พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็คหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่รับฎีกา
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาเช็คที่เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการหักบัญชีชำระหนี้
โจทก์กับพวกเคยถูกจำเลยฟ้องและตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์กับพวกยอมร่วมกันชำระเงินจำนวน 17,188,274.38บาท ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในต้นเงิน 13,400,000บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยโจทก์กับพวกจะชำระทั้งหมดภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัดยอมให้จำเลยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของโจทก์กับพวกชำระหนี้จนครบ ศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ และเมื่อมิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่ตกลง หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักบัญชีเงินฝากถือเป็นการผิดสัญญา
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ไม่ปรึกษา
จำเลยแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายความให้ ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส. ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)เท่านั้น แต่จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้น และให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความ: จำเลยมีหน้าที่สร้างบ้านใหม่ให้ผู้รับมรดก โดยไม่ต้องร่วมจ่ายค่าใช้จ่าย
การที่ ป. ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิมเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป. ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวและเมื่อตามข้อตกลงดังกล่าว ป. ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วยจำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความประนีประนอมยอมความเกินอำนาจ โจทก์ไม่ยินยอม ไม่ถือเป็นฉ้อฉล
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาล แต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณา แล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้น แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (1) ไม่
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ - การฉ้อฉล - สัญญาประนีประนอมยอมความ
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลแต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณาแล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้นแม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1) ไม่ โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉล ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดีโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีคำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน การยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ทำให้สิทธิในการเพิกถอนสิ้นสุด
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาทแทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5)ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของผู้คัดค้านที่ 3แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3 และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา