พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนแคชเชียร์เช็คโดยไม่สุจริต คบคิดฉ้อฉล ธนาคารไม่ต้องรับผิด
ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้ออกแคชเชียร์เช็คแก่จำเลยที่ 6โดยเชื่อตามคำหลอกลวงว่าเช็คที่จำเลยที่ 6 นำมาเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีจำเลยที่ 6 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เป็นของลูกค้าชั้นดีสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 สั่งจ่ายและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทำให้ไม่มีเงินเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 6 ได้สลักหลังโอนแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์แล้วเลิกกิจการหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการใช้เงิน เมื่อปรากฏว่ามารดาโจทก์และพี่น้องของภรรยาจำเลยที่ 6 ได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6จากเจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ตอนเย็นของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้ว เชื่อได้ว่ามารดาโจทก์และน้องสาวโจทก์ต้องรีบแจ้งให้โจทก์ทราบตั้งแต่คืนวันนั้นว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นน้องเขยของโจทก์กำลังมีปัญหากับธนาคารเพราะโจทก์ยังมีเช็คของจำเลยที่ 6จำนวน 60 ฉบับ อยู่ที่ตนที่ยังไม่ได้นำไปเรียกเก็บเงิน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6 ที่ได้แคชเชียร์เช็คมาจากธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่คืนของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้วการที่โจทก์รับโอนไว้โดยอ้างว่าเพื่อชำระหนี้ในคืนนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต คบคิดกันฉ้อฉลเพื่อยืมมือโจทก์มาฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกันแต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของว.ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไปเป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลักส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกันทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของ ว. ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคาร และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานธนาคารและรับเงินไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทที่จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับว่าได้กระทำการต่าง ๆดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่จำเลยจะผิดกฎหมายบทใดเป็นอำนาจศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน การจำนองเพื่อประกันหนี้ที่ไม่มีมูล และความรับผิดของธนาคารต่อบุคคลภายนอก
การที่จำเลยที่ 1 ผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่ 2 ให้สินเชื่อแก่โจทก์ร่วมอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของธนาคารจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ลงชื่อในใบรับเงินในใบถอนเงิน โดยจำเลยที่ 1ไม่ได้จ่ายเงินนั้น เป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุควรเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำได้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามหลักกฎหมายเรื่องตัวการตัวแทน การจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ แม้จะจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ แต่เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อผู้รับจำนอง ผู้จำนองก็มีสิทธิขอให้ผู้รับจำนองจดทะเบียนปลดจำนองได้ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเบิกเกินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด
จำเลยขอเลื่อนการพิจารณามาแล้วครั้งหนึ่ง อ้างเหตุป่วยและยืนยันว่านัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนอีก พยานมาเท่าใดก็สืบเพียงนั้น และถ้าพยานไม่มาเลยก็ไม่ติดใจสืบเมื่อถึงวันนัดหลังจากสืบตัวจำเลยแล้ว ไม่มีพยานอื่นมาศาลศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว แม้ว่าพยานที่ไม่มาดังกล่าวจะเป็นพยานหมายซึ่งไม่ยอมรับหมายก็ไม่ใช่เหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี มีเงื่อนไขว่าจำเลย จะยอมชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆ และโดยไม่อิดเอื้อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ตามเงื่อนไขในการรับเปิดบัญชีเดินสะพัด โดยหักจากเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้โจทก์ได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้การที่โจทก์ได้นำเพียงดอกเบี้ยจากเงินของจำเลยมาหักหนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 โดยไม่นำเงินฝากทั้งหมด มาหักหนี้เพราะบัญชีเดินสะพัดยังไม่สิ้นสุดลง แต่ต่อมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์นำต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และหลังจากวันนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลย เบิกเงินเกินบัญชีอีก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมฉ้อโกงธนาคาร จำเลยทั้งสองมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 266,341 เมื่อข้อหาใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 341ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4963/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินเกินบัญชีจากเช็คและการคิดดอกเบี้ย ธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยเพียงแต่ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารสาขาของโจทก์ จึงไม่ใช่เรื่องทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น ตามข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 13, 14 ที่ว่าถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไป ผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารได้จ่ายเงินเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันที่ชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ก็มิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ กับทั้งไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา654 แต่เป็นเรื่องของธนาคารโจทก์ได้จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีซึ่งมาตรา 991 มิได้บังคับโดยเด็ดขาดมิให้ธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชีของผู้เคยค้าและตามเงื่อนไขคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวก็ให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย ส่วนโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเท่าใดนั้น จำเลยไม่ได้ฎีกาในเรื่องอัตราดอกเบี้ยกลับรับในฎีกาว่าขอเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ 17 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดโดยไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4963/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ไม่ใช่สัญญาเดินสะพัด ธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยเพียงแต่ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารสาขาของโจทก์ จึงไม่ใช่เรื่องทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น ตามข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 13,14 ที่ว่าถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไป ผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารได้จ่ายเงินเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันที่ชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ก็มิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ กับทั้งไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่เป็นเรื่องของธนาคารโจทก์ได้จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีซึ่งมาตรา 991 มิได้บังคับโดยเด็ดขาดมิให้ธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชีของผู้เคยค้าและตามเงื่อนไขคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวก็ให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย ส่วนโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเท่าใดนั้น จำเลยไม่ได้ฎีกาในเรื่องอัตราดอกเบี้ยกลับรับในฎีกาว่าขอเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ 17เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดโดยไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดชอบการจ่ายเช็คที่มีลายมือชื่อปลอม แม้จะอ้างว่าผู้เสียหายประมาทในการเก็บรักษาเช็ค
เช็คที่โจทก์เก็บรักษาไว้ที่บ้านก็ดี ที่นำติดตัวไปด้วยโดยเก็บไว้ในกระเป๋าในรถยนต์ก็ดีเป็นการเก็บเช็คและนำเช็คติดตัวไปเพื่อใช้ดังเช่นที่วิญญูชนจะพึงปฏิบัติตามปกติธรรมดา มิได้มีความบกพร่องไม่เก็บเช็คไว้ในที่มั่นคงและปลอดภัยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อการที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทไป แม้จะอ้างว่าปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาฝากเงินประเภทเงินฝากกระแสรายวันซึ่งมีข้อตกลงว่าในการใช้เช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์จะต้องลงลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้สั่งจ่าย แต่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ จึงขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยหักไปจากบัญชีของโจทก์เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: การคัดค้านการรวมขายและการซื้อโดยธนาคาร
ในวันขายทอดตลาดจำเลยได้มาดูแลการขายและได้คัดค้าน การรวมขายที่ดินแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่บันทึกไว้และบอกให้ไปร้องขอต่อศาลเอง เท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำคัดค้านของจำเลย จำเลยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งชี้ขาดเสียภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธคำคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคท้ายเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะยกเป็นเหตุคัดค้านภายหลังไม่ได้ โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิซื้อที่ดินซึ่ง จำนองเป็นประกันหนี้ไว้ต่อโจทก์จากการขายทอดตลาดโดย คำสั่งศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12(4)(ข) การที่โจทก์ ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเป็นการซื้อทรัพย์จำนองเป็นประกัน หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ และเป็นการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลจึงเป็นการซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย