผิดในสิทธิ
โจทก์และจำเลยโต้เถียงการครอบครองที่พิพาทอยู่ การที่จำเลยเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาทจึงเป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ต้นไผ่ที่จำเลยเข้าไปตัดฟันปลูกอยู่ในที่พิพาท แม้โจทก์เป็นผู้ปลูกแต่ต้นไผ่เป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของที่พิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่งและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่พิพาทกันอยู่เท่ากับว่าโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทการที่จำเลยเข้าไปตัดฟันต้นไผ่ พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทและการเข้าใจโดยสุจริต การบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาทซึ่งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงการครอบครองกันอยู่เป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก และต้นไผ่ ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นไม้ยืนต้นแม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกก็เป็นส่วนควบของที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานเท่ากับโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ด้วยการที่จำเลยที่2เข้าไปตัดฟันต้นไผ่ พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของตนเช่นกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วย
of 51