พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้างของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อฐานะต่างกัน
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน (ข้อ 2)ได้ ให้ความหมายคำว่า "นายจ้าง" ว่า "...หมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ได้ รับ มอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างในกรณีที่ นายจ้างเป็น นิติบุคคล" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นนายจ้างตาม ความหมายดังกล่าวแล้ว คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ ผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2ซึ่ง เป็นบริษัทจำกัด ดังนี้ จึงถือ ว่าจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคนละคนกัน มิใช่กรณีที่คู่ความเดียว กันไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากเงินให้ดอกเบี้ย: ผลผูกพันบริษัทจากการรับมอบเงินและสัญญาใช้คืนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ โดย จำเลยได้ รับมอบเงินจากโจทก์แล้วสัญญาจะใช้คืนพร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการรับฝากเงินโดย สัญญาให้ดอกเบี้ย ดังนี้มี ผลผูกพันบริษัทจำเลยให้ต้อง รับผิดตาม สัญญารับฝากเงินดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัท และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๖๕ ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และ ๑๑๙ เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่จำกัดระยะเวลา หากยังไม่ได้รับชำระและบริษัทฯ ยังดำรงอยู่
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกจึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีของบริษัทผู้ประกอบการป่าไม้ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตาม ที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัด ฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรง ตาม วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้อง คำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้วโดย อ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้ รายได้เฉพาะ ค่าใบอนุญาตทำไม้ตาม สัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่ง ต้องเป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตาม คำฟ้องโจทก์แตกต่าง กับอายุความตาม ที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตาม อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขนส่ง: โจทก์มีสิทธิฟ้องผู้ละเมิดแม้จะร่วมกิจการขนส่งกับบริษัทอื่น
โจทก์นำรถยนต์ของโจทก์เข้าร่วมกิจการขนส่งบรรทุกสินค้าอยู่กับบริษัท ป. จำกัด โดยได้รับค่าจ้างเป็นเที่ยว และโจทก์จะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่จะถึงเกิดขึ้นแก่สินค้าที่บรรทุกทุกกรณีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องผู้ที่กระทำละเมิดเกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์ที่บรรทุกสินค้าในนามของบริษัท ป. จำกัด ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คโดยกรรมการคนเดียวและการให้สัตยาบันของบริษัท แม้ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ ก็มีผลผูกพันบริษัท
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้หนึ่งของบริษัท น. ลงชื่อสลักหลังและประทับตราสำคัญของบริษัทในเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งนำเงินมาฝาก แม้ข้อบังคับของบริษัทจะต้องมีกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราสำคัญก็ตาม แต่การที่บริษัทได้นำเงินฝากของโจทก์มาใช้ในกิจการของตนโดยนำไปปล่อยให้กู้และรับดอกเบี้ยส่วนเกินจากผู้กู้เป็นผลประโยชน์ของบริษัท ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันและมีผลผูกพันบริษัท จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ผู้ทรงเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คโดยกรรมการคนเดียวและการให้สัตยาบันของบริษัท
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้หนึ่งของบริษัท น. ลงชื่อสลักหลังและประทับตราสำคัญของบริษัทในเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งนำเงินมาฝาก แม้ข้อบังคับของบริษัทจะต้องมีกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราสำคัญก็ตาม แต่การที่บริษัทได้นำเงินฝากของโจทก์มาใช้ในกิจการของตนโดยนำไปปล่อยให้กู้และรับดอกเบี้ยส่วนเกินจากผู้กู้เป็นผลประโยชน์ของบริษัท ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันและมีผลผูกพันบริษัท จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ผู้ทรงเช็ค.