พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528-1529/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีนิติสัมพันธ์และสิทธิในการครอบครองห้องเช่า ทำให้การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายไม่สำเร็จ
ฟ้องกล่าวว่าเมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากเจ้าของ จำเลยได้ครอบครองชั้นล่างของห้องพิพาทอยู่แล้ว โดยเช่าช่วงจากผู้เช่าเดิม ดังนี้จำเลยหาได้เข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จะฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
โจทก์ตั้งประเด็นในฟ้องว่าจำเลยได้เช่าช่วงห้องพิพาทจากผู้เช่าเดิมมิได้เช่าจากโจทก์ แม้จำเลยจะให้การว่าได้เช่าจากโจทก์ก็ดี ศาลจะถือตามคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 142
โจทก์ตั้งประเด็นในฟ้องว่าจำเลยได้เช่าช่วงห้องพิพาทจากผู้เช่าเดิมมิได้เช่าจากโจทก์ แม้จำเลยจะให้การว่าได้เช่าจากโจทก์ก็ดี ศาลจะถือตามคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528-1529/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีนิติสัมพันธ์กันระหว่างผู้เช่าช่วงกับผู้เช่าใหม่ ทำให้ฟ้องขับไล่ไม่ได้
ฟ้องกล่าวว่าเมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากเจ้าของจำเลยได้ครอบครองชั้นล่างของห้องพิพาทอยู่แล้ว โดยเช่าช่วงจากผู้เช่าเดิม ดังนี้ จำเลยหาได้เข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จะฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
โจทก์ตั้งประเด็นในฟ้องว่า จำเลยได้เช่าช่วงห้องพิพาทจากผู้เช่าเดิมมิได้เช่าจากโจทก์ แม้จำเลยจะให้การว่าได้เช่าจากโจทก์ก็ดี ศาลจะถือตามคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ตั้งประเด็นในฟ้องว่า จำเลยได้เช่าช่วงห้องพิพาทจากผู้เช่าเดิมมิได้เช่าจากโจทก์ แม้จำเลยจะให้การว่าได้เช่าจากโจทก์ก็ดี ศาลจะถือตามคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีนิติสัมพันธ์กับที่ดินและทรัพย์สิน ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิฟ้องไล่ผู้เช่าเดิม
เช่าที่ดินผู้อื่นมาเพื่อปลูกสร้างห้องและบ้าน จะเป็นว่าเช่ามาเองโดยตรงจากเจ้าของก็ดี หรือรับโอนการเช่ามาจากผู้เช่าคนก่อน ก็ดี เมื่อปรากฏว่าในที่ดินที่เช่านั้นมีผู้ปลูกเรือนให้คนอื่นเช่าอยู่มาก่อนที่ผู้เช่าคนหลังจะได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินรายนี้แล้ว ผู้เช่าคนหลังก็ไม่มีอำนาจโดยลำพังที่จะฟ้องขับไล่ ผู้เช่าห้องในที่พิพาทนั้นให้ออกจากห้องนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาซื้อขายไม้ซุงที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์สัญญาซื้อขาย
ทำหนังสือขอซื้อไม้ซุงสักยื่นต่อโรงงานเลื่อยไม้ แม่กองขายของโรงงานได้บันทึกความเห็นลงไปว่าสมควรขายให้ในราคาเท่าใดแล้วเสนอผู้อำนวยการ ๆ บันทึกว่าอนุญาตให้ขายได้ตามที่แม่องขายเสนอมา ดังนี้ คำสั่งของผู้อำนวยการนี้เป็นเพียงคำสั่งภายในถึงคนขายของตน ให้ขายสิ่งของตามราคาที่ว่านั้นได้ หาได้มีการแสดงเจตนาถึงผู้จะซื้ออย่างไรไม่ จึงไม่ทำให้เกิดนิติสัมพันธ์ เป็นสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาซื้อขายขึ้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยไม่มีนิติสัมพันธ์ชัดเจน ศาลต้องยกฟ้อง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าได้มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลย อันจะเป็นมูลให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง ศาลก็ต้องยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสาระสำคัญของการฟ้องเรียกค่าเสียหาย หากไม่มีศาลย่อมยกฟ้อง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าได้มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลย อันจะเป็นมูลให้เกิดสิทธิฟ้องร้องศาลก็ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10293/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องผู้รับประกันภัยชอบด้วยกฎหมาย แม้ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยไม่ชัดเจน หากแสดงนิติสัมพันธ์และจำเลยเข้าใจสาระสำคัญ
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากผู้มีชื่อ แต่คำฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์กับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยให้ปรากฏแล้ว อีกทั้งจำเลยที่ 3 ให้การยอมรับว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 เข้าใจถึงสาระสำคัญแห่งคำฟ้องที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ซื้อขาย vs. ตัวแทน สัญญาค้ำประกันขอบเขตความรับผิดชอบ
