คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการบังคับใช้สัญญาประนีประนอม แม้ขาดอายุความมรดก
ประนีประนอม,การรับรองบุตรมฤดก,อายุความ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้ไปแจ้งทะเบียนสำมะโนครัวว่า เป็นบุตรและใช้นามสกุลของบิดา และบิดาได้อุปการะบุตรมาอันเป็นพฤติการณ์ที่รู้อยู่กันทั่วไป ดังนี้ได้ชื่อว่าบิดาได้รับรองแล้ว และถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานของบิดาและมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้
แม้คดีจะขาดอายุความมฤดกแล้วแต่ทายาททำสัญญาประนีประนอมแบ่งทรัพย์มฤดกแก่กัน สัญญานั้นย่อมใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงประนีประนอมเรื่องมรดกต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะบังคับคดีได้
ทายาทไปพูดขอส่วนแบ่งมรดกกับทายาทผู้ครอบครองมรดกอยู่ทายาทผู้ครอบครองมรดกพูดรับรองว่ารอเมื่อทำศพแล้วหรือรอสร้างพระไตรปิฎกแล้วแต่ก็มิได้ตกลงกันว่าจะได้รับเท่าใดหรือได้ส่วนอย่างไรการรับรองเช่นว่านี้ถ้าถือว่าเป็นการตกลงประนีประนอมระงับข้อพิพาททรัพย์มรดกต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ไม่ถือเป็นประนีประนอม หากไม่มีหลักฐานการชำระหนี้ครบถ้วน การต่อสู้เรื่องปลดหนี้ต้องมีหลักฐาน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญากู้ เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นเสีย โดยโจทก์บรรยายในคำร้องขอถอนฟ้องว่า "จำเลยได้มาขอความตกลงโดยยอมชำระหนี้ให้แล้วจึงหมดความจำเป็นที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้อง" ครั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินให้เพียง 8400 บาท ยังมิได้ชำระอีก 1600 บาท จึงขอให้ศาลบังคับ ดังนี้ จะถือว่าถ้อยคำที่โจทก์บรรยายมาในคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการประณีประนอมไม่ได้ เพราะไม่มีความหมายว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นแล้ว หรือว่าได้มีความตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมกันขึ้นแล้วหากจำเลยจะต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงยอมรับชำระหนี้เพียง 8400 บาท ก็เป็นเรื่อง ต่อสู้ขอปลดหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: ถ้อยคำในคำร้องไม่ใช่การประนีประนอมและจำเลยต้องมีหลักฐานการปลดหนี้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญากู้ เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นเสีย โดยโจทก์บรรยายในคำร้องขอถอนฟ้องว่า "จำเลยได้มาขอความตกลงโดยยอมชำระหนี้ให้แล้วจึงหมดความจำเป็นที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้อง" ครั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินให้เพียง 8400 บาท ยังมิได้ชำระอีก 1600 บาท จึงขอให้ศาลบังคับ ดังนี้ จะถือว่าถ้อยคำที่โจทก์บรรยายมาในคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการประณีประนอมไม่ได้เพราะไม่มีความหมายว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นแล้ว หรือว่าได้มีความตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมกันขึ้นแล้ว หากจำเลยจะต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงยอมรับชำระหนี้เพียง 8400 บาทก็เป็นเรื่อง ต่อสู้ขอปลดหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดจดบัญชีเท็จและฉ้อโกงหุ้นส่วน การรอการลงโทษเมื่อมีการประนีประนอม
ความผิดตาม มาตรา 344 ฐานจดบัญชีห้างหุ้นส่วนเท็จนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจเป็นโจทก์ฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุก 1 ปี จำเลยฎีกาในข้อกฎหมาย ศาลฎีกาอาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชัดเจน ทำให้ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คน เป็นความกัน ในที่สุดทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่น ดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปี สดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิฉะนั้นคดีย่อมขาอดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมไม่สะดุดอายุความ
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คนเป็นความกัน ในที่สุด ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่นดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปีสะดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรมมิฉะนั้นคดีย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมข้อพิพาทเรื่องกระบือหายและการกักตัวผู้ต้องสงสัย ศาลตัดสินว่าไม่มีเจตนาทุจริต
ลูกบ้านได้ขอให้กำนันเอาผู้เสียหายไปสอบถามให้แน่นอนในเรื่องที่ลูกบ้านสงสัยว่าผู้เสียหายซ่อนกระบือของตนที่หายไป กำนันจึงเอาตัวผู้เสียหายไปบ้านกำนัน เรียกร้องให้ผู้เสียหายใช้ราคากระบือแก่ลูกบ้านแล้วลูกบ้านจะไม่เอาเรื่อง ผู้เสียหายก็ยอมเสียค่ากระบือให้ลูกบ้าน ๆ ก็ไม่เอาเรื่องต่อไปและกำนันได้จัดการทำหนังสือปรองดองกันไว้ แล้วไม่เอาตัวผู้เสียหายส่งไปยังพนักงานสอบสวน ดังไม่ใช่มีเจตนาจะกระทำการทุจจริตต่อหน้าที่ จึงไม่มีผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางทุจริติตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 136,137,138,+42 และการที่กำนันกักตัวผู้เสียหายไว้จนชำระเงินกันแล้ว +ปล่อยนั้นเมื่อกำนันคิดว่ากำนันก็อำนาจทำได้ ไม่มีเจตนาที่จะกักขังให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียอิสสระภาพแล้ว กำนันก็ยังไม่ผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 268,270

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหลังประนีประนอม และสัญญาประนีประนอมสมรสที่ไม่ผิดกฎหมาย
โจทก์เคยถูกจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายโจทก์ได้ให้การต่อสู้และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากจำเลยบ้างในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามยอมนั้นจนคดีถึงที่สุดแล้วแต่หาได้จัดการให้เป็นไปตามสัญญายอมความกันไม่ ดังนี้โจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยใหม่ ตามที่ได้เคยฟ้องแย้งไว้นั้นไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จะไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอนั้นหาเป็นการผิดกฎหมาย และเป็นโมฆะไม่เพราะคู่กรณีอาจไปจดทะเบียนสมรสได้ตามที่ยอมความกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินถูกสมคบกันเอาไปทำสัญญาประนีประนอม ศาลพิพากษาให้กรรมสิทธิ์คืนได้ แต่ไม่เพิกถอนคำพิพากษาเดิม
จำเลย 2 คนสมคบกันเอาที่ดินของโจทก์ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล จนศาลพิพากษาไปตามยอมแล้วนั้น
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้ง 2 ขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ แต่จะให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งในคดีเดิมสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาท้ายยอมในคดีเดิมที่จำเลยทั้งสองสมคบกันสมยอมไว้นั้น ศาลย่อมไม่เพิกถอนให้ เพราะเห็นว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามธรรมดา ย่อมผูกพันคู่ความในคดีนั้น บุคคลภายนอกย่อมไม่มีความจำเป็นจะต้องให้เพิกถอน เมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลย ศาลก็พิพากษาให้ที่ดินนั้นเป็นของโจทก์และพิพากษาให้คำสั่งในคดีก่อนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์
of 14