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 รับสลากกินแบ่งรัฐบาลตามสิทธิของโจทก์จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย จำกัด เพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลภายนอก มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทน โจทก์ผูกพันที่จะต้องชำระค่าสลากกินแบ่งแก่สหกรณ์ฯ แต่ในส่วนที่โจทก์มอบสลากกินแบ่งรัฐบาลของตนให้จำเลยที่ 1 นำไปขายต่อให้บุคคลอื่นแล้วนำกำไรหรือส่วนต่างจากการขายมาแบ่งปันระหว่างกันนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไปจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินต้นทุนค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปชำระให้แก่สหกรณ์ฯ เพื่อที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดถัดไปจากสหกรณ์ฯ นำไปจำหน่ายต่อ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะมีนิติสัมพันธ์บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลคืนแก่โจทก์ทุกงวดนอกเหนือจากการแบ่งกำไรส่วนหนึ่งที่โจทก์จะได้รับจากการจำหน่ายสลาก ทั้งปรากฏว่ามีสมาชิกสหกรณ์อีกหลายคนมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการในลักษณะเดียวกันเป็นกิจจะลักษณะเหมือนเป็นผู้อยู่ในวงการซื้อขายโดยตรง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้สร้างกิจการขึ้นมาโดยหวังกำไรจำนวนมากจากส่วนต่างของราคาขายในแต่ละงวดหลังจากแบ่งปันกำไรบางส่วนให้โจทก์และผู้มอบหมายคนอื่นแล้ว เมื่อสภาพการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีนัยการกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่าต้นทุน การตั้งราคาขายเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดและตกลงกับผู้ซื้อโดยอาศัยอำนาจของตนเอง เมื่อพิจารณาประกอบกับจำเลยที่ 1 ทำหนังสือยินยอมรับสภาพหนี้ค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สหกรณ์แล้ว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนขายในนามโจทก์
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: ต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ 1,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แล้ววินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีการรับรองหรืออนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงไม่ชอบ ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 243 (3) (ก) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิการเช่า เพราะจำเลยครอบครองอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยจอดรถในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย หาใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่และขอให้ศาลเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิการเช่า เพราะจำเลยครอบครองอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยจอดรถในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย หาใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่และขอให้ศาลเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13163/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์สัญญาจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ภายใต้การบังคับบัญชาและระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
นิติสัมพันธ์ที่จะเป็นสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 575 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 คือ นายจ้างว่าจ้างอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อทำการงานให้ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบข้อบังคับในการทำงาน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานอะไรเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ต้องเข้าทำงานทุกวัน ย่อมแสดงว่าโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บริหารของบริษัทจำเลย นอกจาก อ. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะไม่ได้ทำงานให้จำเลยและไม่ได้อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการบังคับบัญชาตามสายงานปกติของจำเลย การที่โจทก์เข้ามาทำงานในบริษัทจำเลยก็เพื่อช่วยเหลืองานของบิดาเท่านั้นย่อมเป็นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และไม่ถือว่า อ. จ้างโจทก์แทนจำเลยโดยชอบ จึงไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก